เสน่ห์อินเดีย 10 ถ้ำดงคสิริ

 
kanchana.c
วันที่  1 มี.ค. 2552
หมายเลข  11403
อ่าน  2,442

ถ้ำดงคสิริ

ออกนอกเรื่องมานาน เดินทางต่อไปถ้ำดงคสิริดีกว่า รถแล่นไปหาภูเขาที่มองเห็นอยู่ไกลๆ คุณสุวัฒเตือนพวกเราว่า อย่าแจกเงินขอทาน เพราะจะถูกรุมแน่ ไม่ใช่เป็นสิบ แต่เป็นร้อย อาจารย์ดวงเดือนเคยคิดจะเลี้ยงอาหารกล่องสัก ๑,๐๐๐ กล่อง คุณสุวัฒบอกว่าไม่พอแน่ ต้องเป็นหมื่นถึงจะพอ เนื่องจากคนที่หมู่บ้านนี้ยากจนมาก เพราะที่ดินเป็นหินเกือบทั้งหมด ไม่สามารถเพาะปลูกอะไรได้ เท่าที่มองเห็นด้วยตา ก็ไม่ค่อยเห็นต้นไม้เท่าไร บนภูเขาก็เป็นหิน ทางที่ไปเป็นถนนเล็กๆ กำลังก่อสร้าง มีคนงานเอาค้อนเล็กๆ ทุบหินก้อนใหญ่ให้เล็กลง และมีอีกพวกหนึ่งเอาใส่กระมังเทินบนศีรษะไปใส่รถบรรทุก ซึ่งเป็นวิธีแก้ปัญหาคนว่างงานที่ดีมาก เพราะถ้าใช้เครื่องจักร คนก็จะว่างงานมากกว่านี้ แต่จะให้ดีไม่น่าใช้รถบรรทุก น่าจะให้คนเดินแบกไป จะได้จ้างคนอีกหลายสิบคน ถนนที่กำลังทำก็แคบมาก บางครั้งรถหยุดนานมาก สอบถามได้ความว่า รอให้รถบรรทุกหินผ่านไปก่อน เพราะไปได้ทีละคันทางเลี้ยวก็เป็นทางหักศอก ไหล่ทางก็สูงมาก ถ้าพลาดพลั้งคงจะเป็นอันตราย แต่คนขับรถก็พารถไปได้ ด้วยความหวาดเสียวของพวกเรา

ระหว่างทาง คุณสุวัฒเล่าให้ฟังว่า ที่เราเห็นแม่น้ำเนรัญชราแห้งมีแต่ทรายอย่างนี้ แต่เขามีน้ำใช้ เพราะขุดลงไปประมาณ ๒ เมตร ก็มีน้ำแล้ว และข้าวสาลีที่ชาวบ้านปลูกก็ไม่ต้องอาศัยน้ำ อาศัยน้ำค้างที่ตกแรงมากในเวลากลางคืน ธรรมชาติสมดุลเสมอ ไม่อย่างนั้นมนุษยชาติจะเอาตัวรอดมาได้ถึงปานนี้หรือ และคุณสุวัฒเช่นกันกล่าวถึงว่า ที่เรามีสถานที่สำคัญในพระพุทธศาสนาให้มากราบไหว้นั้น เพราะบุคคลสำคัญ ๓ ท่าน คือ พระเจ้าอโศกมหาราช พระถังซำจั๋งและเซอร์อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม พระเจ้าอโศกมหาราชเป็นจักรพรรดิในชมพูทวีปในศตวรรษที่ ๓ หลังพระปรินิพพาน พระองค์มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างมาก ได้โปรดให้สร้างวิหาร ๘๔,๐๐๐ แห่ง บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ทุกแห่ง (พ.ศ. ๒๑๘) และสถานที่สำคัญก็ทำเครื่องหมายเป็นเสาหินมีรูปราชสีห์บนหัวเสาข้อมูลจากธรรมประจำวัน ของท่าน ว. วชิรเมธี ท่านเขียนไว้ว่า “เมื่อกว่าสองพันปีมาแล้ว มีสมณะชาวจีนคนหนึ่งเดินทางออกจากเมืองจีน เพื่อไปอัญเชิญคัมภีร์พระไตรปิฎกมาสู่แผ่นดินจีน ตลอดเวลากว่า ๒๐ ปีเศษ ที่ท่านท่องเที่ยวศึกษาอยู่ในอินเดีย ท่านได้บันทึกสิ่งสำคัญต่างๆ ในอินเดียเอาไว้อย่างละเอียดยิบ แม้กระทั่งกุฏิที่จำพรรษาของพระพุทธเจ้าท่านก็ยังบันทึกละเอียดขนาดว่า มีขนาดกว้าง ยาว เท่าไหร่ ห่างจากบ่อน้ำเท่าไหร่ ฯลฯ ต่อมาเมื่อท่านกลับจีน ได้นำบันทึกนั้นกลับมาด้วย และไม่น่าเชื่อว่า หลังจากเวลาของท่านกว่าพันปี เมื่อพุทธศาสนาสลายไปจากอินเดียจนไม่เหลือซากแล้วนั้น ชาวอังกฤษคนหนึ่ง ซึ่งเป็นอธิบดีกรมโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ได้มาอ่านบันทึกของท่าน และได้อาศัยบันทึกนั้นเองทำการขุดค้นแหล่งโบราณสถานต่างๆ จนในที่สุด ก็สามารถรื้อฟื้นพุทธสถานทุกแห่งให้คืนกลับมาปรากฏต่อสายตาชาวโลกอีกครั้งหนึ่งจนถึงทุกวันนี้ สุดยอดนักบันทึกชาวจีนคนนั้น ก็คือ “พระถังซำจั๋ง” นั่นเอง และสุดยอดนักค้นคว้าคนนั้นก็คือ “เซอร์อเล็กซานเดอร์คันนิ่งแฮม” ชาวอังกฤษ”


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
opanayigo
วันที่ 2 มี.ค. 2552

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
suwit02
วันที่ 2 มี.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
saifon.p
วันที่ 2 มี.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
สุภาพร
วันที่ 3 มี.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เมตตา
วันที่ 3 มี.ค. 2552

ขออนุโมทนาในกุศลอันยิ่งใหญ่ของบุคคลสำคัญ ๓ ท่าน คือ

พระเจ้าอโศกมหาราช พระถังซำจั๋ง และเซอร์อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
pornchai.s
วันที่ 4 มี.ค. 2552

อนุโมทนาด้วยเช่นกันครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
pornpaon
วันที่ 8 มี.ค. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
wirat.k
วันที่ 8 มี.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
สุรศักดิ์
วันที่ 23 ต.ค. 2553
ขออนุโมทนาครับ อ่านวันละตอน สองตอน สะสมความรู้ที่ผู้มีกุศลได้ถ่ายทอดครับ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ