สมาธิเป็นได้ทั้งสมถะและวิปัสสนาอย่างไร

 
คุณประมาท
วันที่  27 เม.ย. 2549
หมายเลข  1142
อ่าน  1,657

ขอเรียนถามว่า สมาธิเป็นได้ทั้งสมถะและวิปัสสนาอย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 28 เม.ย. 2549

องค์ธรรมของสมาธิและสมถะได้แก่เอกัคคตาเจตสิก คือความตั้งมั่นแห่งจิต องค์ธรรมของวิปัสสนาได้แก่ปัญญาเจตสิก คือความรู้ทั่ว สมาธิไม่ใช่วิปัสสนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
คุณประมาท
วันที่ 28 เม.ย. 2549

ทำไมท่านใช้คำว่า "สมาธิ" แทนวิโมกข์ เช่น สุญญตสมาธิ อนิมิตสมาธิ และ

อัปปณิหิตสมาธิ ซึ่งควรเป็น สุญญตวิโมกข์ อนิมิตวิโมกข์ และอัปปณิหิตสมาธิ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
study
วันที่ 29 เม.ย. 2549

- ขณะที่หลุดพ้นด้วยอริยมรรคใช้คำว่าวิโมกข์ มีสุญญตวิโมกข์เป็นต้น

- ขณะที่เสวยผล คือผลจิตหรือผลสมาบัติของพระอริยะ ใช้คำว่า สมาธิ มุ่งกล่าวถึงสมาธิ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
คุณประมาท
วันที่ 29 เม.ย. 2549

หมายความว่าขณะที่มรรคจิตเกิดแล้วหนึ่งขณะตามมาด้วยผลจิต พระอริยบุคคลผู้ได้อภิญญาสามารถเข้าสมาธิด้วยมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ หมายถึงเสวยผลของการบรรลุโดยมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ เข้าใจอย่างนี้ถูกไหมคะ ในพระไตรปิฏกมีบ้างไหม ที่ท่านใช้คำว่า " สมาธิ " ในความหมายของวิปัสสนา

ขอบพระคุณที่กรุณาตอบค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
study
วันที่ 30 เม.ย. 2549
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
study
วันที่ 30 เม.ย. 2549

สมาธิสูตร พูดถึงสมาธิแต่หมายถึงการเจริญวิปัสสนา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 169

๖. สมาธิสูตร ว่าด้วยสมาธิ [๑๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิเถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง รู้อะไรตามความเป็นจริง. รู้ตามความเป็นจริงว่า จักษุไม่เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า รูปทั้งหลายไม่เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า จักษุวิญญาณไม่เที่ยงรู้ตามความเป็นจริงว่า จักษุสัมผัสไม่เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า สุขเวทนา ทุกขเวทนาหรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่เที่ยง ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 404

๑. สมาธิสูตร

ผู้มีใจตั้งมั่นย่อมรู้ตามความเป็นจริง

[๑๖๕๔] สาวัตถีนิทาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ ภิกษุผู้มีใจตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง ย่อมรู้อะไรตามความเป็นจริง ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธนี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ ภิกษุผู้มีใจตั้งมั่นแล้วย่อมรู้ตามความเป็นจริง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทย ฯลฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 12 ก.พ. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ