การปฏิบัติสมถวิปัสสนากรรมฐานเป็นหน้าที่ของชาวพุทธหรือไม่

 
audience
วันที่  28 เม.ย. 2549
หมายเลข  1145
อ่าน  1,956

เวลาฟังรายการธรรมะทางสถานีวิทยุ อย่างเช่น เมื่อเช้านี้ไปเดินออกกำลังในสวน

สาธารณะ ได้ยินเสียงจากเครื่องขยายเสียงในสวน คิดว่าคงมาจากรายการวิทยุ พูดถึง

เรื่องปฏิบัติสมถวิปัสสนากรรมฐาน ไม่ทราบว่าเป็นสิ่งที่ชาวพุทธต้องปฎิบัติตามหรือไม่

และทำไปเพื่ออะไร เป็นหลักคำสอนในพุทธศาสนาหรือไม่ ได้ยินเรื่องนี้อยู่บ่อยๆ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 28 เม.ย. 2549

ชาวพุทธควรเป็นผู้ที่มีเหตุผลเมื่อได้ยินได้ฟังสิ่งใด ก็ตามควรพิจารณาก่อนที่จะไปกระทำตามใครๆ โดยขาดเหตุผล ผู้ที่มั่นคงในเหตุผลในสมัยครั้งพุทธกาลแม้พญามารแปลงรูปเป็นพระพุทธเจ้ามาพูดสิ่งที่ไม่มีเหตุผล เขายังแยกแยะได้ว่าคำพูดไหนจริง คำพูดไหนไม่จริง ฉะนั้น การจะเป็นผู้มีเหตุผลและฉลาดในธรรมะได้ต้องศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
audience
วันที่ 28 เม.ย. 2549
การปฏิบัติสมถวิปัสสนากรรมฐานเป็นหลักคำสอนในพุทธศาสนาหรือไม่ กรุณาช่วยตอบให้ผู้ที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจด้วยครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
study
วันที่ 29 เม.ย. 2549

พระพุทธองค์ทรงแสดงให้สาวกเจริญกุศลทุกประการ ทั้ง ทาน ศีล และภาวนาภาวนามี ๒ อย่างคือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑ แต่กุศลที่สำคัญที่ชาวพุทธควรอบรมเจริญ คือ วิปัสสนา (สติปัฏฐาน)

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 เม.ย. 2549

วิปัสสนาเป็นการระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ ขณะที่สติระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมหนึ่งสภาพธรรมใดนั้น สัมมาสังกัปปะ คือ วิตกเจตสิก ก็ตรึก คือ จรดในลักษณะของอารมณ์ที่กำลังปรากฏ และปัญญาเริ่มศึกษาพิจารณาลักษณะที่แท้จริงของสภาพธรรมที่ปรากฏ ทีละเล็กทีละน้อยจนกว่าความรู้จะเพิ่มขึ้น ความรู้จะเกิดขึ้น และเจริญขึ้นได้ จากการพิจารณารู้ลักษณะของสภาพธรรมซึ่งปรากฏ ในขณะที่สติระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้น ขณะนี้สติจะเกิดขึ้นระลึกรู้ลักษณะของนามธรรมหรือรูปธรรมที่กำลังปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ทางหนึ่งทางใดก็ได้ ทีละลักษณะ พิจารณาศึกษารู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้นๆ ทีละเล็กทีละน้อย จนกว่าปัญญาจะเพิ่มขึ้น รู้ชัดในลักษณะที่ต่างกันของนามธรรมและรูปธรรม ในที่สุดก็จะชินกับสภาพของนามธรรมและรูปธรรมมากขึ้น เมื่อชินแล้ว ความรู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมก็เพิ่มขึ้นอีก ไม่ว่านามธรรมใดรูปธรรมใดจะเกิด ณสถานที่ใด สติและปัญญาก็สามารถเกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้นๆ ในขณะนั้น ได้ตามปรกติตามความเป็นจริง การเจริญสติปัฏฐานเป็นการเจริญสติปัญญา ความรู้ใดที่ได้อบรมให้เกิดขึ้นแล้วความรู้นั้นก็จะเพิ่มขึ้น และละคลายความไม่รู้ให้ลดน้อยลงไปด้วย

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ