กรรมนิยาม คือความแน่นอนของกรรม [ธรรมสังคณี]
[เล่มที่ 76] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 82
กรรมนิยาม (ความแน่นอนของกรรม) ความที่กรรมนั้นๆ ให้ผลเช่นเดียวกันกับกรรมนั้นๆ อย่างนี้คือกรรมที่ประกอบด้วยกุศลเหตุ ๓ ย่อมให้วิบากเป็นติเหตุกะ ทุเหตุกะ และอเหตุกะ กรรมที่ประกอบด้วยกุศลเหตุ ๒ ย่อมให้วิบากเป็นทุเหตุกะ และอเหตุกะ ไม่ให้วิบากเป็นติเหตุกะ ชื่อว่า กรรมนิยาม.
อีกอย่างหนึ่ง เป็นกรรมนิยามด้วยอำนาจแห่งวิบากเหมือนกับกรรม
อีกอย่างหนึ่ง เป็นกรรมนิยามด้วยอำนาจแห่งวิบากเหมือนกับกรรมนั่นแหละ
เพื่อแสดงกรรมนิยามนั้น ท่านอาจารย์ทั้งหลายกล่าวเรื่องไว้ดังนี้ นั่นแหละ เพื่อแสดงกรรมนิยามนั้น ท่านอาจารย์ทั้งหลายกล่าวเรื่องไว้ดังนี้ ในสมัยแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บ้านใกล้ประตูพระนครสาวัตถีถูกไฟไหม้ กระจุกหญ้าติดไฟโพลงแต่บ้านไฟไหม้นั้น ขึ้นไปสวมคอกาตัวบินทางอากาศ
กานั้นร้องตกตายในแผ่นดิน. พระศาสดาตรัสว่า นั่นมิใช่ผู้อื่นกระทำ นั่นเป็นกรรมอันเขานั่นแหละทำแล้ว ดังนี้ เมื่อจะทรงนำเรื่องอดีตมาแสดงธรรม จึงตรัสว่า กาเป็นมนุษย์ในอัตภาพก่อน ไม่อาจเพื่อฝึกโคโกงตัวหนึ่ง จึงได้ผูกเขน็ดฟางสวมคอโคจุดไฟ โคนั้นตายด้วยเหตุนั้นแหละ บัดนี้ กรรมนั้นจึงไม่ปล่อยกานั้นแม้บินอยู่ทางอากาศ. นี้ ก็ชื่อว่ากรรมนิยามเหมือนกัน. เรื่องอื่นๆ แม้เช่นนี้ก็ควรแสดง.