สติปัฏฐาน คืออะไร

 
chada
วันที่  29 เม.ย. 2549
หมายเลข  1151
อ่าน  12,993

สติปัฏฐาน คืออะไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 30 เม.ย. 2549
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
saowanee.n
วันที่ 30 เม.ย. 2549

กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ โลก means kaya, vedana, citta anddhamma, or another sense means clinging to 5 khandhas (upadan khandhas 5) .

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
pornchai.s
วันที่ 1 พ.ค. 2549

สติปัฎฐาน เป็นทางที่พระผู้มีพระภาค และ สาวก เสด็จดำเนินไปแล้วเจริญสติปัฎฐาน = เจริญมรรค = เจริญวิปัสสนา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
rrebs10576
วันที่ 4 พ.ค. 2549
ตามที่ได้ฟังท่านอาจารย์สุจินต์เข้าใจว่า สติปัฏฐาน คือ สติที่เกิดขึ้นระลึกสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความจริงด้วยปัญญา ก่อนอื่นต้องเข้าใจลักษณะของสติ ที่เกิดของสติ เช่น เห็นกระดาษ สติสัมปชัญญะ ระลึกรู้ว่าเป็นสีหรือรูปารมณ์ ที่เกิดระลึกรู้คือ ทางตา เป็นจิตเห็น สติปัฏฐานต้องอาศัยสติสัมปชัญญะ สภาพธรรมเป็นชีวิตประจำวัน ขณะปรากฏเราเริ่มเข้าใจขึ้น เพราะสติระลึกได้จากการฟังบ่อยๆ และพิจารณาไตร่ตรองด้วยโยนิโสมนสิการ เช่น แข็งเป็นรูปธรรม ก็รู้ได้ว่าขณะนั้นมีสติ ที่สำคัญรู้ความต่างของขณะมีสติกับหลงลืมสติ สติอาจจะเกิดบ้าง หรือหลงลืมไปมาก สติ คือ นามธรรมเจตสิก ทำกิจระลีกรู้ เกิด ดับ เพราะปัจจัย สติสัมปชัญญะ คือ การระลึกรู้ รู้ชัด รู้แจ้ง แต่ละทวารด้วยปัญญาว่าเป็นอนัตตา การรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความจริงนั้นยากยิ่ง ลีกซี้ง ละเอียด แต่ก็ไม่เกินวิสัย ต้องอาศัย เช่นฟัง อ่าน ด้วยความอดทนเพียรเสมอๆ เข้าใจให้ถูกต้องเรื่อง จิดเจตสิก รูป ธรรมะ ทั้งหมดที่ได้ศึกษาจะกระจ่างขึ้นเมื่อเจริญอบรมสติปัฏฐาน
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
yai93
วันที่ 4 พ.ค. 2549

สติปัฏฐาน คือ การรู้สิ่งทั้งหลายทั้งปวงในรูปแบบของปรมัตบัญญัติ ไม่ใช่ในแบบสมมติบัญญัติใช่หรือไม่ครับ เช่น เห็นว่าคนที่เราเกี่ยวข้องและผูกพันด้วย เป็นแค่ รูปไม่ใช่เห็นว่าเป็น พ่อ แม่ พี่น้อง บุตร ภรรยาสามี ใช่หรือไม่ ถ้าอย่างนั้น ก็ทำให้เราไม่ยึดมั่นถือมั่น เพราะว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงก็เป็นแค่รูป

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
prachern.s
วันที่ 6 พ.ค. 2549
สติปัฏฐาน คือ การระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ คือ นามธรรมและรูปธรรม รู้ตามเป็นจริงว่าเป็นแต่เพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่งเท่านั้น แต่เมื่อสติเกิดขึ้นทำกิจแล้วดับไป หลังจากนั้นความรู้สมมติ บัญญัติก็คงเหมือนเดิม การรู้สิ่งต่างๆ ของผู้อบรมสติปัฏฐานมีทั้งปรมัตถ์และบัญญัติ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
prapas.p
วันที่ 9 พ.ค. 2549

สติปัฏฐาน คือความรู้จริงในสภาวะของรูปธรรมและนามธรรมด้วยว่าเป็นสภาวะที่มีจริง ถึงรูปธรรมเป็น สภาพไม่รู้อะไรแต่นามธรรมที่บัญญัติว่าเป็นพ่อ แม่ เช่น คุณคือเมตตามีอยู่จริง ไม่ใช่ให้เห็นว่าคุณพ่อ แม่ เป็นรูปไปด้วย ต้องศึกษาพระอภิธรรมให้รอบคอบและโดยเคารพ จึงจะหมดความถือมั่นได้ตามสมควรแก่เหตุ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
werayut
วันที่ 10 พ.ค. 2549

สติปัฎฐาน จะเกิดได้ ผู้ที่เจริญสติจะต้องมีความเข้าใจ ศึกษาพระอภิธรรม คำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาก่อน ผู้ที่จะศึกษาแล้ว สติปัฎฐานจะเกิดได้ ต้องเข้าใจหลักการดังต่อไปนี้

1. ต้องเข้าใจว่าจิตเป็นสภาพที่รู้อารมณ์ เกิดรับรู้อารมณ์หนึ่งแล้วดับไป แล้วเกิดรับรู้อารมณ์อีกหนึ่งแล้วดับไป ทีละขณะสืบต่อกันไปอย่างรวดเร็วมาก รวดเร็วเกินกว่าเราจะไปจดจ้องหยุดยั้งเพื่อพิจารณาหรือบังคับให้เกิดสติตามระลึกได้

2. สติต้องระลึกในปรมัตธรรม สภาพธรรม หมายความว่า ไม่ใช่ระลึกในเรื่องราวต่างๆ ที่เป็น บัญญัติธรรม ต้องระลึกในสภาพธรรม ที่เป็นจิต - เจตสิก - รูป เท่านั้นสภาพธรรมนั้นแหละคือสัจธรรม

3. สติจะต้องระลึก ในสภาพที่กำลังปรากฎ หรือ ในปัจจุบันขณะ หมายถึงขณะที่จิตยังไม่ละจากการรับรู้ในสภาพธรรมที่กำลังเกิดขึ้นสลับกันอย่างรวดเร็ว เช่น จิตเห็นเกิดขึ้นสลับกับจิตอื่นๆ และยังกลับมาเป็นจิตเห็นอยู่นั้น ถือว่าเห็น ยังเป็นปัจจุบันขณะแต่ไม่ใช่จะไปเกิดขึ้นซ้อนในขณะเดียวกันขณะใด เพราะจิตจะต้องเกิดขึ้นทีละขณะเท่านั้นอย่างนี้เรียกว่าตามระลึก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องราวที่ผ่านไปแล้ว หรือเรื่องราวที่ยังไม่มาถึง

4. สติปัฎฐานจะเกิดขึ้นตามฐานที่ตั้งของการปรากฏ แล้วแต่ว่าจิตอะไรจะเกิดถ้าสติเกิด ก็จะระลึกไปตามฐานที่ตั้งต่างๆ เหล่านั้น ไม่สามารถจับมาระลึก หรือเพ่งหรือจดจ้องอยู่ในสิ่งเดียว อย่างเดียวได้ ดังที่ท่านแจกแจงว่า ที่ กาย เวทนา จิต ธรรมคือจากใกล้ตัว จนครอบคลุมธรรม ทุกอย่างเป็นสติปัฎฐานได้หมด

5. สติปัฎฐานจะไม่มีทางเกิดได้ ถ้าหากเราอยากให้สติปัฎฐานเกิด เพราะความอยากนั้นเป็นอกุศลเป็นเครื่องกั้น สติซึ่งเป็นกุศล สติจะเกิดขึ้นเองจากการเข้าใจในการฟังเรื่องราวของอภิธรรมก่อน เมื่อความเข้าใจเจริญถึงพร้อม จะเริ่มสังเกต ความแตกต่างระหว่างการหลงลืมสติ กับการมีสติ ความเข้าใจเมื่อเข้าใจเพิ่มขึ้น สังขารขันธ์จะปรุงแต่งให้สติเกิดขึ้น ทีละน้อย ทีละน้อย

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
yai93
วันที่ 15 พ.ค. 2549

เจริญสติปัฏฐาน เพื่ออะไร ในเมื่อชีวิตนี้ก็มีแค่รูปกับนาม ทำไมต้องเจริญสติปัฎฐานด้วย

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
prachern.s
วันที่ 16 พ.ค. 2549

[เล่มที่ 17] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 606

๑๐. สติปัฏฐานสูตร

[๑๓๑ ] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :- ฯลฯ

[๑๓๒] พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อก้าวล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง. ทางนี้คือสติปัฏฐาน ๔ ประการ. ฯ

จากพระพุทธพจน์ในสติปัฏฐานสูตรก็เห็นได้ว่า เจริญสติเพื่อการละกิเลสอันเป็นเหตุของทุกข์ทั้งหมด จริงอยู่ชีวิตทั้งหมดมีแต่รูปกับนามเท่านั้น แต่กิเลสเข้าไปยึดถือรูปนามนั้นว่าเป็นเรา เป็นเขา เป็นตัวตนของเรา จึงมีปัญหามากมาย ฉะนั้น จึงเจริญสติปัฏฐานเพื่อละกิเลสอันเป็นต้นเหตุของปัญหาทุกอย่าง

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 13 ก.ย. 2550

สติที่ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธัมมะที่มีในขณะนี้ ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรา

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
suwit02
วันที่ 19 ม.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
pornpaon
วันที่ 19 ม.ค. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
peem
วันที่ 29 ส.ค. 2562

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
chatchai.k
วันที่ 30 ก.ย. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ