ข้อข้องใจในการสวดสรภัญญะเป็นทำนองต่างๆในยุคสมัยนี้

 
b_bct
วันที่  29 เม.ย. 2549
หมายเลข  1154
อ่าน  2,205
การสวดทำนองสรภัญญะมีที่มาอย่างไร พระภิกษุสวดได้หรือไม่ ผิดพระวินัยหรือเปล่า

  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 30 เม.ย. 2549

[เล่มที่ 9] พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 9

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดพระธรรมด้วยทำนองยาวคล้ายเพลงขับ รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ
เรื่องการสวดสรภัญญะ
[๒๑] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายรังเกียจในการสวดสรภัญญ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวดเป็นทำนองสรภัญญะได้
ข้อความจากอรรถกถา
บทว่า สรภญฺญํ คือ การสวดด้วยเสียง ได้ยินว่าในสรภัญญะมีวัตร ๓๒ มีตรังควัตร (ทำนองดังคลื่น) โทหกวัตร (ทำนองดังรีดนมโค) คลิวัตร (ทำนองดังของเลื่อน) เป็นต้น ในวัตรเหล่านั้นภิกษุย่อมได้เพื่อใช้วัตรที่ตนต้องการ การที่ไม่ยังบทและพยัญชนะให้เสียคือ ไม่ทำให้ผิดเพี้ยนเปลี่ยนโดยนัยที่เหมาะ ซึ่งสมควรแก่สมณะนั้นแล เป็นลักษณะแห่งวัตรทั้งปวงจากข้อความในพระไตรปิฎกและอรรถกถา การสวดทำนองสรภัญญะในสมัยก่อน บทพยัญชนะไม่ผิดเพี้ยนเหมือนกับการสวดในปัจจุบัน เพราะทุกวันนี้เวลาพระสวดพระอภิธรรม ผู้ฟัง ฟังไม่รู้เรื่องเลย คือเสียงเพี้ยนมาก น่าจะเป็นอาบัติในยุคนี้

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ