อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร...อย่างไร?

 
พุทธรักษา
วันที่  9 มี.ค. 2552
หมายเลข  11561
อ่าน  2,675

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

จิตขณะแรก คือ ปฏิสนธิจิต อายุก็สั้น และทุกขณะนี้ จิตเกิดดับเร็วมากแต่สามารถที่จะแบ่ง หรือกล่าวถึง คือขณะเกิด ก็ไม่ใช่ ขณะที่ดับ ขณะดับ ก็ไม่ใช่ ขณะก่อนที่จะดับ เพราะฉะนั้น จิต มีขณะต่างๆ คือ อุปาทขณะ คือ ขณะเกิด ฐีติขณะ คือ ขณะที่ยังไม่ดับ ภังคขณะ คือ ขณะที่ดับ เวลานี้มีใครนับ (ขณะจิต) ได้ ไม่มีทางเลยค่ะ เพราะเหตุว่า จิต เกิดดับสืบต่อกันอย่างรวดเร็วมาก

เพราะฉะนั้น ปฏิสนธิจิต หนึ่งขณะ เกิดแล้วดับ เร็วมากแต่ให้ทราบว่า จิตที่เกิด ขณะปฏิสนธิ นั้นเป็นผลของกรรม คือ กรรมหนึ่ง กรรมใดในบรรดากรรมทั้งหลาย (ที่ได้กระทำแล้ว) ที่ทำให้ปฏิสนธิจิต เกิดขึ้น สิ่งที่สะสมมา แต่ละขณะของจิต ไม่ได้หายไปไหนเลย ประมวลมาก็ยังคงรักษาอยู่ในจิต ทั้งๆ ที่จิตเป็น นามธรรมและไม่มีที่เก็บ ที่เป็นรูปธรรม แม้กระนั้น ทุกขณะจิตที่เกิดขึ้น เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง ดับไปแล้วก็จริง แต่เพราะได้เกิดแล้ว และเป็นไปอย่างนั้น แม้ดับไปแล้ว ก็สะสมเป็นปัจจัย ให้เมื่อมีแล้วก็ต้องดับไป แล้วก็ยังทำให้เกิดมีขึ้นได้อีก โดยการเป็นเชื้อ เป็นปัจจัย ที่จะเป็นเหตุ ที่ทำให้สภาพธรรมนั้นๆ เกิดขึ้นอีก เช่น โลภะ ความติดข้อง เมื่อเกิด และดับหมดไปแล้ว (ขณะนี้) เมื่อดับไปแล้ว จะไม่มีโลภะเกิดขึ้นอีกเลย ได้หรือเปล่า แม้ว่า จะดับไปแล้ว ก็ยังสะสมสืบต่อ เพราะว่า เคยชอบ และความที่เคยชอบ คือ โลภะนั้นได้เกิดแล้วแม้ดับไปแล้วก็จริง แต่ "สภาพของการสะสมสิ่งที่เป็นโลภะ"

คือความชอบนั้น ก็ยังมีอยู่ เพราะฉะนั้น ลองคิดดูว่า นานแสนนานมาแล้ว ที่ไม่รู้ลักษณะ ของสภาพธรรม แล้วก็มีความติดข้องมีแต่ละเรื่อง แต่ละราว ในแต่ละชาติๆ ที่เคยติดข้องมากมาย แต่กระนั้น เรื่องราวนั้นๆ ก็หมดไปแล้ว ไม่เหลือเลย เหตุนี้ ขณะที่ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้นนั้น ถ้าจะกล่าว โดยปฏิจจสมุปปาท ซึ่งคนส่วนใหญ่ ชอบกล่าวถึง โดยที่ไม่รู้ ว่า เป็น ปรมัตถธรรม เพียงได้ยินว่า อวิชชา ความไม่รู้ เป็นปัจจัย ให้เกิดสังขาร อวิชชา ความไม่รู้เป็นปัจจัย ให้เกิดสังขาร คือ กุศลเจตนา และ อกุศลเจตนา ไม่ว่าระดับไหนทั้งสิ้น ที่ยังคงเป็นกุศล และ เป็นอกุศล ก็เพราะมี อวิชชา คือ ความไม่รู้ ความไม่รู้ ซึ่งจะเป็นเหตุที่ทำให้กุศลจิต ที่ให้ผลเป็นกุศลวิบาก และ ขณะที่เป็นอกุศลจิต ก็ให้ผล เป็นอกุศลวิบากจิต นั่นเอง

ถ้าเราพูดอย่างนี้ ว่า"อวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร" เมื่อแสดงให้ลึกลงไปกว่านั้นอีก แม้ชาติก่อน เราจะเคยทุกข์ สุข ประการใดก็ตาม ก็หมดแล้ว ไม่เหลือเลย แต่มีการสะสม (เป็นปัจจัย) แต่สิ่งที่ยังมีอยู่ คือ อวิชชา ที่เป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร ตลอดชาตินั้น สุข ทุกข์ ผ่านไปหมด ไม่มีเหลือ แต่มี อวิชชา และ สังขาร เท่านั้น ที่เป็นปัจจัยให้ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้น..นี่แสดงให้เห็นว่า ชาตินี้ก็เหมือนกันค่ะ.!ตั้งแต่เกิดมา ประสบกับสุข ทุกข์ ต่างๆ นานาแล้วก็ไม่มีอะไรเหลือเลย

สำหรับชาติต่อไป อวิชา และสังขาร จะเป็นปัจจัยให้ ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น เมื่อกล่าวโดยย่อแล้ว เหตุการณ์ต่างๆ ที่ทำให้ เป็นทุกข์ เป็นสุข ในระหว่างที่มีชีวิตอยู่ ในชาติหนึ่งๆ นั้น ไม่มีความสำคัญอะไรเลย เกิดแล้วดับไปแล้วหมดไปๆ มีแต่ "การสะสมของปัจจัย" ที่จะทำให้เกิดผล ต่อไป และเพราะเหตุนี้ ปฏิสนธิจิตของแต่ละคน ที่ได้ผ่านประสบการณ์ต่างๆ มา เหตุการณ์ต่างๆ ตั้งแต่ชาติก่อนๆ ดับไปหมดไม่เหลือเลย มีแต่ "การสะสม" เท่านั้น ที่ยังคงอยู่ และเป็นเหตุ ที่ทำให้แต่ละบุคคล มีความหลากหลาย แตกต่างกันไป (ตามการสะสมของจิต ของแต่ละบุคคล นั่นเอง)


พื้นฐานอภิธรรมวันอาทิตย์ ที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๑ ณ อาคารมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

บรรยายโดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ถอดเทปโดย คุณย่าสงวน สุจริตกุล


ขออนุโมทนา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
suwit02
วันที่ 10 มี.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
สุภาพร
วันที่ 10 มี.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เมตตา
วันที่ 10 มี.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
sopidrumpai
วันที่ 10 มี.ค. 2552

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
choonj
วันที่ 10 มี.ค. 2552

ปฎิจจสมุปปาทเริ่มด้วย อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร ฯลฯ เมื่อยังมีอวิชชาการเกิดใหม่ก็ต้องมี เมื่อดับอวิชชาการเกิดอีกก็ไม่มี จะดับอวิชชา พระพุทธเจ้าสอนว่าต้องเดินทางมรรคมีองค์แปดมีหนทางเดียว การเจริญมรรคก็คือการเจริญสติปัฐาน การเจริญสติก็มีหนทางเดียวอีกก็คือการฟังธรรมให้เข้าใจไม่ใช่เรา ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรม สติจึงจำปรารถนาด้วยประการทั้งปวง ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 14 มี.ค. 2552

ถ้าเข้าใจ ไม่ว่าศึกษาพระสูตร พระวินัย พระอภิธรรม ทุกสิ่งทุกอย่างที่กำลังปรากฏเป็นธรรมะค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ