ปฏิบัติธรรม ไม่ใช่การไปทำปฏิบัติ
คำว่า ปฏิบัติ ที่ใช้กันในภาษาไทย กับปฏิบัติในภาษาบาลี ความหมายไม่ตรงกัน กล่าวคือ โดยมากจะเข้าใจกันว่าเป็นการไปทำ แต่ความจริงแล้วไม่ใช่การไปทำ เพราะเหตุว่าปฏิบัติธรรม ไม่ใช่การไปทำปฏิบัติ ไม่ใช่การไปทำอะไรที่ผิดปกติขึ้นมา แต่ธรรมเกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ของธรรม นั่นก็คือ สติและสัมปชัญญะ (ปัญญา) เกิดขึ้นระลึกรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ตามความเป็นจริง ซึ่งจะต้องอาศัยการฟัง การศึกษาพระธรรมสะสมความเข้าใจขึ้นไปตามลำดับ เพราะเหตุว่าถ้าไม่มีความเข้าใจที่ถูกต้องแล้ว การปฏิบัติถูกต้องย่อมมีไม่ได้อย่างแน่นอน เพราะฉะนั้น ความเข้าใจจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด สำหรับคำว่าปฏิบัติธรรมนั้น ในพระไตรปิฎกแสดงถึงคำเต็มไว้ คือ ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ หมายถึง การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม คือสมควรแก่การรู้แจ้งอริยสัจจธรรม บรรลุมรรคผลนิพพาน ครับ
ขออนุโมทนาค่ะ
ถ้าไม่ศึกษาอย่างถ่องแท้และจริงจัง ก็มีโอกาสเข้าใจผิดว่า
ปฏิบัติธรรม คือ ไปทำปฏิบัติ
เรียนท่านวิทยากร การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม จะเข้าใจได้ไหมครับว่า เป็นการที่สังขารขันธ์ปฏิบัติ หรือจะมีความหมายเป็นอย่างอื่น ครับ
ขอบคุณ