ศีล

 
ธีรวุฒิ
วันที่  14 มี.ค. 2552
หมายเลข  11617
อ่าน  2,586

จากที่ได้ฟังการสนทนาธรรมที่มูลนิธิฯ ในช่วงเช้าของวันนี้ มีเรื่องนึงที่ผมยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับศีล จึงอยากจะเรียนถามว่า แท้ที่จริงแล้ว ศีลคืออะไรครับ?


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 15 มี.ค. 2552

การศึกษาเรื่องศีลในพระไตรปิฎกและอรรถกถามีหลากหลายนัยในบางแห่งคำว่า ศีล หมายถึงกุศลอย่างเดียว ในบางแห่งมีความหมายกว้างกว่านั้น และในวิสุทธิมรรคและปฏิสัมภิทามรรคท่านอธิบายไว้โดยละเอียดเช่นท่านตั้งหัวข้อว่าดังนี้ อะไรเป็นศีล ? ที่เรียกว่าศีล เพราะอรรถว่ากระไร ? อะไรเป็นลักษณะ เป็นรส เป็นปัจจุปัฏฐาน เป็นปทัฏฐานของศีลนั้น ? ศีลมีอานิสงส์อย่างไร ? ศีลนั้นมีกี่อย่าง ? อะไรเป็นความเศร้าหมอง และอะไรเป็นความผ่องแผ้วของศีลนั้น ?

ขอเชิญคลิกอ่าน อกุศลศีล


 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
choonj
วันที่ 16 มี.ค. 2552

ผมเป็นเจ้าของคำถามเรื่องศีลในวันนั้น จึงขอแสดงความเข้าใจดังนี้ ทีแรกผมเข้าใจว่าศีลมี ห้าข้อ คือศีลห้า คือเว้น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ผิดในกาม พูดเท็จ ดึ่มสุรา แต่ท่านอธิบายว่าศีล แปลว่าปรกติ มีสามคือ กุศลศีล อกุศลศีล และอพยากตศีล เมื่อเข้าใจว่าศีลคือศีลห้าที่เราใด้ยินอยู่บ่อยๆ คือการเว้น จึงทำไห้การศึกษาธรรมผิดไปจากคำที่ว่าทุกสิ่งเป็นธรรม เพราะเมื่อมีเว้นก็เหมื่อนมีตัวตนที่จะเว้นซึงผิด เมื่อศีลคือ ปรกติ กุศลหรืออกุศล ทุกสิ่งก็เป็นธรรม การศึกษาก็จะถูกต้อง ผมเดาเอาว่าทุกท่านเมื่อพูดถึงศีลก็จะเข้าใจว่ามี ห้า จึงทำให้มีการไม่เข้าใจเกิดขึ้น เมื่อทุกอย่างเป็นธรรมการศึกษาก็เข้าร่องเข้ารอย การที่จะชนะ เกิดแก่เจ็บตายก็มีได้ ครับเพราะฉะนั้นเมื่อจะศึกษา ศีลมีสาม ส่วนศีลห้านั้นเป็นหน้าทีของวิรตรีเจตสิก ที่ทำหน้าที่เว้นทางกาย วาจา และใจ เพื่อกุศลศีลเกิด ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 16 มี.ค. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ศีล มีนัยที่หลากหลายกว้างขวาง แต่โดยมากที่เข้าใจกันนั้น ศีล เป็นความประพฤติเป็นไปทางกาย ทางวาจาที่ดีงาม เป็นการรักษากาย วาจาให้เป็นปกติ เรียบ-ร้อย ผู้ที่รักษาศีล คือ ผู้ที่มีความประพฤติที่ดีงามทั้งทางกาย ทางวาจา ไม่ล่วงละเมิดสิกขาบทข้อต่างๆ คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่พูดเท็จ ไม่ดื่มสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท บุคคลผู้ที่มีศีลนั้นไม่ว่าจะเป็นวัยเด็กก็ดีวัยกลางคนก็ดี วัยชราก็ดี ย่อมเป็นผู้งามตลอดกาลเป็นนิตย์ งามโดยที่ไม่ต้องประดับตกแต่งด้วยเครื่องประดับต่างๆ เลย ตามความเป็นจริงแล้ว บุคคลผู้ที่จะมีศีล ๕ ที่ครบบริบูรณ์ได้นั้น ต้องเป็นพระโสดาบัน สำหรับผู้ที่เป็นปุถุชน ยังมีโอกาสที่จะล่วงศีลได้ เป็นไปตามกำลังของกิเลส จะเห็นได้ว่า ในชีวิตประจำวัน มีทั้งความติดข้องยินดีพอใจ มีทั้งความโกรธขุ่นเคืองใจ ไม่พอใจ เป็นปกติธรรมดา แต่ถ้าถึงขั้นที่จะล่วงศีลเมื่อไหร่ เมื่อนั้นแสดงให้เห็นถึงกำลังของกิเลสว่ามีมาก เพราะฉะนั้น จึงไม่ควรประมาทกำลังของกิเลสเลย การมีโอกาสได้ฟังพระธรรม ได้ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญาในชีวิตประจำวัน ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่การดำเนินชีวิตของแต่ละบุคคลเป็นอย่างดียิ่ง ซึ่งจะทำให้เป็นผู้มีความประพฤติที่ดีงาม ทำในสิ่งที่ควรทำ พูดในสิ่งที่ควรพูด และงดเว้นในสิ่งที่ควรงดเว้น ครับ ..

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
suwit02
วันที่ 16 มี.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paderm
วันที่ 18 มี.ค. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 425

๑. สีลวเถรคาถา

ศีลเป็นกำลังหาที่เปรียบมิได้ เป็นอาวุธอย่างสูงสุด เป็นอาภรณ์อันประเสริฐ

เป็นเกราะอันน่าอัศจรรย์ ศีลเป็นสะพาน เป็นมหาอำนาจ เป็นกลิ่นหอม อย่างยอด-

เยี่ยม เป็นเครื่องลูบไล้อันประเสริฐ บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมหอมฟุ้งไปทั่วทุกทิศ

ศีลเป็นเสบียงอันเลิศ เป็นเสบียงเดินทางชั้นเยี่ยม เป็นพาหนะอันประเสริฐยิ่งนัก

เป็นเครื่องหอมฟุ้งไปทั่ว อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
pornpaon
วันที่ 20 มี.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
orawan.c
วันที่ 6 ก.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
wkedkaew
วันที่ 8 ก.ค. 2553

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ruttikarn
วันที่ 9 ก.ค. 2553

ขอบคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
pamali
วันที่ 30 ก.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ