สติสังวรและญาณสังวร
[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 40
สังวรที่มาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ, เธอย่อมปฏิบัติ เพื่อสำรวม จักขุนทรีย์ เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้ อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส ครอบงำนั้น ชื่อว่า รักษาจักขุนทรีย์, ชื่อว่า ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ๑ ชื่อว่า สติสังวร.
สังวรที่มาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า กระแสทั้งหลายเหล่าใดในโลก มีอยู่, สติเป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้น เรากล่าวสติว่า เป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย, กระแสเหล่านั้น อันบัณฑิตย่อมปิดได้ด้วยปัญญา ๒ ดังนี้ ชื่อว่า ญาณสังวร.
[เล่มที่ 67] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 21
[๗๖] คำว่า กระแสเหล่าใดในโลก ความว่า กระแสเหล่านี้ใดเราบอกแล้ว เล่าแล้ว แสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แต่งตั้งแล้ว เปิดเผยแล้ว จำแนกแล้ว ทำให้ตื้นแล้ว ประกาศแล้ว คือ กระแสตัณหา กระแสทิฏฐิ กระแสกิเลส กระแสทุจริต กระแสอวิชชา.
บทว่า ในโลก คือ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กระแสเหล่าใดในโลก
[๗๙] ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ทั่ว ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ชื่อว่า ปัญญา ในอุเทศว่า ปญฺญาเยเต ปิถิยฺยเร. ข้อว่า กระแสเหล่านี้ อันปัญญาย่อมปิดกั้นได้ ความว่า กระแส ข้อว่า กระแสเหล่านี้ อันปัญญาย่อมปิดกั้นได้ ความว่า กระแสเหล่านี้ อันปัญญาย่อมปิดกั้นได้ คือ ย่อมตัดขาด ไม่ไหลไปไม่หลั่งไป ไม่เลื่อนไป ไม่เป็นไป กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ย่อมปิดกั้นได้ ...ไม่เป็นไป กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า ธรรมทั้งปวงเป็น บทว่า ปญฺญาเยเต ปิถิยฺยเร กระแสเหล่านั้น อันปัญญาย่อมปิดกั้นไว้ คือกระแสเหล่านี้ อันมรรคปัญญาที่สำเร็จด้วยการแทงตลอดความเป็นของไม่เที่ยงในรูปเป็นต้น ปิดกั้นไว้โดยประการทั้งปวง. สติสังวร คือ สตินั่นเอง หรือกุศลขันธ์อันมีสติเป็นประธาน. ญาณสังวร คือญาณ นั่นเอง.