จำเป็นหรือไม่ที่เราต้องเจริญกุศลทุกประการ??

 
Endeavor
วันที่  18 มี.ค. 2552
หมายเลข  11650
อ่าน  1,305

ผมเคยสงสัยมานานว่า

การเจริญกุศลเพียงอย่างเดียวโดยไม่อบรมเจริญปัญญานั้น ไม่เป็นเหตุที่จะนำไปสู่

การดับสังสารวัฏฏ์ เพราะกุศลเองก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยที่จะทำให้ต้องมีการเกิดอีกเพื่อรับ

ผลที่ดี เป็นกุศลวิบาก

แล้วจำเป็นหรือไม่ที่เราต้องเจริญกุศลทุกประการ?? ทำไมต้องเจริญกุศลอื่นๆ ที่ไม่

ประกอบด้วยปัญญาด้วย??

แต่อยู่มาวันนึงก้อพอจะเข้าใจจุดประสงค์หนึ่งครับ คือว่า แม้กุศลจิตอื่นๆ จะไม่

ประกอบด้วยปัญญา แต่ก็มีกุศลเจตสิกอื่นๆ เกิดร่วมด้วยเสมอ เช่น สติ ศรัทธา หิริ

โอตตัปปะ อโลภะ อโทสะ เป็นต้น ซึ่งจะสะสมในจิต เป็นปัจจัยให้เกิดกุศลจิตขึ้นได้อีก

ในอนาคต ดังนั้นเราก็ควรเจริญกุศลทุกประการจริงๆ เท่าที่จะมีโอกาส เท่าที่จะทำได้

จริงๆ ไม่ควรละเว้นว่า กุศลจิตดวงนั้นไม่จำเป็น ดวงนี้เท่านั้นที่จำเป็น

ซึ่งการเจริญกุศลไม่ว่าจะเป็นประเภทใด อย่างน้อยก็เกิดขึ้นแทนที่อกุศลในขณะนั้น

ด้วยครับ

ความคิดนี้ทำให้ผมมีวิริยะความเพียรที่จะเจริญกุศลมากขึ้น แทนที่จะปล่อยปละ

ละเลยจนอกุศลเกิดขึ้นแทนจริงๆ ครับ

ไม่ทราบว่าแต่ละท่านมีความเห็นกับคำถามนี้เพิ่มเติมอย่างไรกันบ้าง ก็ร่วมแสดงความ

คิดเห็นกันเยอะๆ นะครับ ขอบคุณมากครับ ขออนุโมทนา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 18 มี.ค. 2552

ไม่ควรประมาทว่าเป็นอกุศลเพียงเล็กน้อย ไม่ควรประมาทว่าเป็นกุศลเพียงเล็กน้อยเพราะถ้ารู้ว่ากุศลแม้เพียงเล็กน้อยนั้นก็มีคุณมากย่อมจะไม่ละเว้นการเจริญกุศลเลยขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
suwit02
วันที่ 18 มี.ค. 2552

สาธุ

คาถาธรรมบท ปาปวรรคที่ ๙

บุคคลอย่าพึงดูหมิ่นบุญว่า บุญมีประมาณน้อยจักไม่มาถึง

แม้หม้อน้ำย่อมเต็มได้ด้วยหยาดน้ำที่ตกทีละหยาดๆ ฉันใด

นักปราชญ์สั่งสมบุญแม้ทีละน้อยๆ ย่อมเต็มด้วยบุญ ฉันนั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
พุทธรักษา
วันที่ 18 มี.ค. 2552

"คนส่วนใหญ่ก็ทราบกันดีแล้วว่า การรู้แจ้งอริยสัจจธรรมนั้น แสนไกล และถ้าไม่อบรม เจริญกุศลทุกประการ มุ่งหน้าอย่างเดียว ที่จะให้ไประลึกลักษณะของสภาพนามธรรม และ รูปธรรมแล้วให้เกิดความรู้ชัดแล้วละคลาย ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ถ้าผู้นั้น ขาดสติและสัมปชัญญะ ละเลยแม้กุศลธรรมในชีวิตประจำวัน เช่น จาริตศีล (สิ่งที่ควรทำ) และ วาริตศีล (สิ่งที่ควรเว้น) ..........
จาก

.
.
.

มุ่งเจริญสติปัฏฐานอย่างเดียว ไม่พอ.
โดย khampan.a

....................................................................................สั่งสมบุญ...นำมาซึ่งความสุข.
.
.
.

ปุญฺญญฺเจ ปุริโส กยิรา กยิราเถนํ ปุนปฺปูนํ ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ สุโข ปุญฺญสฺส อจฺจโย.แปลว่า ถ้าบุรุษ พึงทำบุญไซร้ พึงทำบุญนั้น บ่อยๆ พึงทำความพอใจ ในบุญนั้น เพราะว่า ความสั่งสมบุญ เป็นเหตุ นำมาซึ่งสุข ดังนี้ ฯ
.
.
.
อธิบาย เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า
"ถ้าว่า บุรุษ พึงทำบุญไซร้ ไม่ควรงดเว้น ด้วยคิดว่าเราทำบุญ ครั้งเดียวพอละ ด้วยบุญเพียงเท่านี้" ดังนี้ พึงทำบุญบ่อยๆ แม้ในขณะ แห่งการทำบุญนั้นพึง พอใจ คือชอบใจว่า ทำอุตสาหะในบุญนั้น โดยแท้.
.
.
.
ถามว่า................................เพราะเหตุใด.? ตอบว่า เพราะความสั่งสมบุญ ทำให้เกิดสุข.

.
.
.
อธิบายว่า เพราะความสั่งสม คือ ความพอกพูนบุญชื่อว่า ให้เกิดสุข ทั้งในโลกนี้ และ โลกหน้า ฯ........................ขออนุโมทนาค่ะ.........................

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 18 มี.ค. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อกุศลธรรม เป็นสภาพธรรมที่ไม่ดีงาม ไม่นำประโยชน์อะไรๆ มาให้ใครเลย มีแต่จะนำทุกข์ นำโทษมาให้ในภายหลัง ขณะที่จิตเป็นอกุศลย่อมเร่าร้อนเพราะอกุศลเจตสิกประการต่างๆ ที่เกิดร่วมด้วย ส่วนกุศลธรรม เป็นธรรมฝ่ายดี เป็นธรรมที่ดีงาม มีแต่จะนำความสุข นำความเจริญมาให้ในภายหลัง ขณะที่จิตเป็นกุศลนั้นย่อมผ่องใส เป็นสุข เพราะไม่มีอกุศลเจตสิกเกิดร่วมด้วยเลย ถ้าไม่อาศัยการฟังพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง ย่อมจะไม่เห็นโทษเห็นภัยของอกุศล และไม่เห็นคุณของกุศลธรรมทำให้เป็นผู้ดำรงชีวิตอยู่ด้วยความประมาทมัวเมาอยู่เรื่อยๆ ดังนั้น ผู้ที่ได้ฟังพระธรรม มีความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นไปตามลำดับ ย่อมจะเป็นผู้ไม่ประมาททั้งในกุศลและในอกุศลแม้จะเล็กน้อย (อกุศลแม้จะเล็กน้อยก็เห็นว่าเป็นโทษ) เป็นผู้ที่เจริญกุศลประการต่างๆ เพื่อขัดเกลากิเลสในชีวิตประจำวัน ถึงแม้ว่าจะมีความเข้าใจว่า จิตที่ดีที่สุด ประเสริฐที่สุดนั้น ต้องเป็นจิตที่ประกอบด้วยปัญญา ซึ่งรู้แจ้งในสภาพธรรมตามความเป็นจริงก็ไม่ใช่ว่าจะละเลยในการเจริญกุศลประการต่างๆ ทั้งในเรื่องของทาน การให้ เรื่องของศีล การช่วยเหลือเกื้อกูลบุคคลอื่น และเรื่องของการอบรมเจริญปัญญาด้วย เพราะถ้าไม่เจริญกุศลประการต่างๆ ในชีวิตประจำวันแล้ว อกุศลย่อมมีแต่จะพอกพูนหนาแน่นขึ้นเรื่อยๆ ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เมตตา
วันที่ 18 มี.ค. 2552

การที่ต้องอบรมเจริญกุศลทุกประการนั้น ก็เพื่อที่จะค่อยๆ ขัดเกลากิเลส กิเลสที่สะสมมาแต่อดีตนั้นไม่ใช่จะดับได้ง่ายๆ จึงต้องอบรมเจริญกุศลทุกประการ ค่อยๆ

ขัดเกลาละคลายกิเลส กุศลที่ประกอบด้วยปัญญานั้นจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าไม่เริ่มจากการค่อยๆ อบรมเจริญกุศลทุกประการ ค่อยๆ ขัดเกลากิเลสที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 18 มี.ค. 2552

กุศลอื่นๆ จะเจริญขึ้นได้เพราะอาศัยการฟังธรรมที่ถูกต้อง ทำให้ปัญญาค่อยๆ เจริญ

ขึ้น กุศลทุกอย่างที่ประกอบด้วยปัญญาเป็นเหตุเป็นปัจจัยปรุงแต่งให้สติปัฎฐานเกิดค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
paderm
วันที่ 18 มี.ค. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 152 อุโภอัตถสูตร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งอันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยึดประโยชน์ทั้ง ๒ ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน ๑ ประโยชน์ในสัมปรายภพ ๑ ธรรมอย่างหนึ่งเป็นไฉน คือ ความไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งนี้แล อันภิกษุเจริญแล้วทำให้มากแล้ว ย่อมยึดประโยชน์ทั้ง ๒ ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน ๑ ประโยชน์ในสัมปรายภพ ๑. อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
suwit02
วันที่ 19 มี.ค. 2552

ที่นี่น่ารื่นรมย์

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ajarnkruo
วันที่ 20 มี.ค. 2552

จำเป็นที่จะต้องศึกษาพระธรรมให้เข้าใจว่า มีแต่ธรรม ไม่มีเราก่อน แล้วกุศลทุกประการจึงจะเจริญขึ้นได้ โดยที่ไม่มีตัวตนที่จะไปพยายามเลือกกระทำกุศล แต่เพราะเข้าใจว่า เป็นธรรม เป็นอนัตตา เมื่อมีเหตุปัจจัยให้กุศลจิตประการใดๆ เกิด กาย วาจา ใจ ก็ต้องเป็นไปตามอำนาจแห่งกุศลจิตนั้นๆ ตามการสะสม และตามขั้นของปัญญา ถ้ามีปัญญามาก ก็สามารถจะเป็นปัจจัยให้เจริญกุศลทุกประการได้มาก แต่ถ้ามีปัญญาน้อยก็จะเป็นปัจจัยให้เจริญกุศลทุกประการได้ตามเหตุที่มี ผู้ศึกษาธรรม เป็นผู้ตรง เมื่อรู้ว่าตนยังมีกิเลสมาก ก็จะทราบว่า ตนยังจะต้องอาศัยการสะสมอบรมปัญญาต่อไป ด้วยการฟัง และการศึกษาพระธรรม ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสรู้และทรงแสดงไว้ครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ