ความเห็นเรื่องสังฆทาน

 
sucheep
วันที่  2 พ.ค. 2549
หมายเลข  1166
อ่าน  7,781

กระผมพบข้อความเกี่ยวกับการอธิบายเกี่ยวกับ สังฆทาน ดังข้อความข้างล่างครับข้อความมีดังนี้
ในปัจจุบันนี้ การทำบุญสังฆทาน ชาวพุทธเข้าใจผิดมานานกว่า 20 ปี โดยนำของใส่ถังแล้วไปถวายพระ 1 รูปบ้าง, 2 รูปบ้าง ซึ่งถือว่าเป็นการทำบุญสังฆทานที่ผิดได้บุญต่ำ บางครั้งแทบจะไม่ได้บุญเลย และแถมยังได้บาปอีกด้วย ถ้าเราถวายเงินแล้วพระรับกับมือหรือครอบครองเงินนั้นไว้กับตัว เพราะเราไปทำให้พระต้องอาบัติผิดศีล ถ้ายิ่งไปถวายสังฆทานตอนหลังเที่ยงยิ่งบาปหนักเข้าไปอีก เพราะฉะนั้น การทำบุญสังฆทานที่แท้จริง คือ การทำบุญสูงสุดด้านอาหาร โดยมีวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องดังนี้1. ต้องเป็นอาหารที่พระฉันได้ในเวลานั้น และต้องถวายก่อนเที่ยง ซึ่งมีลักษณะเหมือน กับ การที่เราถวายภัตตาหารเพลพระนั่นเอง (ส่วนของที่เป็นถังๆ หรือของอย่างอื่น เป็นได้แค่เพียงบริวารสังฆทานเท่านั้น) 2. ต้องกล่าวคำถวายสังฆทาน ดังนี้ อิมานิ มะยัง ภันเต ภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โณ ภัน เต ภิกขุสังโฆ อิมานิ ภัตตานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะฯ (ในหัตถบาสใช้ อิมานิ นอกหัตถบาสใช้ เอตานิ) หมายเหตุ ในคำกล่าวถวายนั้น ถ้าไม่มีคำว่า ภิกขุสังฆัสสะ ถือว่าการถวายนั้นไม่ไช่ การถวายสังฆทาน3. พระตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป จึงจะรับสังฆทานได้ (พระ 4 รูป เรียกว่า ครบสงฆ์) เพราะ คำว่า สังฆทานนั้นแปลว่า เป็นทานที่ถวายแด่สงฆ์ เป็นบุญสูงสุดด้านอาหาร ฉะนั้น พระ 1 รูป, 2 รูป, 3 รูป ไม่สามารถรับสังฆทานได้ เป็นบาป และถือว่าหลอกลวง เพราะไม่ไช่สงฆ์ เป็นแค่เพียงบุคคลเท่านั้น ต่อเมื่อพระครบ 4 รูปจึงถือว่าเป็นสงฆ์ เว้นเสียแต่เป็นพระอรหันต์ 1 องค์ก็สามารถรับสังฆทานได้ เพราะพระอรหันต์ 1 องค์ ถือว่าเป็นสงฆ์ ซึ่งชาวพุทธทั่วไปยังไม่เข้าใจว่า พระสงฆ์ แตกต่างจาก สมมติสงฆ์ อย่างไร และทำไมถึงเรียกว่า 1 รูปบ้าง 1 องค์บ้าง ขอให้ไปดูในรายละเอียด เรื่อง ไฟนรก 7 กอง (ดูหน้า…) เพื่อความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง4. จะต้องทำการ อุปโลกน์สังฆทาน หลังจากที่พระรับสังฆทานแล้ว พระรูปที่ 2 จะ ต้องทำการ อุปโลกน์ (คือ ประชุมสงฆ์ เพื่อทำการแบ่งปันอาหารที่ได้รับถวายมาตาม ลำดับจนถึงให้ญาติโยม) แต่ถ้าพระไม่ทำการอุปโลกน์ อาหารทุกชิ้นถือเป็นของสงฆ์ ทั้งสิ้น ญาติโยมจะไปกินไม่ได้เด็ดขาด ถึงแม้พระบางรูปจะบอกยกให้ก็ตาม ก็กินไม่ ได้เพราะถือว่าเป็นบุคคลให้ ไม่ใช่สงฆ์ให้ แม้แต่พระที่เป็นผู้รับสังฆทานเองกับมือ ก็ จะฉันไม่ได้ ถ้าผู้ใดก็ตามขืนไปกินเข้า เมื่อตายไปจะต้องเกิดเป็นเปรตประมาณ 92 กัลป์ (1 กัลป์ คือ 6,420 ล้านปี) แม้แต่สุนัขไปกิน มด แมลงไปกิน ก็ต้องเป็นเปรต เหมือนกัน ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่อันตรายอย่างมากของชาวพุทธที่ไม่รู้ธรรมะ คำอุปโลกน์สังฆทาน ยัคเฆ ภันเต สังโฆ ชานาตุ อะยัง ปะฐะมะภาโค มหาเถรัสสะ ปาปุณาติ อะวะเสสา ภาคา อัมหากัง ปาปุณันติ

นี่เพียงแค่เรื่องการทำบุญสังฆทานอย่างเดียว ผมก็เชื่อว่าชาวพุทธส่วนใหญ่คงยังไม่ทราบ และยังมีอีกเป็นร้อยเรื่องที่ชาวพุทธยังไม่รู้

คำถาม

ส่วนที่แสดงในข้างต้น สำหรับข้อ 3 และ 4 นั้น เคยได้ยินมาบ้าง แต่ไม่ทราบว่า มีความจำเป็นหรือไม่ครับ เพราะเท่าที่ศึกษากับทางมูลนิธิฯ จะเน้นเรื่องของสภาพจิต ในการให้และความเคารพในพระภิกษุสงฆ์ เทียบเท่ากับอริยสงฆ์ ถ้าเห็นว่าสามารถพอจะเผยแพร่ได้ ช่วยอนุเคราะห์ด้วยครับ ขอบพระคุณครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 2 พ.ค. 2549

ที่ยกมาทั้งหมดเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้นั้น

โปรดอ่านข้อความโดยตรงจากพระไตรปิฎก พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 407

เชิญคลิกอ่านที่... ทักขิณาที่ถวายสงฆ์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 19 มี.ค. 2550

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ICE.TU
วันที่ 20 มี.ค. 2550

"บุคคลใดได้สามเณร ผู้อุปสมบทแล้ว ภิกษุหนุ่ม หรือเถระ ผู้พาลหรือ บัณฑิตรูปใดรูปหนึ่งจากสงฆ์แล้ว ไม่สงสัย ย่อมอาจเพื่อทำความยำเกรงในสงฆ์ว่าเราจะถวายสงฆ์ ทักขิณาของบุคคลนั้นเป็นอัน ชื่อว่าถึงสงฆ์แล้ว."

จากพระสูตรและข้อความข้างต้นแสดงให้เห็นว่า สังฆทานมีองค์ประกอบที่สำคัญสองประการ คือ ...

1.) ผู้ให้มีเจตนาที่จะให้แก่สงฆ์ด้วยความเคารพ และ 2.) สามเณรหรือภิกษุอย่างน้อยหนึ่งรูปเป็นผู้รับ ใช่หรือเปล่าครับ

ส่วนองค์ประกอบอื่นๆ เช่น เวลา สถานที่ จำนวนพระภิกษุ คำสวดภาษาบาลี และองค์ประกอบภายนอกอื่นๆ มิได้เป็นสาระสำคัญของสังฆทานใช่หรือเปล่าครับ ผมสังเกตเห็นว่าสังฆทานเป็นเรื่องใกล้ตัวพุทธศาสนิกชนไทยมากทั้งยังมีงานเขียนจากบุคคลต่างๆ ให้ความเห็นเกี่ยวกับสังฆทานไว้อย่างหลากหลาย ประกอบกับมีประเพณีปฏิบัติประจำถิ่นที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละวัดทำให้ความเข้าใจและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับสังฆทานแปลกแยกกันออกไป ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่พุทธศาสนิกชนควรได้ศึกษาให้เข้าใจสังฆทานตรงตามที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ เพื่อประโยชน์ทั้งในทางโลกและทางธรรมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
study
วันที่ 20 มี.ค. 2550

ตามอรรถกถา จำนวนผู้รับ สถานที่ คำกล่าวถวาย ไม่เป็นประมาณ

แต่มีเจตนาถวายสงฆ์ เป็นสำคัญ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Sam
วันที่ 20 มี.ค. 2550

ผมขอถามต่อครับว่า การให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดกับคฤหัสถ์ที่เป็นพระอริยบุคคล

จะถือว่าเป็นสังฆทานได้บ้างหรือไม่

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
study
วันที่ 20 มี.ค. 2550
ถ้าให้กับพระอริยบุคคลที่เป็นคฤหัสถ์ไม่เป็นสังฆทานครับ แต่เป็นปาฏิบุคลิกทาน
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Sam
วันที่ 21 มี.ค. 2550
ขออนุโมทนา
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ICE.TU
วันที่ 4 พ.ค. 2550

แล้วถ้าให้กับคนหมู่มากที่ไม่ใช่พระสงฆ์ อย่างนี้เป็นทานอะไรครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
study
วันที่ 4 พ.ค. 2550

ถ้าให้ทานกับคนหมู่มากที่ไม่ใช่พระสงฆ์ ไม่เรียกว่าสังฆทาน

เป็นการใช้ทานแก่หมู่หรือคณะบุคคล

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ