ได้ยินแล้วคิด_ 15
ขอนอบน้อมแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ได้ยิน ท่าน อ สุจินต์ เคยแสดง
"ไม่พัก ไม่เพียร "
ได้ยินแล้วคิด
"ไม่พัก" อะไร อย่างไร...
" ไม่เพียร " อย่างไร อะไร...
ขออนุโมทนาในกุศลจิตทุกๆ ท่านค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 37 ว่าด้วยอำนาจกิเลส เมื่อบุคคลพักอยู่ ชื่อว่า ย่อมจม.ว่าด้วยอำนาจอภิสังขาร (เจตนาที่ทำกุศลหรืออกุศล) เมื่อบุคคลเพียร ชื่อว่า ย่อมลอย.
ว่าด้วยอำนาจแห่งตัณหา เมื่อบุคคลพักอยู่ ชื่อว่า ย่อมจม. ว่าด้วยอำนาจ แห่งทิฏฐิ เมื่อบุคคลเพียร ชื่อว่า ย่อมลอย. ว่าด้วยสัสสตทิฏฐิ (ความเห็นว่าเที่ยง) เมื่อบุคคลพักอยู่ ชื่อว่า ย่อมจม. ว่าด้วยอุจเฉททิฏฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ) เมื่อบุคคลเพียรชื่อว่า ย่อมลอย
ว่าด้วยกามสุขัลลิกานุโยค เมื่อบุคคลพักอยู่ ชื่อว่า ย่อมจม.ว่าด้วยอัตตกิลมถา- นุโยค เมื่อเพียรชื่อว่า ย่อมลอย.
ขณะที่พักด้วยอกุศลชื่อว่าจม ขณะที่เพียรทำกุศลเป็นไปในวัฏฏะชื่อว่าลอยขณะที่ยินดีติดข้อง ชื่อว่าจม ขณะที่เห็นผิด เข้าใจหนทางผิดชื่อว่าลอยขณะที่อยากต้องการสติ อยากรู้มากๆ ชื่อว่าจม ขณะที่เพียรในหนทางผิดชื่อว่าลอยพักอยู่ด้วยกิเลส เพียรอยู่ด้วยความเห็นผิด เข้าใจข้อปฏิบัติผิด
ไม่พัก ไม่เพียร คือ รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา
สติปัฏฐานหรืออริยมรรคนั่นเองคือไม่พัก ไม่เพียร
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขอนอบน้อมแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เรียน K paderm ค่ะ
"จม" อะไรจม จมอย่างไร...
"ลอย" ลอยอย่างไร อะไรลอย...
ขออนุโมทนา K praderm ค่ะ
ขออนุโมทนาในกุศลจิตทุกๆ ท่านค่ะ
"ไม่พัก ไม่เพียร "
ได้ยินแล้วคิด............
"ไม่พัก" คือการไม่จมอยู่กับกิเลสอกุศลต่างๆ เช่น ความติดข้อง ความเพลิดเพลินยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ความเห็นผิด....
" ไม่เพียร " คือการไม่มีเจตนาที่จะกระทำกุศลต่างๆ ที่เป็นปัจจัยให้ต้อง
วนเวียนอยู่ในสังสารวัฏฏ์ต่อไปอีก..... หรือการไม่ประพฤติปฏิบัติในหน
ทางที่ผิด..........
เพราะฉะนั้นการ ไม่พัก ไม่เพียร ก็คือการอบรมเจริญปัญญาจนกว่าสติ-
ปัฏฐานเกิดรู้ลักษณะสภาพธรรมตรงตามความเป็นจริง จนกว่าจะดับ
กิเลสหมดสิ้นเป็นสมุจเฉทไม่ต้องวนเวียนอยู่ในวัฏฏ์สงสารอีกต่อไป
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น โอฆะ เป็นกิเลสดุจห้วงน้ำใหญ่ ที่ท่วมทับหมู่สัตว์อยู่ตลอดเวลา อีกทั้งยังพัดพาให้ไปเกิดในภพน้อยภพใหญ่ ไม่ให้ถึงฝั่งคือพระนิพพาน ไม่ให้ถึงการดับกิเลสได้อย่างเด็ดขาด โดยสภาพธรรมของกิเลสที่เป็นดุจห้วงน้ำใหญ่ นั้น ไม่พ้นไปจาก โลภะความติดข้องยินดี พอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ซึ่งมีเป็นปกติในชีวิตประจำ-วัน (รวมถึงความยินดีในภพ ความยินดีในขันธ์ด้วย) นอกจากนั้นก็ยังมีทิฏฐิ ซึ่งเป็นความเห็นผิด และอวิชชา ความไม่รู้ในลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง การศึกษาพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง ที่ขาดไม่ได้เลยนั้น คือ จะต้องเป็นผู้มีความละเอียด รอบคอบ และที่สำคัญคือต้องมีความเข้าใจในอรรถที่พระองค์ทรงมุ่งหมายในแต่ละแห่งๆ ด้วย อย่างในที่นี้ ที่พระองค์ทรงแสดงว่า ไม่พัก ไม่เพียร จึงข้ามโอฆะ ได้นั้น กล่าวคือ ไม่พักอยู่ด้วยอกุศล ไม่พักอยู่ด้วยความติดข้องยินดีพอใจ อีกทั้งไม่เพียร ด้วยการประพฤติปฏิบัติที่ผิด ไม่เพียรด้วยความเห็นผิด ซึ่งไม่เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของปัญญา หรือแม้แต่ความเพียรที่เป็นไปในกุศลที่ยังเป็นไปในวัฏฏะ ก็ไม่ทำให้ออกไปจากวัฏฏะ ได้ เป็นต้น จึงข้ามโอฆะได้ ไม่เป็นผู้จม ไม่เป็นผู้ลอยอีกต่อไป เพราะการจม และการลอย แสดงถึงความเป็นผู้ยังข้ามห้วงน้ำคือกิเลสยัง-ไม่ได้ บุคคลผู้ที่จะข้ามกิเลสดุจห้วงน้ำใหญ่ได้อย่างเด็ดขาดนั้น ต้องถึงความเป็นพระอรหันต์ ดังนั้น จึงไม่มีทางอื่นที่จะทำให้เป็นผู้หมดจดจากกิเลส ไม่จมลงอยู่ในกิเลสดุจห้วงน้ำใหญ่อีกต่อไป นอกจากการอบรมเจริญปัญญา เพื่อเข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง เพราะนอกจากปัญญาแล้วไม่มีสิ่งอื่นใดที่จะมาดับกิเลสได้เลย เพราะฉะนั้นจึงควรที่จะเป็นผู้เห็นประโยชน์สูงสุดของปัญญา ซึ่งต้องเริ่มอบรมเจริญจากการศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม ในชีวิตประจำวัน สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปตามลำดับครับ ..
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขออนุโมทนาค่ะ...ได้อ่านแล้วคิดว่า
ไม่พัก...ไม่เพียรคือ ขณะที่ สติ ระลึกตรงลักษณะของสภาพธรรมและ ปัญญา รู้จักสภาพธรรมตามความเป็นจริงว่า
สภาพธรรมทั้งหลาย เกิดดับจึงเป็นทุกข์และเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย จึงบังคับบัญชาไม่ได้.
จึงมีประโยคที่ว่าทุกอย่างเป็น ธรรมะ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ฯ
ถูกต้องหรือเปล่าคะ...?
ไม่พักไม่เพียร คือ ทางสายกลาง หรือที่เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา ซึ่งได้แก่ การเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘
....
เชิญคลิกอ่าน...
ไม่พักไม่เพียร เราไม่พักอยู่ ไม่เพียรอยู่ ข้ามโอฆะได้แล้ว [โอฆตรณสูตร]
ขอนอบน้อมแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เรียน K paderm ค่ะ
"จม" อะไรจม จมอย่างไร...
"ลอย" ลอยอย่างไร อะไรลอย...
ขออนุโมทนา K praderm ค่ะ
ขออนุโมทนาในกุศลจิตทุกๆ ท่านค่ะ
จมด้วยอำนาจกิเลสและลอยด้วยความเห็นผิด เป็นต้น
สติปัฏฐานคือหนทางที่ไม่พักไม่เพียร
ระลึกสภาพธรรมที่มีในขณะนี้
จนสามารถถึงฝั่งข้ามโอฆะคือห้วงน้ำใหญ่
คือการดับกิเลสหมด
จึงไม่จม ไม่ลอยครับ
เพราะถึงฝั่งคือพระนิพพาน
ขออนุโมทนาในความละเอียดของคุณ Khaeota และขอบคุณสำหรับการอธิบายของอาจารย์ ประเชิญ (หลังไมค์)
อนุโมทนา