เรียกสัจจานุโลมิกญาณ ก็เพราะคล้อยตามสัจจะ ๔ [วิภังค์]

 
JANYAPINPARD
วันที่  19 มี.ค. 2552
หมายเลข  11677
อ่าน  2,352

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 650

คำว่า สจฺจานุโลมิกํ วา (แปลว่า สัจจานุโลมิกญาณ) ได้แก่วิปัสสนาญาณ. จริงอยู่ วิปัสสนาญาณนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า สัจจานุโลมิกญาณ ก็เพราะคล้อยตามสัจจะ ๔. บัดนี้ เพื่อแสดงซึ่งอาการ คือความเป็นไปแห่งสัจจานุโลมิกญาณที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า รูปํ อนิจฺจนฺติ วา เป็นอาทินั้น (แปลว่า รูปไม่เที่ยง) . ก็รูปมีความไม่เที่ยงเป็นลักษณะนั่นแหละ มาแล้วในข้อว่ารูปํ อนิจฺจํ นี้ มิใช่มีทุกข์เป็นลักษณะ หรือมีอนัตตะเป็นลักษณะ. แต่พึงทราบว่าเมื่อว่าโดยอำนาจแห่งอรรถ (เนื้อความ) แล้ว สภาวะเหล่านั้นพึงเป็นอย่างเดียวกัน เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ยญฺหิ อนิจฺจํ ตํ ทุกฺขํ ยํ ทกฺขํ ตํ อนตฺตา (แปลว่า สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา) ดังนี้. คำว่า ยํ เอวรูปึ (แปลว่า อันใด ซึ่งมีลักษณะอย่างนั้น) ได้แก่ญาณใด เป็นสภาวะอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอธิบายไว้ตอนหลังอย่างนี้ญาณนั้น ชื่อว่า อนุโลมิกญาณ. คำว่า ขนฺตึ เป็นต้น เป็นไวพจน์ของ ปัญญา ทั้งนั้น. จริงอยู่ปัญญา นั้น ชื่อว่า อนุโลมิกะ เพราะอรรถว่า ย่อมอนุโลม (คือ คล้อยตาม) ซึ่งเหตุอันเป็นการกระทำ ๕ อย่าง มีบ่อเกิดแห่งการงานเป็นต้นที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในหนหลัง โดยการเห็นซึ่งธรรมอันไม่เป็นข้าศึก ดังนี้. อนึ่ง ปัญญา ชื่อว่า อนุโลมิกะ เพราะอรรถว่า ย่อมคล้อยตามประโยชน์แห่งสัตว์ทั้งหลาย ดังนี้ด้วย ย่อมคล้อยตามมัคค-สัจจะดังนี้ด้วย ย่อมคล้อยตาม เพราะการคล้อยตามพระนิพพานอันเป็นปรมัตถสัจจะ ดังนี้ก็ได้. ญาณใด ย่อมอดทน ย่อมสามารถ ย่อมอาจเพื่อเห็นซึ่งเหตุเป็นที่กระทำ (การณะ๑) แม้ทั้งหมดเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ญาณนั้น จึงชื่อว่า ขันติ. คำว่า ปสฺสติ ได้แก่ ทิฏฐิญาณ. คำว่า โรเจติ ได้แก่ รุจิญาณ. คำว่า มุจติ ได้แก่ มุติญาณ. พระบาลีว่า มุทตีติ มุทีติ ชื่อว่ามุติญาณ ดังนี้ก็มี. คำว่า เปกฺขติ ชื่อว่า เปกขญาณ. ธรรมทั้งหลายมีบ่อเกิดแห่งการงานเป็นต้นแม้ทั้งหมดเหล่านั้น ย่อมเข้าไปประจักษ์แจ้งแก่ญาณนั้น จึงชื่อว่า ธัมมนิชฌานขันติญาณ. อนึ่ง เมื่อว่าโดยพิเศษธรรมทั้งหลายกล่าวคือ ขันธ์ ๕ เมื่อเข้าไปเพ่งพิจารณา ย่อมให้ประจักษ์แจ้งด้วยสามารถแห่งความเป็นสิ่งไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาบ่อยๆ เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า ธัมมนิชฌานขันติญาณ.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
สามา
วันที่ 7 เม.ย. 2554

สาธุๆ ๆ ค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ