ลักษณะห้ามภัต [มหาวิภังค์]

 
JANYAPINPARD
วันที่  19 มี.ค. 2552
หมายเลข  11688
อ่าน  1,159

[เล่มที่ 4] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ หน้าที่ ๕๐๑

ลักษณะห้ามภัต ที่ชื่อว่า ห้ามภัตแล้วคือ กำลังฉันอาหารอยู่ ๑ ทายกนำโภชนะมาถวายอีก ๑ ทายกอยู่ในหัตถบาส ๑ ทายกน้อมถวาย ๑ ภิกษุห้ามเสีย ๑.

[เล่มที่ 4] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ หน้าที่ ๕๐๔

เพราะบรรดาองค์ ๕ นั้น ด้วยองค์ว่า อสนํ ปญฺญายติ นี้ ภิกษุผู้ฉันค้างอยู่จึงเป็นอันเรียกว่า ผู้ห้ามภัต, ส่วนภิกษุใด ชื่อว่าผู้ฉันค้างอยู่, โภชนะบางอย่างภิกษุนั้นฉันแล้ว บางอย่างยังไม่ได้ฉัน และเพราะหมายเอาโภชนะที่เธอฉันแล้ว จึงถึงการนับว่า ผู้ฉันเสร็จ ;

เพราะฉะนั้น ด้วยคำว่าภุตฺตาวี เราจึงไม่เห็นความสำเร็จประโยชน์อะไรแผนกหนึ่ง. ก็คำว่า ภุตฺตาวีนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว โดยความเป็นบทบริวารแห่งบทว่า ปวาริตะ และโดยความเป็นพยัญชนะสละสลวย ดุจคำว่า ๒ คืน เป็นต้น ในคำว่า ๒ - ๓ คืน. . .๖ คำ ๕ คำ. . .เป็นต้น.

ในองค์ว่า อสนํ ปญฺญายติ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้.

การฉันค้างปรากฏ, อธิบายว่า ถ้าบุคคลผู้กำลังฉันนี้อยู่.

องค์ว่า โภชนํ ปญฺญายติ ได้แก่ โภชนะเพียงพอแก่การห้ามปรากฏอยู่ อธิบายว่า ถ้าโภชนะมีข้าวสุก เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งที่จะพึงห้ามมีอยู่.

องค์ว่า หตฺถปาเส ฐิโต มีความว่า หากทายกถือเอาโภชนะเพียงพอแก่การห้ามอยู่ในโอกาสประมาณ ๒ ศอกคืบ.

องค์ว่า อภิหรติ มีความว่า ถ้าทายกนั้น น้อมภัตนั้นถวายแก่ภิกษุนั้น ด้วยกาย.

องค์ว่า ปฏิกฺเขโป ปญฺญายติ คือการห้ามปรากฏ. อธิบายว่าถ้าภิกษุนั้นปฎิเสธโภชนะที่เขาน้อมถวายนั้น ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี. ภิกษุย่อมเป็นผู้ชื่อว่าห้ามภัตแล้

ด้วยอำนาจแห่งองค์ ๕ ด้วยประการอย่างนี้แล.


เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ