กรรมเป็นสภาพที่ปกปิด
ได้ฟังรายการบ้านธัมมะทางทีวีช่อง ๑๑ เช้าวันพุธที่ ๓ พค.นี้ ท่านอาจารย์ได้กล่าวถึง"กรรมเป็นสภาพที่ปกปิด" ยังไม่ค่อยเข้าใจชัดเจน ขอความกรุณาช่วยขยายความค่ะ และขอข้อความจากพระไตรปิฏกด้วยค่ะ ถ้ามี ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงค่ะ
กรรม คือ การกระทำ เมื่อทำสำเร็จย่อมรอส่งผลเมื่อได้โอกาส กรรมเป็นนามธรรม ไม่ปรากฏให้เห็นเหมือนรูป กรรมที่ทำไปแล้วมีมากมาย แต่กรรมไหนจะให้ผล เมื่อไหร่ เราไม่ทราบ จึงกล่าวว่าปกปิด ตัวอย่างในพระไตรปิฎกมีเท่าที่ค้นพบดังนี้
[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒- หน้าที่ 350
สูตรที่ ๕ ว่าด้วยคติ ๒ อย่างของผู้มีการงานลามกและไม่ลามก
[๒๗๐] ๒๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คติ ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง อันผู้มีการงานลามกพึงหวังได้ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คติ ๒ อย่าง คือเทวดาหรือมนุษย์อย่างใดอย่างหนึ่งอันผู้มีการงานไม่ลามกพึงหวังได้
จบสูตรที่ ๕
ในสูตรที่ ๖ (บาลีข้อ ๒๗๑) มีวินิจฉัยดัง
บทว่า ปฏิจฺฉนฺนกมฺมนฺตสฺส ได้แก่ ผู้มีการกระทำอันเป็นบาป เพราะคนทั้งหลายย่อมทำบาปโดยอาการปกปิด แม้หากทำโดยอาการไม่ปกปิด บาปกรรมก็ได้ชื่อว่า กรรมอันปกปิดอยู่นั่นเอง
บทว่า ปกปิด บาปกรรมก็ได้ชื่อว่า กรรมอันปกปิดอยู่นั่นเอง
บทว่า นิรโย ได้แก่ ขันธ์พร้อมทั้งโอกาส และขันธ์ในกำเนิดดิรัจฉาน.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๖
[เล่มที่ 64] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓- หน้าที่ 264
เชิญคลิกอ่านที่...