ตถตา แปลว่าความเป็นจริงอย่างนั้น [ปัจจยาการ]

 
เมตตา
วันที่  22 มี.ค. 2552
หมายเลข  11724
อ่าน  2,714

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 99

บทว่า ตถตา เป็นอาทิ เป็นไวพจน์ของปัจจยาการนั่นแล. ปัจจยาการ นั้น ท่านกล่าวว่าตถตา (ความเป็นจริงอย่างนั้น) เพราะธรรมนั้นๆ เกิดขึ้น โดยปัจจัยเหล่านั้นไม่ยิ่งไม่หย่อนกว่ากัน เรียกว่า อวิตถตา เพราะเมื่อปัจจัย เข้าถึงสามัคคี ธรรมทั้งหลายที่เกิดจากปัจจัยนั้น เพียงครู่เดียว ก็ไม่เกิดขึ้น.เรียกว่า อนญฺตถตา เพราะธรรมอื่นไม่เกิดจากปัจจัย ธรรมอื่น เรียกว่า อิทปฺปจฺจยตา เพราะเป็นปัจจัย หรือเป็นที่ประชุมปัจจัยแห่งชราและมรณะ เป็นต้น ในข้อนี้ มีเนื้อความเฉพาะคำดังต่อไปนี้ :- ปัจจัยแห่งธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อิทปฺปจฺจยา อิทปฺปจฺจยา นั่นแล ชื่อว่า อิทปฺปจฺจยตา อีกอย่างหนึ่ง ที่รวมแห่ง อิทปฺปจฺจยา ชื่อว่า อิทปฺปจฺจยตา ก็ลักษณะในคำว่า อิทปฺปจฺจยตา นี้ พึงทราบจากคัมภีร์ศัพทศาสตร์.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
เมตตา
วันที่ 22 มี.ค. 2552

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 657

ปฏิจจสมุปบาทนี้นั้น ท่านกล่าวว่า ตถตา ความจริงแท้ เพราะ ธรรมนั้นๆ เกิดโดยไม่หย่อนไม่ยิ่งด้วยปัจจัยนั้นๆ ท่านกล่าว อวิตถตา - ความแน่นอน เพราะไม่มี ความไม่เกิดแห่งธรรมที่เกิดจากธรรมนั้น แม้ครู่เดียวในปัจจัยที่เข้าถึงความพร้อมเพรียง ท่านกล่าวว่า อนญฺตถตา - ความไม่เป็นอย่างอื่น เพราะไม่มีธรรมอื่นเกิดขึ้นด้วยปัจจัยแห่งธรรมอื่น ท่านกล่าวว่า อิทปฺปจฺจยตา - ความเป็นปัจจัยแห่งธรรมนี้ เพราะเป็นปัจจัยแก่ชราและมรณะเป็นต้นเหล่านั้น หรือเพราะเป็นที่รวมปัจจัย ในบทนั้น มีอธิบายดังต่อไปนี้ ปัจจัยแห่งธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อิทปฺปจฺจยา อิทปฺปจฺจยานั้นแล ชื่อว่า อิทปฺปจฺจยตา อีกอย่างหนึ่ง

การรวม อิทปฺปจฺจยา ทั้งหลาย ชื่อว่า อิทปฺปจฺจยตา แต่ในที่นี้พึงทราบลักษณะโดยอรรถแห่งศัพท์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 9 ม.ค. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ