สัญญาสองประการ

 
คนบ้านนอก
วันที่  23 มี.ค. 2552
หมายเลข  11730
อ่าน  3,320
ขอความกรุณาจากผู้รู้ อธิบายสัญญาสองประการ คือรูปสัญญาและนามสัญญาเพื่อเป็น

แนวทางในการอบรมเจริญปัญญาครับ กราบขอบพระคุณผู้ชี้ทางล่วงหน้าครับ

  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 24 มี.ค. 2552
โดยทั่วๆ ไปสัญญาหมายถึงความจำได้หมายรู้ ถ้าจำในรูป ชื่อว่ารูปสัญญา จำในนามชื่อว่า นามสัญญา แต่ในบางแห่ง คำว่ารูปสัญญา ที่มาในคำที่ว่า ก้าวล่วงรูปสัญญา...หมายถึง รูปฌาน ฌานที่มีรูปเป็นอารมณ์ ผู้ที่จะเจริญฌานระดับอรูปฌานต้องก้าวล่วงรูปสัญญาจึงเข้าถึงอรูปฌานได้ เช่น พระบาลีว่า ...ภิกษุเข้าถึงอากาสานัญจายตนะว่า อากาสไม่มีที่สุดดังนี้ เพราะความก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา..... แต่รูปสัญญาทั่วไป เช่นคำว่า รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้....สรุปคือเป็นเรื่องของศัพท์และพยัญชนะ แต่ตัวสภาพของสัญญาจริงๆ เกิดกับจิตทุกขณะครับ..
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
คนบ้านนอก
วันที่ 24 มี.ค. 2552

อ้างอิงจาก : หัวข้อ 11730 โดย คนบ้านนอก ขอความกรุณาจากผู้รู้ อธิบายสัญญาสองประการ คือรูปสัญญาและนามสัญญาเพื่อเป็นแนวทางในการอบรมเจริญปัญญาครับ กราบขอบพระคุณผู้ชี้ทางล่วงหน้าครับ


กราบขอบพระคุณอย่างยิ่งครับ แต่ด้วยปัญญาอันน้อยจึงไม่แทงตลอด จึงขอความกระจ่าง เกี่ยวกับลักษณะที่ปรากฎของรูปสัญญา-นามสัญญาที่เกิดกับจิตทุกดวง ขอความกรุณาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
prachern.s
วันที่ 24 มี.ค. 2552

ในชีวิตประจำวันรูปสัญญามีในขณะที่จิตมีรูปเป็นอารมณ์ ขณะนั้นสัญญาก็จำในรูป

ในขณะที่จิตมีนามเป็นอารมณ์ ขณะนั้นสัญญาที่เกิดร่วมด้วยก็จำในนามที่เป็นอารมณ์

นั้น แต่จริงๆ แล้วปัญญาระดับเรายังไม่สามารถรู้ในสัญญาได้..

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
คนบ้านนอก
วันที่ 25 มี.ค. 2552

อ้างอิงจาก : หัวข้อ 11730 ความคิดเห็นที่ 4 โดย prachern.s

ในชีวิตประจำวันรูปสัญญามีในขณะที่จิตมีรูปเป็นอารมณ์ ขณะนั้นสัญญาก็จำในรูป

ในขณะที่จิตมีนามเป็นอารมณ์ ขณะนั้นสัญญาที่เกิดร่วมด้วยก็จำในนามที่เป็นอารมณ์

นั้น แต่จริงๆ แล้วปัญญาระดับเรายังไม่สามารถรู้ในสัญญาได้..


กราบอนุโมทนาครับ ทุกขณะจิตจะมีสัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วยและัสัญญาเจตสิกเกิดขึ้นทำกิจการงานคือจดจำอารมณของจิตที่เป็นไปในรูป-นาม แต่ด้วยความไม่รู้จึงเห็นว่า (รูป-นาม) ไม่ดับ ความเข้าใจเช่นนี้เป็นความเข้าใจถูกหรือผิดครับขอความกรุณาช่วยสงเคราะห์ด้วยครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
prachern.s
วันที่ 25 มี.ค. 2552
เพราะความไม่รู้และกิเลสอื่นๆ สัญญาจึงจำผิด คลาดเคลื่อน สัญญาวิปปลาส

เพราะสัญญาวิปปลาสจึงไม่เห็นตามเป็นจริง..
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
paderm
วันที่ 25 มี.ค. 2552
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
คนบ้านนอก
วันที่ 26 มี.ค. 2552
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 11730 ความคิดเห็นที่ 6 โดย prachern.sเพราะความไม่รู้และกิเลสอื่นๆ สัญญาจึงจำผิด คลาดเคลื่อน สัญญาวิปปลาส เพราะสัญญาวิปปลาสจึงไม่เห็นตามเป็นจริง..

กราบอนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
คนบ้านนอก
วันที่ 26 มี.ค. 2552

ในขณะที่สติเกิดระลึกรู้สภาพธรรมะตามความเป็นจริง ความรู้สึกนั้นเหมือนหลุดออกจากความเป็นทาส รู้ว่าเป็นแต่สภาพธรรมะแต่ละอย่างๆ เกิดขึ้นแต่ละทางๆ แม้แต่ความรู้สึกว่าเหมือนหลุดจากความเป็นทาสก็เป็นเพียงธรรมารมณ์ทางใจ แต่เมื่อหลงลืมสติ็ก็ไมอาจทราบได้ว่าสติหายไปเมื่อไหร่และนานแค่ไหน บางครั้งหลงลืมสติเพลิดเพลินไปกับสิ่งต่างๆ นานเป็นวันๆ แต่เมื่อสติเกิดอีกครั้ง และระลึกรู้ถึงความเป็นอนัตตาว่าไม่เป็นไปตามใจหวัง อยากให้สติเกิดตลอดหรือนานๆ ก็ไม่ดังใจหวัง แต่จะเป็นไปตามเหตุ-ปัจจัย ขณะที่ระลึกได้ดังนี้เป็นการเห็นถูกหรือไม่ครับ ขอความกรุณา แจงเหตุปัจจัยหรือแนวทางที่จะละคายความเห็นผิดเพื่อเป็นแนวทางครับ

ขอบพระคุณอย่างยิ่งครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
prachern.s
วันที่ 26 มี.ค. 2552

แนวทางเพื่อการละคลายความเห็นผิดก็คือ การฟังพระธรรมให้ค่อยๆ เข้าใจมากขึ้นสำหรับเรื่องสติยังไม่ต้องกังวลก่อนนะครับ ขอให้ค่อยๆ เข้าใจมากยิ่งขึ้น เพราะขณะนั้นก็มีสติเกิดร่วมด้วยสัมมาทิฏฐิก็ค่อยๆ มีกำลังมากขึ้น และการจะละคลาย

ความเห็นผิดขึ้นอยู่ที่ปัญญาครับ ถ้าปัญญาคมกล้ามากยิ่งขึ้น ความเห็นผิดย่อมจะค่อยๆ ลดลงตามกำลังปัญญา....

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
คนบ้านนอก
วันที่ 27 มี.ค. 2552
กราบอนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
choonj
วันที่ 27 มี.ค. 2552

สติทำหน้าที่ระลึก จะให้เกิดก็ไม่เกิด เมื่อจะเกิดจู่ๆ ก็เกิดตามปัจัย การฟังธรรมจนสัญญาจำได้ว่านี่คือรูปนี่คือนาม เป็นปัจจัยให้สติเกิด ยากให้สติเกิดจึงฟังธรรมมากๆ แต่สติก็ไม่เกิด เพราะคำว่ายาก การฟังธรรมแล้วเข้าใจว่าเป็นธรรม เป็นแค่รูปและนาม ในขณะนั้นสัญญาจำจึงเป็นเหตุใกลให้สติเกิดได้ ครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
คนบ้านนอก
วันที่ 2 เม.ย. 2552
กราบอนุโมทนาครับ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ