กาล...ที่กรรมจะให้ผล (๔)

 
พุทธรักษา
วันที่  25 มี.ค. 2552
หมายเลข  11751
อ่าน  900

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

คุณอรวรรณ เพราะฉะนั้น ในการศึกษาพระธรรมเมื่อเข้าใจ เรื่อง วิถีจิต ยกตัวอย่าง ว่า ถ้าเป็น ภวังคจิต เป็น ชาติวิบากก็เป็น ผลของกรรม แล้วพอ วิถีจิต เกิดก็จะเป็นเรื่อง การรับผลของกรรมและจะเป็น การสะสม กุศลจิต และ อกุศลจิตไปในภายภาคหน้า

ท่านอาจารย์ เป็นเรื่องของ "ปัญญา" ที่พอจะรู้ได้ ว่า ขณะไหน เป็น วิบากจิต ขณะไหน เป็น กุศลจิต หรือ อกุศลจิต แต่ ที่จะรู้ ความเป็น กิริยาจิต และ วิบากจิตซึ่งเกิดดับ สืบต่อกัน อย่างรวดเร็ว คงยาก เพราะฉะนั้น ขณะนี้ มี เห็น จะรู้ไหม ว่า ก่อน เห็น มีจิตเกิดแล้วเป็น จิต ที่เรียกว่า "อาวัชชนจิต"

อาวัชชนจิต ที่เกิดขึ้น ทางหนึ่งทางใด ในปัญจทวาร ก็รวมเรียก ว่า "ปัญจทวาราวัชชนจิต"แต่ ถ้าเป็น ทางใจ คือ ทางมโนทวาร เช่น เมื่อมี การคิดนึก เกิดขึ้น นั้นขณะนั้น กุศลจิต และ อกุศลจิต ยังไม่เกิด แต่จะต้องมี จิต ซึ่งเป็น "ชวนปฏิปาทกะ" เป็น เบื้องต้น คือ เป็น แดนเกิด. เรียกว่า "มโนทวาราวัชชนจิต" เกิดก่อนแล้ว อกุศลจิต หรือ กุศลจิต ทั้งหลายจึงจะสามารถเกิดต่อได้

นี่แสดงให้เห็นว่า การที่เรา สามารถจะรู้ "ธรรม" ได้ตามกำลัง ของปัญญา นั้นคือ ในขณะนี้ ที่กำลังเห็นก็รู้ได้ ว่า เป็นผลของกรรม แค่นี้เอง.!จะให้ไปรู้ สัมปฏิจฉันนจิต สันตีรณจิต โวฏฐัพพนจิต ก็เป็นไปไม่ได้ แต่ เมื่อ เห็น แล้วรู้ว่าเป็น กุศลจิต หรือ เป็น อกุศลจิตก็พอที่จะรู้ได้ เพราะฉะนั้น "ปัญญา" สามารถเพียงที่จะรู้ได้

ด้วยเหตุนี้ในพระสูตร ก็ได้กล่าว เพียงแค่ ว่า ผู้ฟัง ในขณะนั้น สามารถจะรู้ได้ และ ไม่มีการกล่าวถึง ปัญจทวาราวัชชนจิต สัมปฏิจฉันนจิต สันตีรณจิต โวฏฐัพพนจิต เช่น เวลาที่ทรงแสดงธรรม กับ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี พระองค์ไม่ได้ทรงกล่าว อย่างนี้ แต่ทรงแสดง "ธรรม" เพื่อให้เข้าใจ "ธรรม"ตามความเป็นจริง

ตามความเป็นจริงแล้วเมื่อเรากล่าวคำว่า อกุศลธรรม คือ สิ่งที่ไม่ดีงามแล้ว เห็นจริงๆ อย่างนั้น หรือเปล่า ว่า อกุศลธรรม ไม่ดีงามชื่อก็บอก จำก็ได้ แล้วก็รู้ด้วย ว่า มีอะไรบ้าง ที่เป็น อกุศลธรรม เช่น โลภะ โทสะ โมหะ เป็นอกุศล. ธรรมเหล่านี้ มีจริงหรือเปล่า ลองคิดถึงความจริง ถ้าเพียงไม่ติดข้องในสิ่งใดๆ ทั้งสิ้นจะสบายไหม หมดเรื่องเลย ใช่ไหม แต่ที่ ดิ้นรน เดือดร้อน อยู่นี่เพราะ มี "ฉันทะ" เป็น "แดนเกิด"

วันนี้ ทั้งวัน หรือ วันก่อนๆ วันไหนๆ ก็ตาม ไม่ว่าจะทำอะไร จะไปไหน ก็เพราะ ฉันทะ มีฉันทะที่สะสม ความพอใจ ที่จะเป็นอย่างนั้น ที่จะกระทำ อย่างนั้น ที่จะเห็น อย่างนั้นที่จะคิด อย่างนั้น ที่จะเป็น โลภะ อย่างนั้นที่จะเป็น โทสะ อย่างนั้น นั่นคือ เราไม่ได้เข้าใจ สภาพธรรม ตามความเป็นจริงไม่เข้าใจ สภาพธรรม ตามความเป็นจริง แต่ละอย่างๆ ว่า ธรรม แต่ละอย่างๆ นั้น เป็นเหตุเป็นปัจจัยอย่างไร แต่ถ้าหากมีการ "พิจารณา" จริงๆ ก็จะเห็นได้นะคะ ว่า แม้แต่ "วิริยะ" คือ ความเพียรถ้าไม่มี ฉันทะ ที่จะเพียรทำ อย่างนั้น จะทำไหม ด้วยเหตุนี้ทั้งวัน ก็ยังไม่เคยรู้ ว่า เป็นไปตาม ฉันทะ ของแต่ละคนซึ่ง ไม่เหมือนกันเลย.!แม้เป็นพี่ เป็นน้อง เป็นเพื่อนฝูง ก็ตามแต่ ฉันทะ นั้น คนละอย่างๆ

แต่ละท่าน ที่นั่งอยู่ในที่นี้ ก็มี ฉันทะ ที่จะฟังพระธรรมแต่ พี่น้อง เพื่อนฝูง มี ฉันทะ ในอะไร มี ฉันทะ ที่จะไปทำอะไร เล่นกอล์ฟ ฟังวิทยุ เล่นดนตรี ฯลฯก็แล้วแต่ ฉันทะ ทั้งหมด ที่ทำให้ เป็นไป ตามการสะสม ของแต่ละคน ในวันหนึ่งๆ เพราะฉะนั้น จึงเห็นสภาพธรรม ตามความเป็นจริง ว่าฉันทะ เป็น อกุศล ก็ได้ ฉันทะ เป็นกุศล ก็ได้ อกุศล ก็เป็น อกุศลแม้แต่ โลภะ ความพอใจ ติดข้อง มากหรือน้อย ถ้าโลภะมาก อยากได้ไหม แสวงหาไหม รักษาไว้อย่างดีหรือเปล่า ถ้าสูญหายไป จะเป็นทุกข์มากไหม เป็น ความติดข้อง ทั้งหมด ทั้งทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และ ทางใจ.แล้วยังมี ความติดข้อง พอใจ ในสัตว์ บุคคล ตัวตนและ ในความเป็นเรา อีก

เพราะฉะนั้น เดือดร้อน ไหม เกิดมานี่ วุ่นวายจริงๆ ด้วยความติดข้องถ้าไม่มีความติดข้อง ตามมี ตามได้จริงๆ จะเดือดร้อนไหม เพราะว่า ไม่ว่า ใครก็ตามที่จะได้อะไร จะเห็นอะไร จะได้ยินอะไร ก็ตามแต่จะสามารถได้ ตามใจปรารถนา เกินกว่า "เหตุ" ที่ได้กระทำไว้ ได้ไหม ก็เป็นไปไม่ได้ เพราะว่า ผล ต้องควรแก่ เหตุที่ได้กระทำแล้ว เพราะฉะนั้น แม้แต่ การที่จะเห็น การที่จะได้ยิน ฯในแต่ละวันๆ ก็ต่างกันไป.บางวัน อาจจะคิดหวัง ที่จะได้รับประทานอาหารอร่อยแต่ก็ ตามมี ตามได้.ซึ่งก็ แล้วแต่ว่า ขณะนั้น มีปัจจัยที่ทำให้ จิต เกิดขึ้น และ ลิ้มรสอะไร ซึ่งใคร ก็เลือกไม่ได้

ถ้าหากมีความเข้าใจ "ธรรมะ" จริงๆ ก็จะค่อยๆ ถึง ความเป็น ผู้ไม่มี โลภะ ดีไหมคะ แต่ต้องเห็นจริงๆ ว่า โลภะ เป็นโทษ เป็นความติดข้องและ เพียงแค่ไม่ติดข้อง ก็ไม่เดือดร้อน แต่ก็ไม่รู้ตัวเลย ว่า ตั้งแต่เกิดมา ติดข้องในอะไรบ้าง ติดข้องใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ ในความเป็น "เรา" มีความเห็นผิด และ ความไม่รู้ ว่าการที่จะพ้นจาก ความติดข้อง คือ โลภะ นั้น เป็นอย่างไร มี หนทาง ที่จะเป็นไปได้ อย่างไร

ถ้า ไม่มี "ความเข้าใจที่ถูกต้อง" ที่เห็น โทษ ของ อกุศลธรรม ก็จะไม่มี การฟังธรรม และเมื่อได้ฟังแล้ว ก็ เห็นโทษบ้าง ไม่เห็นโทษบ้าง ในขณะที่กำลังฟังธรรม ก็มี การเห็นซึ่งก็ ห้าม ไม่ได้ ที่จะไม่ให้มี การสะสม ความติดข้องห้าม ความติดข้องไม่ให้เกิด เป็นไปไม่ได้ เมื่อ "เหตุ" มี เพราะฉะนั้น ประการแรกสุด นั้น คือ ละ ความคิด ที่ผิดเพราะการ ยึดถือ ในสภาพธรรม ว่า เป็น เราการฟังพระธรรม ต้องมีความรู้ ความเข้าใจที่จะต้อง เป็นไป ตามลำดับ เช่น การละความคิดที่ผิด ที่มีความเห็นว่าเป็นเราทั้งหมดเลย ตั้งแต่เกิดจนตาย

ฟังพระธรรม เพื่อ ให้เกิดความเข้าใจ ว่าสิ่งที่ปรากฏ เป็น สภาพธรรม แต่ละขณะๆ ซึ่ง เกิดขึ้น เป็นไป ตามเหตุ ตามปัจจัย จนกว่า "ปัญญา" จะเกิดขึ้น และสามารถ ดับ ความเห็นผิด ที่เคยยึดถือสภาพธรรม ทั้งหลาย ว่า เป็นตัวตน แต่ ก็ยังคงมี ความติดข้องใน รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ตามปกติ ตามความเป็นจริง. (แต่ไม่มีความเห็นผิด ใน สภาพธรรม ว่า เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เป็นเราและ ต้องอบรมเจริญปัญญา ต่อไปอีกจนกว่าจะถึง ความเป็นพระอรหันต์) เพราะฉะนั้น "ธรรม" ที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดง เพื่อ ให้เข้าใจ ความจริงตามความเป็นจริง.

พื้นฐานอภิธรรมวันอาทิตย์ ที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๑ ณ อาคารมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

บรรยายโดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ถอดเทป โดยคุณย่าสงวน สุจริตกุล


ขออนุโมทนา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
suwit02
วันที่ 25 มี.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
คนบ้านนอก
วันที่ 26 มี.ค. 2552
กราบอนุโมทนาในธรรมและผู้แสดงธรรมครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
happyindy
วันที่ 29 มี.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
คุณ
วันที่ 2 เม.ย. 2552
สาธุค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ