ปุถุชนย่อมยึดถือธาตุดินว่าเป็นอัตตา [ปฐวี ๔ อย่าง]
บทว่า ปฐวึ ปฐวิโต สญฺญตฺวา ความว่า ปุถุชนนั้นกำหนดหมายแผ่นดินนั้นด้วยสัญญาที่วิปริตอย่างนี้แล้ว ต่อมาย่อมสำคัญ คือกำหนดให้ต่างออกไป ได้แก่ยึดถือโดยประการต่างๆ คือโดยประการอื่นด้วยกิเลสเครื่องเนิ่นช้า คือ ตัณหา มานะ และทิฏฐิ ที่มีกำลัง ซึ่งท่านกล่าวไว้ด้วยนาม (รวม) ว่ามัญญนาในที่นี้ ตามพระบาลีว่า ก็ส่วนแห่งกิเลสเครื่องเนิ่นช้า มีสัญญาเป็นต้นเหตุ ดังนี้. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปฐวึ มญฺญติ ดังนี้. ก็เพื่อจะทรงแสดงความสำคัญเหล่านั้นของเขาผู้สำคัญอยู่เช่นนี้โดยนัยอันพิสดาร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสปฐวีในภายใน ๒๐ ประเภทโดยนัยเป็นต้นว่า เกสา โลมา ตรัสปฐวีในคัมภีร์วิภังค์อย่างนี้ว่าบรรดาปฐวีธาตุ ๒ อย่างนั้น ปฐวีธาตุภายนอกเป็นไฉน? คือ วัตถุภายนอกที่แข้น แข็ง หยาบกระด้าง ไม่มีใจครอง เช่น เหล็ก โลหะดีบุกขาว ดีบุกดำ แร่เงิน มุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลาแก้วประพาฬ เงินตรา ทองรูปพรรณ แก้วแดง (ทับทิม) เพชร-ตาแมว หญ้า ท่อนไม้ ก้อนกรวด ทราย กระเบื้อง แผ่นดิน หินภูเขา, และตรัสนิมิตแผ่นดิน ในวัตถุอารมณ์ภายใน ท่านหมายเอาปฐวีนั้นๆ กล่าวการประกอบความนี้ไว้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 66
บทว่า ปฐวึ มญฺญติ ความว่า ปุถุชน ย่อมสำคัญว่า เราเป็นดิน ว่า ดินเป็นของเรา ว่า คนอื่นเป็นดิน ว่า ดินของคนอื่น ดังนี้ด้วยความสำคัญ ๓ อย่าง. อีกอย่างหนึ่ง ย่อมสำคัญปฐวี (แผ่นดิน) ภายใน ด้วยความสำคัญ ด้วยอำนาจตัณหา มานะ และทิฏฐิ. สำคัญอย่างไร? จริงอยู่ ปุถุชนนี้ ยังฉันทราคะให้เกิดในผม เป็นต้น คือยินดีเพลิดเพลิน พร่ำเพ้อ หลงใหล ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ก็หรือวัตถุซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนดอย่างใดอย่างหนึ่ง, ปุถุชนย่อมสำคัญปฐวีกายในด้วยความสำคัญ อันเกิดจากอำนาจแห่งตัณหาอย่างนี้. ก็หรือว่า เกิดความทะยานอยากในผมเป็นต้นนั้น โดยนัยเป็นต้นว่า น คำนี้ มีอธิบายดังนี้ว่า ปุถุชนย่อมสำคัญว่า เรามีอยู่ในปฐวี,ย่อมสำคัญว่า ความกังวลผูกพันของเรามีอยู่ในปฐวี ย่อมสำคัญว่าบุคคลอื่นมีอยู่ในปฐวี ย่อมสำคัญว่า ความกังวลผูกพันของบุคคลอื่นในปฐวีมีอยู่ ดังนี้ อีกอย่างหนึ่ง นัยแห่งเนื้อความของสัตตมีวิภัตตินั้น ที่ได้ที่ท่านกล่าวไว้ว่า ปุถุชนย่อมพิจารณาเห็นอัตตาในรูปอย่างไร? คือปุถุชนบางคนในโลกนี้ ย่อมพิจารณาเห็นเวทนา สัญญาสังขาร วิญญาณ ว่าเป็นอัตตา เขาย่อมพิจารณาเห็นอัตตาในรูปอย่างนี้ว่า ก็นี้แหละเป็นอัตตาของเรา อัตตาของเรานี้นั้นแล มีอยู่ในรูปนี้ ดังนี้ โดยนั้นนั่นแล ปุถุชนจึงถือเอาเวทนาธรรมเป็นต้น ต่อแต่นี้ก็กำหนดเอาปฐวีชนิดใดชนิดหนึ่ง ในบรรดาปฐวีทั้งภายในและภายนอก โดยความเป็นโอกาสแห่งอัตตานั้น สำคัญอยู่ว่า ก็อัตตาของเรานี้นั้นแล มีอยู่ ในปฐวีนี้ ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมสำคัญในปฐวี. นี้ชื่อว่า ความสำคัญด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิของปุถุชนนี้. ผมของเราพึงเป็นเช่นนี้ตลอดไป ขอขนบองเราพึงเป็นเช่นนี้ตลอดไป ก็หรือว่า ตั้งจิตไว้ เพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ โดยนัยเป็นต้น ด้วยศีลหรือพรหมจรรย์ อันนี้ เราจักมีผมดำสนิทอ่อนนุ่ม ดังนี้. ปุถุชนย่อมสำคัญปฐวี (แผ่นดิน) ภายใน ด้วยความสำคัญด้วยอำนาจตัณหาแม้ดังอธิบายมานี้. อนึ่ง ปุถุชน อภัยสมบัติ (ความถึงพร้อม) หรือวิบัติสองผมเป็นต้นแห่งตน แล้วยังมานะให้เกิดขึ้นว่า เราดีกว่า เราเสมอกัน หรือว่าเราเลวกว่า ดังกล่าวมานี้ ชื่อว่า สำคัญปฐวี (แผ่นดิน) ภายในด้วยความสำคัญอันเกิดมาจากอำนาจมานะ. อนึ่ง ย่อมยึดมั่นผมว่าเป็นชีวะ โดยนัยที่มาแล้วว่า ชีวะก็อันนั้น สรีระก่อนนั้น ดังนี้. (แม้) ในขนเป็นต้นก็นัยนี้. ปุถุชนย่อมสำคัญปฐวี (แผ่นดิน) ภายในด้วยความสำคัญอันเกิดมาจากอำนาจทิฏฐิดังกล่าวมา.
เป็นที่ตั้งให้เกิดขึ้นในรูปนั้นนั่นแล พึงทราบว่า เป็นความสำคัญด้วยอำนาจ แห่งตัณหาและมานะ. แต่ในกาลใด ปุถุชนย่อมสำคัญโดยนัยนั้นนั่นแลว่า ก็อัตตาของคนอื่นนั้นนั่นแล มีอยู่ ในปฐวี ในกาลนั้น ความสำคัญอันเกิดมาจากอำนาจแห่งทิฏฐินั่นแล ย่อมถูก. ส่วนความสำคัญแม้นอกจากนี้ ท่านก็ปรารถนา (เอาเหมือนกัน) . ก็คำว่า ปฐวิโต ในคำว่า ปฐวิโต มญฺญติ เป็นปัญจมีวิภตติ. เพราะฉะนั้น ปุถุชน เมื่อสำคัญการเกิดขึ้น หรือการจากไปจากปฐวีมีประเภทตามที่กล่าวแล้วแห่งตนหรือแห่งบุคคลอื่น พร้อมทั้งทรัพย์ศฤงคาร หรือสำคัญว่า อัตตาอื่นจากปฐวี พึงทราบว่า ซึ่งว่าสำคัญจากปฐวี. นี้เป็นความสำคัญด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิของปุถุชนนั้น. ก็เมื่อปุถุชนนั้น ยังความสิเนหาและมานะให้เกิดในวัตถุ ที่สำคัญกัน ด้วยความสำคัญด้วยอำนาจทิฏฐินั้นนั่นแล พึงทราบว่า เป็นความสำคัญด้วยอำนาจตัณหาและมานะ อาจารย์พวกอื่นกล่าวไว้ว่าปุถุชนเจริญปฐวีกสิณ อันเป็นปริตตารมณ์ และต่อจากนั้น ยึดเอาอัตตาอันไม่มีประมาณอื่นแล้วสำคัญอยู่ว่า อัตตากองเรา (มี) แม้ในภายนอกจากปฐวี ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมสำคัญจากปฐวี ก็ความสำคัญอันหนึ่งที่เป็นไปโดยนัยนี้ว่า ปุถุชนย่อมยึดถือมหาปฐวีอย่างเดียว. ก็ในคำนี้ว่า ปฐวึ เมติ มญฺญติ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- ก็ความสำคัญที่เป็นไปโดยนัยนี้ว่า ย่อมหวงแหนมหาปฐวีด้วยอำนาจตัณหาถ่ายเดียว พึงทราบว่า ได้แก่ ความสำคัญด้วยอำนาจตัณหาอย่างหนึ่งเหมือนกัน. ก็ความสำคัญด้วยอำนาจตัณหานี้นั้น ควรประกอบเข้าในปฐวีทั้งภายในและภายนอกแม้ทั้งหมด มีประเภทตามที่กล่าวไว้แล้ว อย่างนี้ว่า ผมของเรา ขนของเรา เหล็กของเรา ดังนี้. บทว่า ปฐวึ อภินนฺทติ ความว่า ปุถุชน ย่อมเพลิดเพลินอธิบายว่า ยินดี ติดใจปฐวี มีประการตามที่กล่าวแล้วนั่นแล ด้วยกิเลสมีตัณหา เป็นต้น. ฯลฯ