กายทิพย์

 
JANYAPINPARD
วันที่  26 มี.ค. 2552
หมายเลข  11774
อ่าน  1,159

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 2

พระพุทธเจ้าข้า ก็แหละในเวลาที่ เทวดาชั้นดาวดึงส์ทั้งหมดด้วยกัน

เป็นผู้นั่งประชุมกันที่สุธรรมาสภา ทิพยบริษัทใหญ่เป็นผู้นั่งแล้วล้อมรอบ และมหาราชทั้ง ๔ องค์ ก็เป็นผู้นั่งประจำทิศทั้ง ๔ แล้ว อาสนะนี้เป็นของพวกท่านเหล่านั้น

และอาสนะหลังเป็นของพวกเราพระพุทธเจ้าข้า พวกเทพเหล่าใด ประพฤติพรหมจรรย์

ในพระผู้มีพระภาคเจ้าเข้าถึงชั้นดาวดึงส์เมื่อไม่นาน เทพเหล่านั้น ย่อมรุ่งเรืองยิ่ง

เทพเหล่าอื่น ทั้งด้วยรัศมีทีเดียว ทั้งด้วยยศ เพราะเหตุนั้น จึงเล่ากันมาว่า พวก

เทพชั้นดาวดึงส์จึงชื่นใจ บันเทิง เกิดปิติโสมนัสว่า โอหนอ ผู้เจริญ กายทิพย์ย่อม

บริบูรณ์กายอสูรย่อมเสื่อม

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 206

คำว่า กายทิพย์ คือ อัตภาพเป็นทิพย์. คำว่า ละอายุ ที่ไม่ใช่เป็นของ

มนุษย์คือ ทิ้งอายุทิพย์. คำว่า จะไม่หลงเข้าครรภ์ คือ เป็นผู้ไม่หลง เพราะมีคติ

เที่ยงแท้ จะเข้าถึงครรภ์ในตระกูลกษัตริย์เป็นต้น ที่ใจของข้าพระพุทธเจ้าจะรื่นรมย์

นั้นเท่านั้น. ท้าวสักกะทรงแสดงความข้อนี้ว่า ในเทวดาและในมนุษย์เจ็ดครั้ง.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 26 มี.ค. 2552

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 333

ส่วนการถึงสรณะที่เป็นโลกิยะย่อมมีภพสมบัติและโภคสมบัติเป็นผล เหมือนกัน. สมจริงดังพระดำรัสที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า บุคคลที่ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะจักไม่ไปสู่อบาย- ภูมิ ครั้นละร่างกายที่เป็นมนุษย์แล้ว จักยังกายทิพย์ ให้บริบูรณ์ (เกิดในหมู่เทพ) .

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 26 มี.ค. 2552

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 466

ภิกษุ ๗ รูปพ้นแล้ว สิ้นราคะโทสะ แล้ว ข้ามกิเลสที่ซ่านไปในโลก เข้าถึง สุทธาวาสพรหมชั้นอวิหา คือ คน ๓ คน ได้แก่ อุปกะ ปลคัณฑะ ปุกกุสาติ ๔ คนคือ ภัททิยะ ขัณฑเทวะ พาหุทัตติ และปิงคิยะ ทั้ง ๗ คนนั้น ละกายมนุษย์ แล้ว เข้าถึงกายทิพย์.

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ