การพักผ่อนที่ดีที่สุด
ช่วงนี้เป็นหน้าร้อน อากาศร้อนมากๆ หลายคนก็อยากจะหาที่หลบร้อนไปพักผ่อนตามที่ต่างๆ แต่การพักผ่อนที่ดีที่สุด คือ อะไร
"การพักผ่อนที่ถูกที่สุด คือ ขณะใดที่กุศลจิตเกิด ขณะนั้นเป็นการพักผ่อนทั้งกายและใจ กายก็ไม่เดือดร้อนไปด้วยอกุศลกรรม วาจาก็ไม่เดือดร้อนตามอกุสลจิต เพราะฉะนั้น ขณะใดที่เป็นกุศล ขณะนั้นเป็นการพักผ่อนได้ทันที เป็นการพักผ่อนที่แท้จริง คือพักจากการไหลไปของอกุศลในวันหนึ่งๆ "
จากส่วนหนึ่งของคำบรรยาย "แนวทางการเจริญวิปัสสนา" ครั้งที่ ๑๓๙๑ โดย ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ในแต่ละปีๆ นั้น มีฤดูกาลหมุนเวียนเปลี่ยนไปทั้งฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว เป็นปกติของสภาพดินฟ้าอากาศ อัธยาศัยของแต่ละบุคคลก็ย่อมแตกต่างกันออกไปตามการสะสม ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น แต่ถึงอย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นฤดู-กาลใด ไม่ว่าจะเป็นสมัยใด สำหรับบุคคลผู้ที่เห็นประโยชน์ของพระธรรมแล้ว ท่านก็จะไม่ละเลยในเรื่องของการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญาในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะเป็นไปเพื่อความเข้าใจถูก เห็นถูกในลักษณะสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง พร้อมทั้งเป็นไปเพื่อการขัดเกลากิเลส ซึ่งเป็นเครื่องเศร้าหมองของจิตใจ จนกว่าจะถึงความเป็นมีการพักผ่อนที่ดีที่สุด นั่นก็คือ การรู้แจ้งอริยสัจจธรรม
สามารถดับกิเลสทั้งปวงได้อย่างเด็ดขาด ไม่มีกิเลสเกิดขึ้นอีกเลย ในที่สุด ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
จากพระอภิธรรมมัตสังคหะกุศลจิต เป็นจิตที่ไม่เศร้าหมอง ไม่เร่าร้อน เป็นจิตที่ดีงาม ที่ฉลาด ที่สะอาด ทีปราศจากโทษ และให้ผลเป็นสุข มีอรรถ ๕ ประการ คือ ๑. อาโรคยตฺถ ไม่มีโรค คือไม่มีราคะเป็นต้น ราคะ โทสะ โมหะ นี้เรียกว่า โรคเพราะเสียดแทงจิตตสันดานของสัตว์ทั้งหลาย
๒. สุนฺทรตฺถ ดีงาม คือ เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลาย
๓. เฉกตฺถ ฉลาด เรียบร้อย คือผู้ที่มีจิตใจเป็นกุศลย่อมมีกิริยาวาจาสุภาพเรียบร้อย
๔. อนวชฺชตฺถ ไม่มีโทษอันพึงติเตียนได้
๕. สุขวิปากตฺถ ให้ผลอันเป็นสุขพึงปรารถนาอนุโมทนาคะ
กุศลจิตพักผ่อน อกุศลจิตไม่พักผ่อน ปัจจัยสี่เป็นที่ต้องการ ชวนให้อยู่กับอกุศลไม่ได้พักผ่อน เมื่อเหนื่อยมากแล้ว ก็ฟังธรรมเจริญกุศล จะได้พักผ่อนหลับสบาย ครับ
ขณะที่กุศลจิตเกิด ขณะนั้นจิตผ่องใสปราศจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองใดๆ ทั้งสิ้นเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยเป็นเจตสิกฝ่ายดีงามเช่น สัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ อโลภะ อโทสะ จิตตปัสสัทธิ กายปัสสัทธิ เป็นต้น ขณะนั้นจิตผ่องใสเบาสบาย เจตสิกที่เกิดร่วมด้วยก็เบา สงบจากอกุศล และรูปที่เกิดจากจิตที่เป็นกุศลก็เบา สงบ สบาย
ขณะนั้นเป็นการพักผ่อนทั้งกาย และใจที่แท้จริง ในชีวิตประจำวันอกุศลเกิดบ่อยเกือบตลอดเวลา เพราะจิตเศร้าหมองด้วยกิเลส และรูปที่เกิดจากจิตที่เป็นอกุศลย่อมไม่เบา ไม่สงบเพราะฉะนั้นควรที่จะอบรมเจริญกุศลทุกประการในชีวิตประจำวัน เพื่อจะ
ได้เป็นการพักผ่อนทั้งกาย และใจ กายก็ไม่เดือดร้อนไปด้วยอกุศลกรรม วาจาก็ไม่เดือดร้อนตามอกุสลจิต
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ปฏิบัติพุทธกิจมากมาย เวลาพักผ่อนร่างกายของพระองค์ในเวลากลางคืนมีเพียง 1 ชั่วโมงคือในปัจฉิมยามแบ่งเป็น 4 ชม. พระองค์แบ่งเป็น 4 ส่วนคือ ชั่วโมงแรกพระองค์ทรงเสด็จจงกรม ชั่วโมงที่สองจึงเสด็จสีหไสย (ประทับนอน) มีสติสัมปชัญญะ ชั่วโมงที่สามทรงเข้าผลสมาบัติ ชั่วโมงสุดท้ายทรงตรวจดูสัตว์โลกที่มีอุปนิสัยจะบรรลุ จะเห็นได้ว่าพระองค์พักผ่อนร่างกายน้อยมากเพื่อประโยชน์แก่สัตว์โลก แต่การพักผ่อน
ที่ประเสริฐสูงสุดของพระอริยเจ้าและพรพุทธเจ้าทั้งหลายคือ การเข้าผลสมาบัติโดย
มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ครับ ตัวอย่างของท่านพระอานนท์ผู้พักผ่อนกายน้อยแต่ย่อมพักผ่อนด้วยการเจริญกุศลมีอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า เป็นต้น พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 454ท่านอุปัฏฐากพระทศพล......แล้วถือประทีปด้ามขนาด ใหญ่ไว้ ต่อจากเวลาเที่ยงคืน
เดินตรวจรอบๆ บริเวณพระคันธกุฎี ราตรีหนึ่ง ๙ ครั้ง อนึ่งท่านมีความดำริอย่าง
นี้ว่า ถ้าเราจะพึงง่วงนอน ไซร้ เราก็ไม่อาจขานรับเมื่อพระทศพลตรัสเรียก. เพราะ
ฉะนั้น ท่านจึงไม่ปล่อยประทีปด้ามหลุดจากมือตลอดคืนยังรุ่ง อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์