ปัญญา รู้อะไร อย่างไร...? (๓)

 
พุทธรักษา
วันที่  27 มี.ค. 2552
หมายเลข  11784
อ่าน  1,309

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

รู้จริง ต้องรู้ ทางตา ทางหู ทางจมูกทางลิ้น ทางกาย และ ทางใจ ซึ่ง กำลังเกิด ดับ ในขณะนี้ รู้จริง ต้องรู้ถึง ความเกิด ดับ ของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ ให้รู้ได้ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ สมถะ เป็น กุศล เป็นความสงบ ของจิตซึ่ง ก็ต้องดีกว่า อกุศลจิต แน่นอน แต่ว่า ไม่ใช่กุศล ที่จะดับสังสารวัฏฏ์ เพราะว่า ปัญญา ไม่รู้ลักษณะ ของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ ถ้าท่านผู้ฟังรู้สึกว่า จิตใจไม่สงบ กระสับกระส่ายจะเป็นเพราะ โลภะ หรือ โทสะ ก็ตามแต่เมื่อมี "สติ" ขั้นสมถะ ก็สามารถที่จะ ระลึกได้ และ รู้ว่า ขณะนั้น เป็น จิต เป็น อกุศล

อย่างเวลาที่ท่าน กำลังโกรธใคร หรือ จิตใจ ไม่แช่มชื่นก็รู้ได้ ว่า ขณะนั้น จิต เป็น อกุศลและถ้า เกิดความเมตตา ในบุคคลนั้นโทสะ หรือ ความไม่แช่มชื่น ของจิต ก็จะไม่มี คือ ไม่เกิดกับจิต ในขณะนั้น เพราะฉะนั้น การอบรมเจริญเมตตา คือ การระลึกถึง "อารมณ์" ซึ่งเป็นปัจจัย ที่ทำให้เกิดความโกรธ ด้วยความเมตตา หมายความว่า ในขณะนั้น ถ้า ความเมตตา เกิดขึ้นความโกรธจะไม่เกิดพร้อมกับความเมตตาในขณะนั้นเลย จิต ที่ประกอบด้วย ความเมตตาเป็นสมถะ เป็นความสงบของจิต สมถะ จริงๆ ที่เกิดได้ ใน ชีวิตประจำวัน เช่น ขณะที่เกิดความเมตตาต่อบุคคลอื่น จิต ขณะนั้น เป็น กุศลจิต ซึ่ง ตรงข้ามกับ อกุศลจิตขณะนั้น ไม่ได้เป็นไปใน ทาน หรือ ศีลแต่ เป็นไปใน ความเมตตา ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยให้ จิตสงบ ขณะนั้น เป็น สมถะ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งก็ควรที่จะอบรม..ควรที่จะอบรมเจริญเมตตา ในชีวิตประจำวัน เพราะว่าการมีชีวิตอยู่นี้ ต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น เป็นประจำและการที่จิตใจเป็นไปในกุศล ที่สูงกว่าขั้นทาน ขั้นศีลต้องมีการอบรมเจริญพรหมวิหาร ๔ ซึ่งเป็นสมถภาวนา ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

ถ้าศึกษา เรื่องของ ความสงบ จริงๆ จะทราบ ว่า ไม่ใช่เรื่องของ สมาธิ ซึ่งบางครั้ง ท่านผู้ฟัง ยังไม่ได้ศึกษา โดยละเอียดจริงๆ เพียงแต่ ไปปฏิบัติ ด้วยการ จดจ้องที่อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งแล้วเข้าใจว่า ขณะนั้น จิต สงบจาก โลภะ โทสะ โมหะ.. สมถภาวนา เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก ท่านผู้ฟังควรทราบ ว่า ที่ท่านปฏิบัติอยู่นั้น เป็น สมถภาวนาจริงๆ หรือเปล่า เพราะว่า ถ้าเป็น สมถภาวนา จริงๆ ต้องเกิดร่วมกับ "ปัญญาเจตสิก" ทุกครั้งอย่างนั้น จึงจะเป็น "สมถภาวนา" จริงๆ ในการอบรม เจริญสมถภาวนา

ถ้าจิต ไม่ประกอบด้วย ปัญญาเจตสิก ก็จะไม่รู้ว่า จุดประสงค์ที่แท้จริง ของการเจริญสมถภาวนา นั้น เพื่ออะไร.!และ ไม่รู้ ว่า "ลักษณะ" ของสมถภาวนา นั้น เป็นความสงบ ของจิต ขณะไหน อย่างไร

การเจริญสมถภาวนาคือ จิต จะต้องสงบ จากอกุศล ทั้ง โลภะ และ โทสะเพราะว่า ผู้ที่ไม่ได้ศึกษา เรื่องของสมถภาวนา จริงๆ ท่านจะไม่เห็นโทษ ของ โลภะ เลย ท่านจะเห็นแต่ ความกระสับกระส่าย กระวน กระวาย ความเดือดร้อนของจิตซึ่งเป็นปฏิฆะ เป็นโทสมูลจิต

แต่พอมีใครชวน ไปเที่ยวสนุกๆ ท่าน ก็ไปได้รับประทานอาหาร อร่อยๆ ท่าน ก็ชอบทุกอย่างที่เป็น อิฏฐารมณ์ ท่านไม่กลัวเลย แต่ว่า ท่านไม่ชอบ อนิฏฐารมณ์ หรือ โทสะ เพราะฉะนั้น เมื่อท่าน ไม่ได้ศึกษา อย่างนี้ท่านก็ไปปฏิบัติ ในสิ่งที่ท่านเข้าใจว่า เป็น สมถภาวนาโดยที่ ว่า ขณะนั้น "ปัญญา" ไม่ได้เกิดร่วมกับจิตเลย

ในขณะนั้น จึงไม่ใช่ ความสงบที่แท้จริง คือ จิต ไม่ได้สงบจากโลภะ โทสะ โมหะ.ที่ท่านผู้ฟัง บอกว่า ท่านไป ปฏิบัติสมาธิหรือว่า ไปทำสมาธิ นี้ ก็ไม่ทราบว่าท่านอบรมเจริญ อย่างไร ท่านได้เห็นโทษ เห็นภัย ของ โลภะ โทสะ โมหะที่เกิดในชีวิตประจำวัน หรือเปล่า และการที่จะอบรม ให้สมาธิ ตั้งมั่นคงขึ้นจนเป็นความสงบของจิต ได้จริงๆ นั้น ก็จะต้องอาศัยการเจริญสมถภาวนา เป็นปกติ ในชีวิตประจำวันด้วย.ถ้าชีวิตประจำวัน ของท่าน ฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง คิดร้าย เบียดเบียน ต่อบุคคลอื่นบ้าง ด้วยกาย วาจาแต่พอถึงกลางคืนดึกๆ ท่านก็เข้าห้อง เจริญเมตตา ก็ไม่ทราบ ว่า ท่านไปเอาเมตตา วันไหน ขณะไหน มาเป็นพื้น มาเป็นบาท ที่จะเป็นเหตุปัจจัยให้ จิตสงบ จนกระทั่ง ถึง อุปจารสมาธิ หรือ อัปปนาสมาธิ ได้ ในเมื่อ ตลอดทั้งวัน ท่านก็ไม่เคยระลึกได้เลย ว่าจิต ของท่าน เศร้าหมอง ขุ่นมัว เต็มไปด้วยอกุศลจิตเต็มไปด้วยการประทุษร้ายทางกาย ทางวาจา ทางใจ ต่อบุคคลอื่น แต่พอถึงเวลา ท่านก็ไปเข้าห้อง แล้วก็ เจริญ "เมตตากัมมัฏฐาน" ก็ไม่ทราบว่า จะเจริญได้อย่างไร เรื่องของ การเจริญสมถภาวนา เป็นเรื่องที่ละเอียดมาก และเป็นกุศลจิต จริงๆ แต่ ถ้าไม่ใช่ กุศลจิต ก็ไม่ใช่ "สมถภาวนา" และ สมาธิ ที่ปฏิบัติกันอยู่ ส่วนใหญ่แล้ว ไม่ใช่ ความสงบ จาก โลภะ โทสะ โมหะ

แนวทางเจริญวิปัสสนาครั้งที่ ๕๙๙ บรรยาย โดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ถอดเทป โดย คุณย่าสงวน สุจริตกุล

ขออนุโมทนา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
suwit02
วันที่ 27 มี.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ups
วันที่ 28 มี.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
orawan.c
วันที่ 28 มี.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
นายเรืองศิลป์
วันที่ 28 มี.ค. 2552

กราบอนุโมทนา สาธุครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
คุณ
วันที่ 29 มี.ค. 2552

ขอออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
pornpaon
วันที่ 29 มี.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Komsan
วันที่ 29 มี.ค. 2552
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ