ไม่รู้เวลาตาย
เมื่อนึกถึงความตาย ทำให้คิดนำคำบรรยายของอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ มาเขียนเตือนใจไว้ดังนี้
การตายพรากทุกสิ่งจากชาตินี้อีกต่อไป แม้แต่ความทรงจำ ชาตินี้เกิดมาแล้ว จำได้ไหมว่า ชาติก่อนเป็นใคร อยู่ที่ไหน ทำอะไร หมดความเป็นบุคคลในชาติก่อนโดยสิ้นเชิง ฉันใด แม้ชาตินี้จะได้สร้างบุญ ทำกรรมใดมาแล้ว จะมีมานะในชาติตระกูล ยศศักดิ์ใดๆ ก็ตาม ก็จะต้องหมดสิ้น ไม่มีเยื่อใยในชาตินี้ภพนี้เหลืออยู่อีกเลย ฉันนั้น
การตายพรากทุกสิ้งโดยสิ้นเชิง ทั้งความคิด ความจำ ความยึดถือใดๆ ทั้งสิ้นที่เคยเกาะเกี่ยวผูกไว้ตั้งแต่เกิดจนเดี๋ยวนี้นั้น ก็จะผูกพันยึดถือว่าเป็นตัวเราอีกต่อไปได้
การพบกันครั้งสุดท้ายก่อนตายจากไปนั้น ไม่มีเครื่องหมาย ไม่มีสิ่งใดเลยที่จะแสดงให้รู้ว่า เมื่อเห็นกันแล้วจะไม่ได้เห็นกันอีก เมื่อเห็นตอนเช้าก็อาจจะไม่ได้เห็น
ตอนเย็น เห็นตอนเย็นก็อาจจะไม่ได้เห็นตอนเช้า ทุกคนเห็นความจริงว่าไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงหรือต่อรองความตายได้ จะขอเวลาต่อแม้เล็กน้อยก็ไม่ได้
ฉะนั้น การกล่าวถึงชีวิตของแต่ละคน ก็ไม่พ้นจากการพิจารณาสภาพธรรมที่เกิดขึ้นเป็นแต่ละบุคคล ซึ่งไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาเลย
เมื่อพูดกันเรื่องผู้ตาย ก็ควรจะได้ระลึกถึงสภาพจิตในขณะนั้นว่า แยบคายหรือยัง แทนที่จะโศกเศร้าเสียใจอาลัยอาวรณ์ ก็ควรจะเป็นความเบิกบานในพระธรรม ที่ได้เข้าใจความจริงอันเป็นสัจธรรม ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงตรัสและทรงแสดงถึงธรรมดาของการเกิด ซึ่งก็ต้องมีการตายเมื่อเกิดแล้วที่จะไม่ตายไม่มี และการตายก็ไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้เลย เมื่อเข้าใจความจริง ก็รู้ว่าความจริงเป็นสัจจธรรม
ชีวิตเราเป็นกระแสจิตที่เกิดดับสืบต่อกันทีละขณะจิตเรื่อยไป ตั้งแต่เกิดจนตาย จากชาติหนึ่งไปสู่อีกชาติหนึ่ง
กิเลสทุกชนิดเกิดขึ้นเพราะได้สะสมแล้วในอดีต เมื่อปัญญายังไม่เจริญถึงขั้นดับกิเลส กิเลสก็เกิดขึ้นอีกๆ ต่อไปในอนาคต
ศีกษาธรรมเพื่อละกิเลส
ผู้ทำอกุศลก็ต้องรับผลของอกุศลอยู่แล้ว
ไม่ก้าวก่ายในอกุศลของผู้อื่น
กิเลสของตัวเองทำให้คิดหมุนวนอยู่
อย่าชอบไปเดาความคิดของผู้อื่น
กิเลสของเราทำให้เราไม่มีความสุข
จงคิดเป็นกุศล
การฟังพระธรรมเสมอๆ ความเข้าใจพระธรรมย่อมสะสมไปในภพหน้า
.............คุณหญิงณพรัตน์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา.............
จาก หนังสือ " เมตตา " โดย อ.สุจิตน์ บริหารวนเขตต์
การฟังพระธรรมเสมอๆ ความเข้าใจพระธรรมย่อมสะสมไปในภพหน้า
กราบอนุโมทนาท่าน อ.สุจิตน์ บริหารวนเขตต์ค่ะ
บุรุษย่อมสำคัญสิ่งใดว่า สิ่งนี้เป็น
ของเรา จำต้องละสิ่งนั้นไป แม้เพราะความ
ตาย บัณฑิตผู้นับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นของ
เรา ทราบข้อนี้แล้ว ไม่พึงน้อมไปในความ
เป็นผู้ถือว่าสิ่งนั้นๆ เป็นของเรา.
"ฉะนั้น การกล่าวถึงชีวิตของแต่ละคน ก็ไม่พ้นจากการพิจารณาสภาพธรรมที่เกิด
ขึ้นเป็นแต่ละบุคคล ซึ่งไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาเลย"
กราบอนุโมทนาค่ะ _/||\_