ธรรมทาน กับ ความหมายของธรรมะ ๕ อย่าง

 
pornpaon
วันที่  29 มี.ค. 2552
หมายเลข  11803
อ่าน  2,857

อ่านพบข้อความจากพระสูตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 616

อรรถกถาทานสูตร

ข้อความตอนหนึ่งมีว่า...


บทว่า ธมฺมทานํ ความว่า บุคคลบางคนในพระศาสนานี้

เมื่อ (แสดง) จำแนกกุศลกรรมบถ และอกุศลกรรมบถออกไปว่า

ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล

ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้ตำหนิ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ

ธรรมเหล่านี้สมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไร้ประโยชน์ เพื่อทุกข์

ธรรมเหล่านี้ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ดังนี้

กระทำกรรมและผลกองกรรมให้ปรากฏ

ดุจชี้ให้เห็นโลกนี้และโลกหน้า โดยประจักษ์แสดงธรรมให้เลิกละอกุศลธรรม ให้ตั้งอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลาย นี้ชื่อว่า ธรรมทาน.ส่วนบุคคลบางพวก ชี้แจงสัจจะทั้งหลายให้แจ้งชัดว่า

ธรรมเหล่านี้เป็นอภิญไญยธรรม

ธรรมเหล่านี้เป็นปริญไญยธรรม

ธรรมเหล่านี้เป็นปหาตัพพธรรม

ธรรมเหล่านี้เป็นสัจฉิกาตัพพธรรม

ธรรมเหล่านี้เป็นภาเวตัพพธรรม

ดังนี้ แสดงธรรมอันเป็นข้อปฏิบัติ เพื่อบรรลุอมตธรรม นี้ชื่อว่า ธรรมทาน

เรียนถามว่า ธรรม ที่เน้นเป็นอักษรตัวหนาสีน้ำเงินทั้ง ๕ นั้น

คืออะไร หรือมีความหมายโดยสำคัญอย่างไรคะ

กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 30 มี.ค. 2552

คำว่า อภิญไญยธรรม หมายถึงธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ได้แก่อริยสัจทั้ง ๔

คำว่าปริญไญยธรรม หมายถึงธรรมที่ควรกำหนดรู้ได้แก่ทุกขสัจจะคำว่า ปหาตัพพธรรม หมายถึงธรรมที่ควรปหาน ควรละ ได้แก่ สมุทยสัจจะคำว่า สัจฉิกาตัพพธรรม หมายถึงธรรมที่ควรกระทำให้แจ้งได้แก่นิโรธสัจจะพระนิพพานคำว่า ภาเวตัพพธรรม หมายถึงธรรมที่ควรเจริญ ได้แก่อริยมรรคมีองค์ ๘

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
suwit02
วันที่ 30 มี.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เมตตา
วันที่ 30 มี.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 30 มี.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pornpaon
วันที่ 30 มี.ค. 2552

ธรรมอันควรกำหนดรู้

ควรละ

ควรทำให้แจ้ง

ควรเจริญ

อริยสัจจ์ ๔

อริยมรรคมีองค์ ๘

เป็นไปเพื่อการเข้าถึง

* * * พระนิพพาน * * *

ยังต้องฟัง ต้องศึกษา ขัดเกลา และสะสมความเข้าใจถูกอีกนาน

จิรกาลภาวนา

กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
orawan.c
วันที่ 31 มี.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
paderm
วันที่ 31 มี.ค. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

อภิญไญยธรรม คือสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ ที่เกิดขึ้นและดับไปเป็นทุกขอริยสัจจะ ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญา ไม่ใช่เราไปกำหนดรู้ ซึ่งก็คือการที่สติเกิดระลึกรู้สภาพธรรม

ที่มีในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ธรรมใดที่มีจริง เป็นที่ตั้งให้สติระลึกรู้ว่าเป็นธรรมไม่

ใช่เรา จึงเป็น อภิญไญยธรรม

ปหาตัพพธรรม คือธรรมที่ควรละ คือ โลภะ ความติดข้อง ละได้ด้วยปัญญาแต่ต้องเป็นไปตามลำดับ โดยปัญญารู้ลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ว่า เป็นธรรม ไม่ใช่เรา ปัญญาละกิเลสไปตามลำดับขั้น จนถึงที่สุด คือ ธรรมที่ควรละ คือ ดับโลภะจน

หมดสิ้น

สัจฉิกาตัพพธรรม คือธรรมที่ควรทำให้แจ้งคือพระนิพพานอันเป็นสภาพธรรมที่ไม่ปรุงแต่ง ไม่มีโลภะ โทสะ โมหะเลยครับ

ภาเวตัพพธรรม คือธรรมที่ควรเจริญ นั่นคืออริยมรรคมีองค์ 8 คือการอบรมสติปัฏฐานระลึกรู้ลักษณะสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรานั่นเองครับ

จะเห็นได้ว่า อริยสัจ 4 นั้นเกี่ยวเนื่องกันไป เมื่อเริ่มอบรมปัญญาอาศัยการฟังใน

เรื่องสติปัฏฐาน เมื่อปัญญาเจริญขึ้น สติปัฏฐานเกิดก็เป็น ภาเวตัพพธรรม ซึ่งขณะที่

สติปัฏฐานเกิดก็ต้องมีธรรมที่สติกำลังรู้คือสภาพธรรมที่มีจริง อันเป็นธรรมที่ควรรู้ ก็คือ

ปริญไญยธรรม และเมื่อปัญญาเจริญจนสามารถประจักษ์แจ้งพระนิพพาน ก็เป็น

สัจฉิกาตัพพธรรม และท้ายสุดก็ถึงการดับกิเลสคือโลภะ (ปหาตัพพธรรม) อันเกิดจาก

การอบรมปัญญานั่นเอง ขออนุโมทนาครับ อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
opanayigo
วันที่ 10 เม.ย. 2552

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 10 เม.ย. 2552
ขออนุโมทนาครับ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ