ภวิสฺสติ กมฺมํ น ภวิสฺสติ กมฺมวิปาโก

 
เมตตา
วันที่  29 มี.ค. 2552
หมายเลข  11814
อ่าน  1,370

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 420

ท่านถือเอาวิบากอันควรให้ผลในภพอนาคต แห่งกรรมที่ควรทำในภพอนาคต

แล้วจึงกล่าวว่า ภวิสฺสติ กมฺมํ ภวิสฺสติ กมฺมวิปาโก กรรมจักมี ผลแห่งกรรมจักมี.

ท่านถือเอาวิบากอันไม่ควรให้ผล ด้วยบกพร่องปัจจัยแห่งกรรมอนาคตนั้น

และไม่ควรให้ผลของผู้ควรปรินิพพานในภพอนาคต แล้วจึงกล่าวว่า ภวิสฺสติ กมฺมํ

น ภวิสฺสติ กมฺมวิปาโก กรรมจักมี ผลแห่งกรรมจักไม่มี.

ท่านแสดงกรรมอนาคตอย่างนี้ไว้ ๒ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งวิบากและมิใช่

วิบากในอนาคต

ขอความกรุณาช่วยอธิบายที่กล่าวว่า ท่านถือเอาวิบากอันไม่ควรให้ผล ด้วยบกพร่องปัจจัยแห่งกรรมอนาคตนั้น และไม่ควรให้ผลของผู้ควรปรินิพพานในภพอนาคต แล้ว

จึงกล่าวว่า ภวิสฺสติ กมฺมํ น ภวิสฺสติ กมฺมวิปาโก กรรมจักมี ผลแห่งกรรมจักไม่มี

ขอขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 30 มี.ค. 2552
ข้อความทั้งหมดที่ท่านสงสัยเป็นการกล่าวถึงกรรมในอนาคตและวิบากในอนาคตตัวอย่างเช่น ชาตินี้เป็นพระอนาคามีบุคคล เมื่อเกิดชาติใหม่ไม่นานท่านก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ ก่อนที่จะเป็นพระอรหันต์ท่านก็มีกุศลกรรมมีฌานกุศล เป็นต้น แต่เมื่อท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้วปรินิพพาน เมื่อพูดถึงชาตินี้ กรรมในอนาคตจักมีและผลของกรรมในอนาคต คือชาติที่ ๓ เป็นต้นไปไม่มี เพราะเมื่อขันธ์ดับหมดแล้ววิบากคือผลของกรรมก็เกิดขึ้นไม่ได้...
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
เมตตา
วันที่ 30 มี.ค. 2552

ขอขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
suwit02
วันที่ 30 มี.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
pornpaon
วันที่ 30 มี.ค. 2552

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 31 มี.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 31 มี.ค. 2552
ขออนุโมทนาครับ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ