แม้พระอรหันต์ก็ควรเรียนปริยัติ พาหิรนิทาน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๕๑
ปริยัติ ๓ อย่าง
จริงอยู่ ปริยัติ ๓ คือ อลคัททูปมาปริยัติ ๑ นิสสรณัตถปริยัติ ๑ ภัณฑาคาริยปริยัติ * ๑
ในปริยัติ ๓ อย่างนั้น ปริยัติใด อันบุคคลเรียนไม่ดี คือเรียนเพราะเหตุมีการโต้แย้งเป็นต้น, ปริยัตินี้ ชื่อว่า ปริยัติเปรียบด้วยงูพิษ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายตรัสไว้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการด้วยงูพิษ เที่ยวเสาะแสวงหางูพิษ เขาพึงพบงูพิษตัวใหญ่ พึงจับงูพิษนั้นที่ขนดหรือที่หาง งูพิษนั้นพึงแว้งกัดเขาที่มือหรือแขน หรือที่อวัยวะน้อยใหญ่แห่งใดแห่งหนึ่ง เขาพึงถึงความตายหรือความทุกข์ปางตาย ซึ่งมีการกัดนั้นเป็นเหตุ ข้อนั้นเพราะอะไรเป็นเหตุ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะงูพิษเขาจับไม่ดี แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรมคือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ เวทัลละ
* วินยฏฺฐกถา หน้า ๒๔ เป็น ภัณฑาคาริกปริยัติ. พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๕๒
พวกเขาครั้นเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมไม่พิจารณาแห่งธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญา ธรรมเหล่านั้นย่อมไม่ควรต่อการเพ่งพินิจแก่พวกเขา ผู้ไม่พิจารณาอรรถด้วยปัญญา พวกเขาเรียนธรรมมีการโต้แย้งเป็นอานิสงส์ และมีหลักการบ่นเพ้อว่าอย่างนี้เป็นอานิสงส์ และย่อมไม่ได้รับประโยชน์แห่งธรรมที่พวกกุลบุตรต้องประสงค์เล่าเรียน ธรรมเหล่านั้นที่เขาเรียนไม่ดี ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน แก่โมฆบุรุษเหล่านั้น ข้อนั้นเพราะอะไรเป็นเหตุ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นเพราะธรรมทั้งหลายอันโมฆบุรุษเหล่านั้นเรียนไม่ดี.๑
อนึ่ง ปริยัติอันบุคคลเรียนดีแล้วคือ จำนงอยู่ซึ่งความบริบูรณ์แห่งคุณ มีสีลขันธ์ เป็นต้น นั่นแล เรียนแล้ว ไม่เรียนเพราะเหตุมีความโต้แย้งเป็นต้น ปริยัตินี้ ชื่อว่า ปริยัติมีประโยชน์ที่จะออกจากวัฏฏะ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายตรัสไว้ว่า ธรรมเหล่านั้น อันกุลบุตรเหล่านั้นเรียนดีแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนานแก่กุลบุตรเหล่านั้น ข้อนั้นเพราะอะไรเป็นเหตุ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นเพราะธรรมทั้งหลายอันกุลบุตรเหล่านั้นเรียนดีแล้ว๒ ดังนี้. ส่วนพระขีณาสพผู้มีขันธ์อันกำหนดรู้แล้ว มีกิเลสอันละแล้ว มีมรรคอันอบรมแล้ว มีธรรมอันไม่กำเริบแทงตลอดแล้ว มีนิโรธอันกระทำให้แจ้งแล้ว ย่อมเรียนซึ่งปริยัติใดเพื่อต้องการแก่อันดำรงซึ่งประเพณี เพื่อต้องการแก่อันตามรักษาซึ่งวงศ์ ปริยัตินี้ ชื่อว่า ปริยัติของท่านผู้ประดุจขุนคลัง.