เคารพในธรรม หนักในธรรม
อย่างไรจึงเรียกได้ว่า เคารพในธรรม หนักในธรรม
การเคารพพระธรรม มีหลายระดับ เบื้องต้น คือการฟังพระธรรมด้วยความตั้งใจ ไม่คุยกัน ไม่นั่งหลับ ไม่คะนองมือเท้า ไม่ดูหมิ่นผู้แสดง ไม่ดูหมิ่นเรื่องที่กำลังแสดงว่า ง่ายๆ ไม่เอาพระธรรมมาพูดเล่นกัน เมื่อฟังแล้ว น้อมประพฤติปฏิบัติโดยเคารพ คือไม่ เพียงเป็นผู้ฟัง เท่านั้น และ หนักในธรรม ก็ลักษณะเดียวกัน เช่น แสดงธรรมโดยเคารพ ไม่เห็นแก่อามิส ไม่เห็นแก่สิ่งอื่น นอกจากผู้ฟังจะเข้าใจพระธรรมเท่านั้น เพราะพระธรรมเป็นสิ่งประเสริฐ หาฟังได้ยาก และที่สำคัญ มาจากพระปัญญาคุณของพระพุทธเจ้า ดังนั้น การที่ตั้งใจฟัง ย่อมเป็นจุดเริ่มต้นไปสู่การน้อมประพฤติปฏิบัติตาม ถ้าไม่ตั้งใจฟังแล้ว จะไปถึงการประพฤติปฏิบัติตามได้อย่างไรครับ ...
ขอเชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่
ข้อสำคัญที่สุด ขออย่าได้เป็นผู้ที่เพียงฟัง ต้องรู้ว่า เพื่อน้อมประพฤติปฏิบัติตาม เท่าที่สามารถจะกระทำได้ จึงชื่อว่า เป็นผู้ที่เคารพในพระธรรมจริงๆ
ขออนุโมทนาท่านวิทยากรค่ะ
ผู้ที่เคารพในธรรม ... เป็นผู้ที่น่าเคารพอย่างยิ่ง.
ขออนุโมทนาค่ะ.
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ผู้ที่เคารพธรรมคือ ตั้งใจฟัง เป็นผู้ตรง เห็นประโยชน์ของพระธรรม น้อมนำประพฤติ ปฏิบัติตาม เป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลสจึงเป็นผู้เคารพในธรรม หนักในธรรม หากเป็นไป เพื่อเหตุอื่นมีลาภ สักการะ เป็นต้น ย่อมไม่ชื่อว่า เป็นผู้หนักในธรรม แต่ว่าเป็นผู้หนักใน อามิส พระธรรม เป็นสิ่งที่ประเสริฐ แม้พระพุทธเจ้าเมื่อไม่เห็นบุคคลใดเสมอกับพระองค์ พระองค์ก็ทรงทำความเคารพในพระธรรมที่พระองค์ทรงตรัสรู้อันเป็นสัจจะ ความจริง ผู้ที่เคารพพระธรรม คือ ต้องเป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลส เพราะพระธรรมของพระพุทธเจ้าที่พระองค์ทรงแสดงไม่ใช่เหตุอื่น นอกจากความเจริญขึ้นของปัญญาเพื่อดับกิเลสเท่านั้น ผู้ที่เคารพธรรมและหนักในธรรมจึงจะได้สาระจากพระธรรม
ขออนุโมทนาครับ
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ผู้ที่ศึกษาธรรม เข้าใจในธรรม
ปฎิบัติตามธรรม แล้วรักษาธรรม
จึงเชื่อว่าเป็นผู้เคารพธรรม
เคารพธรรม คือการศึกษาธรรมะแล้วน้อมนำมาประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน
หนักในธรรม คือยึดพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ถูกต้องเป็นหลัก ไม่เปลี่ยนค่ะ