อปฏิกูลสัญญา

 
prachern.s
วันที่  6 เม.ย. 2552
หมายเลข  11903
อ่าน  1,527

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 204

ส่วนฤทธิ์ที่ปราศจากอาสวะ ปราศจากอุปธิ ที่เรียกว่าเป็นของพระอริยะนั่นเป็นไฉน. คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงมีสัญญาในสิ่งปฏิกูลว่าไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาในสิ่งปฏิกูลนั้นว่าไม่ปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่าเราพึงมีสัญญาในสิ่งไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงมีสัญญาในสิ่งทั้งที่ปฏิกูลและไม่ปฏิกูลว่าไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาในสิ่งทั้งที่ปฏิกูลและไม่ปฏิ-กูลนั้นว่าไม่ปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงมีสัญญาในสิ่งทั้งที่ปฏิกูลและไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาในสิ่งทั้งที่ปฏิกูลและไม่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงละวางสิ่งที่เป็นปฏิกูลและไม่เป็นปฏิกูลทั้ง ๒ นั้นเสีย แล้ววางเฉยมีสติสัมปชัญญะก็ย่อมเป็นผู้วางเฉยในสิ่งนั้นที่เป็นปฏิกูลและไม่ปฏิกูลนั้นเสียมีสติ สัมปชัญญะอยู่. นี้ฤทธิ์ที่ปราศจากอาสวะ ปราศจากอุปธิ ที่เรียกว่าเป็นของพระอริยะ ...

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 244

ข้อความตอนหนึ่งจากอรรถกถาสัมปสาทนียสูตร

หลายบทว่า อปฺปฏิกูลสญฺญี ตตฺถ วิหรติ ความว่า ภิกษุย่อมมีความสำคัญในสิ่งปฏิกูลว่าไม่ปฏิกูลอยู่อย่างไร. คือ เธอย่อมแผ่เมตตาไปในสัตว์ที่ปฏิกูลคือ รวมความสำคัญว่าเป็นธาตุลงในสังขาร. เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า ภิกษุเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งปฏิกูล ว่าไม่ปฏิกูลนั้นอย่างไร คือ เธอย่อมแผ่เมตตาไปในวัตถุอันไม่น่าปรารถนา หรือรวมลงโดยเป็นธาตุดังนี้. หลายบทว่า ปฏิกูลสญญี ตตฺถ วิหรติ ความว่า ภิกษุย่อมแผ่อสุภสัญญาไปในสัตว์ซึ่งไม่ปฏิกูล คือรวมอนิจจสัญญาลงในสังขาร. เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า ภิกษุเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งไม่ปฏิกูลว่า ปฏิกูลอยู่อย่างไรคือ เธอย่อมแผ่ไปด้วยอสุภสัญญาในวัตถุที่น่าปรารถนาหรือรวมลง โดยเป็นของไม่เที่ยง ดังนี้.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
pornpaon
วันที่ 6 เม.ย. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
opanayigo
วันที่ 24 เม.ย. 2552

อนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ