มิจฉาอาชีวะ
อย่างไรจึงกล่าวว่าเป็น มิจฉาอาชีวะ ทั้งของบรรพชิตและคฤหัสถ์
มิจฉาอาชีวะ ย่อมลวง เหมือนเป็นผู้มีปกติแบ่งปันหมายถึงอย่างไร
มิจฉาอาชีวะ คือการเลี้ยงชีพผิด หมายถึง อกุศลจิตที่เป็นปัจจัยให้เกิดการกระทำ และคำพูดทุจริตเกี่ยวกับการเลี้ยงชีพที่ผิด เช่น การเลี้ยงชีพด้วยการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ การพูดเท็จในขณะที่ค้าขาย เป็นต้น ถ้าเป็นของบรรพชิตจะมีความละเอียดกว่าของคฤหัสถ์มาก เช่น การแจกของแก่คฤหัสถ์ การ เป็นหมอช่วยรักษาคนไข้ การช่วยเหลือสังคมด้วยประการต่างๆ เพื่อให้เขามาเลื่อมใส ถวายสิ่งแก่ตน เป็นต้น ชื่อว่าเป็นอาชีพที่ผิดของบรรพชิต ดังนั้นการลวงของอกุศลธรรมในข้อนี้ถ้าเป็นของบรรพชิตจะชัดเจนกว่าครับในวิสุทธิมรรคสีลนิเทสท่านอธิบายสัมมาอาชีวะของภิกษุดังนี้ [ อาชีวปาริสุทธิศีล ] ส่วนการงดเว้นจากมิจฉาชีวะ อันเป็นไปด้วยอำนาจแห่งการละเมิดสิกขาบท ๖ ที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติเพราะอาชีพเป็นเหตุเพราะอาชีพเป็นตัวการณ์ และ (ด้วยอำนาจ) แห่งบาปธรรมทั้งหลายมีอย่างนี้ คือ "การล่อลวง (กุหนา) การป้อยอ (ลปนา) การทำใบ้ (เนมิตฺติกา) การบีบบังคับ (นิปฺเปสิกตา) การแสวงหาลาภด้วยลาภ (ลาเภน ลาภํ นิชิคึสนตา) " ดังนี้เป็นต้น ศีลนี้ชื่อว่าอาชีวปาริสุทธิศีล. ..
อาชีพค้ายาพิษ ค้าสัตว์ โจร..... กล่าวโดยอาชีพเป็นมิจฉาอาชีวะ แต่ถ้าเป็น
อาชีพสุจริต เช่น นักการเมือง ข้าราชการของแผ่นดิน แต่ด้วยอกุศลจิตอาศัยอาชีพ
ที่สุจริตประกอบการทุจริต อย่างนี้กล่าวว่ามิจฉาอาชีวะได้หรือไม่
พูดส่อเสียด และเพ้อเจ้อ ไม่ว่าจะเป็นอาชีพไหนก็เป็นมิจฉาอาชีวะทั้งสิ้นครับ