...เปิดฉากด้วยการรับผลของกรรม

 
พุทธรักษา
วันที่  16 เม.ย. 2552
หมายเลข  11969
อ่าน  1,181

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สนทนาธรรมที่เขาเต่า ๑ - ๔ สิงหาคม ๒๕๓๗

ท่านผู้ฟัง ที่อาจารย์พูด "เรื่องกรรม" ที่ในรถ เมื่อคืนนี้อยากให้อาจารย์พูดซ้ำอีกที.เมื่อกี้ อาจารย์ก็บอกว่า เรารับวิบาก คือ ผลของกรรม ตลอดเวลาตื่นขึ้นมา กระทบแข็ง ก็ให้รู้ว่า เป็น "ผลของกรรม"

ท่านอาจารย์ เพื่อที่จะให้เรา มีความมั่นคง ในเรื่องกรรม เพราะว่า ทุกคนก็พูดกันว่า ทุกคน มีกรรมเป็นของของตนกรรมของเรา กรรมของเขา แต่ไม่ได้เจาะจงลงไปให้ชัด และ รายละเอียดขึ้นว่า ตอนไหน อย่างที่เราเกิดมา ก็ต้องเป็น "ผลของกรรม" กรรมใด กรรมหนึ่ง ที่ทำให้เราแตกต่างกันมากต่างกัน โดยเป็นสัตว์ ประเภทต่างๆ เป็นคนฐานะต่างๆ วงศาคณาญาติต่างๆ แล้วยังมี สุข ทุกข์ ข้างหน้า ซึ่งก็ต่างกันไป ตามกรรม ที่เราสะสมมา แสดงให้เห็นว่า "จิต" เป็นสภาพรู้ไม่เหมือนโต๊ะ ไม่เหมือนเก้าอี้ ฯลฯ "จิต" เป็นธาตุ ที่เกิดขึ้น แล้วต้องรู้ สิ่งหนึ่งสิ่งใด อย่างทางตา มีการ "เห็น" ก็ต้องมี "สิ่งที่ถูกเห็น" นี่ คือ "จิต" แล้วปรากฏการณ์เหล่านี้ เกิดขึ้นได้อย่างไร

พระโพธิสัตว์ ท่านต้องไตร่ตรอง เพื่อที่จะรู้สัจจธรรมเพราะท่านรู้ว่า นี่คือ "ความจริง" และ ความไม่รู้ คือ "อวิชชา" เราก็ศึกษาตาม ตลอดมา ว่า "จิต" มีจริงๆ กำลังเห็น ขณะนี้ เป็นสภาพรู้ และมี "เหตุปัจจัย" ให้เกิดขึ้น และถ้าไม่มี "ปฏิสนธิจิต" การเห็น ขณะนี้ ก็เกิดไม่ได้ เป็นต้น เพราะฉะนั้น แต่ละชาติ จะตั้งต้น ด้วย "ขณะจิตแรก" ที่เกิดขึ้นซึ่งจะต้องเป็น "ผลของกรรม" คือ กรรมหนึ่ง ที่จำแนกให้เราต่างกัน ตั้งแต่วันที่เกิด ขณะนั้น (ขณะปฏิสนธิ) มองไม่เห็นรูปเลย ไม่ว่าจะเป็นคน เป็นสัตว์ ก็ไม่เห็น แต่ "กรรม" ทำหน้าที่ คือ ทำให้เกิด "รูป" อยู่เรื่อยๆ อย่างเช่น "ตา" (จักขุปสาท) ก็เกิดจาก "กรรม" โสตปสาท ที่รับกระทบเสียง ก็เกิดเพราะ "กรรม" ตา หู จมูก ลิ้น กาย ทั้งหมดนี้ เกิดขึ้นเพราะ "กรรม"

แม้แต่รูปร่าง เราก็ไม่เคยคิด โตมา ก็โตไป เห็นมา ก็เห็นไปแต่จริงๆ แล้ว มาจากไหน "รูป" ที่เกิดแล้วดับนี้ เป็นเพราะ "กรรม" ทำให้เกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับอีก เพราะว่าเรา ไม่ใช่โต๊ะ ไม่ใช่เก้าอี้ จึงต้องมีการรับ "ผลของกรรม" เช่น ขณะที่ ตา เห็น ขณะนั้น เป็น "ผลของกรรม" ถ้าเราบอกว่า เป็น "กรรมของเรา" ก็คือ ขณะที่เรา "เห็น" ไม่ต้องไปถึงขณะที่หกล้ม หรือตอนที่ป่วยไข้ ฯลฯ เพราะฉะนั้น ทั้งวัน คือ กิเลส กรรม วิบาก

เรามี "กาย" นี้ สำหรับกระทบถ้าสบาย ก็คือ "ผลของกุศลกรรม" (กุศลวิบาก) แต่ถ้าเป็นบางขณะ เช่น หกล้ม เจ็บปวดที่ร่างกายขณะนั้น เป็น "ผลของอกุศลกรรม" (อกุศลวิบาก) ขณะนั้น ไม่ใช่ "กรรม" ขณะที่เจ็บ เป็นวิบากแท้ๆ เลยเพราะมี "กาย" จึงกระทบสิ่งนั้น แล้วรู้สึกเจ็บนี่คือ "การรับผลของกรรม" ทางกาย ซึ่ง เป็น "อกุศลวิบาก"

ไม่ว่า "กาย" จะกระทบอะไร ก็เป็น "วิบาก" เช่น จับอะไรที่แข็ง กระทบแข็ง ขณะนั้น เป็นวิบากแล้ว จะเรียกว่า เราเปิดฉาก "โลกนี้" ขึ้นมา ด้วยการรับ "ผลของกรรม" มีตา ก็เปิดฉากขึ้นมารับ "ผลของกรรม" ด้วยการเห็นสีสัน วัณณะมีหู ก็เปิดฉากขึ้นมารับ "ผลของกรรม" ด้วยการได้ยินเสียง ฯ มิฉะนั้น ก็จะเป็นภวังค์อยู่เรื่อยๆ คือ ไม่มีการเห็น ไม่มีการได้ยิน ฯ ตัวทั้งตัว (คือกาย) นี้ เป็น "ทาง" ที่จะได้รับ "ผลของกรรม" ทางตา คือ เห็น ทางหู คือ ได้ยิน ทางจมูก คือ ได้กลิ่นทางลิ้น คือ ลิ้มรส และ ทางกาย คือ การกระทบสัมผัสเป็นการรับ "ผลของกรรม" อยู่ตลอดเวลา

กิเลส กรรม วิบากเมื่อวิบากเกิด กิเลสก็เกิดต่อทันทีเมื่อกิเลสมี ที่จะหมดกรรม ก็เป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น (ปรมัตถธรรม - อภิธรรม) ไม่ได้อยู่ในตำรา แต่เป็น "ชีวิตจริง" ชีวิตจริงๆ ที่เปิดฉากออกมา เป็น อภิธรรมปรมัตถธรรม คือ เดี๋ยวนี้ เป็นเรื่องของสิ่งที่มีจริงๆ มี จิต เจตสิก ซึ่งเป็น "สภาพรู้" แล้วก็มี รูป ซึ่ง "ไม่ใสภาพรู้" อภิธรรม ตลอดชีพ (ถามว่า พอลืมตาขึ้นมา ก็เป็นวิบาก กิเลส กรรม หรือ)

ถ้าเราเริ่มรู้ เรารู้วิบากใช่ไหม เพราะว่า ต้องมีการเห็น ซึ่งใครก็ยับยั้งไม่ได้เพราะว่าเมื่อมี ตา ซึ่ง "กรรม" ทำให้เกิดการเห็นจึงเกิดขึ้น จะมีเทพบันดาล หรือ คนนั้น คนนี้ช่วย เป็นไปไม่ได้เลย เพราะไม่มีใครมาทำ หรือมาช่วยให้เราเกิด และ เมื่อเราเกิดมาแล้ว ใครทำให้เรามีจักขุปสาท ใครทำให้เราเห็นสิ่งนั้น สิ่งนี้ ก็ "กรรมของเรา" ใช่ไหม เรื่องเจ้ากรรมนายเวร จึงเป็นไปไม่ได้เลย พอพูดถึงเรื่อง "เจ้ากรรมนายเวร" คือ "ความคิด" แล้วเป็นการคิด ด้วยกุศล หรือ อกุศล. คิด ด้วยความติดข้อง หรือ คิด ด้วยความกลัว คิด ด้วยความต้องการ หรือ คิด ด้วยความหลงเชื่อ

แม้ "ความคิด" ก็จำแนกออกได้ ถ้าเป็นเหตุ เป็นผลก็เป็นผู้ที่มั่นคงในเรื่องของกรรม เป็น กัมมัสกตาญาณ ขณะนี้ กำลังเห็น เราไม่ต้องไปที่ไหนเลยเราก็สามารถรู้ด้วยตัวเองว่า เป็น "ผลของกรรม"เพราะ มีตา จึงได้เห็น มีหู จึงได้ยิน เป็นต้น แล้วมีใคร จะมาบันดาล นอกจากทุกคน มีกรรม เป็นของของตน

พอเห็นแล้ว กิเลส ก็มาทันที.!ต้องใช้คำว่า "ทันที" ... "โดยไม่รู้ตัว" มิฉะนั้น พระผู้มีพระภาค จะไม่ทรงแสดงเรื่อง "วิถีจิต" ว่า เวลาจะเกิดการเห็นขึ้น วาระหนึ่งนั้นจิตของเรา ที่กำลังเป็นภวังค์ เช่น ขณะที่นอนหลับสนิทพอมีอารมณ์มากระทบ ถ้ากระทบที่ตา การเห็นก็เกิดขึ้นได้ ถ้าเป็นเสียง ... เสียงกระทบตาไม่ได้เสียง ต้องกระทบกับโสตปสาท (หู) เท่านั้น จึงเกิดการได้ยินเป็นการเกิดเฉพาะแต่ละทางๆ (ไม่ปะปนกัน)

ในขณะที่อารมณ์ มากระทบ ต้องกระทบกับภวังค์จิตก่อนจะให้เห็น หรือ ได้ยินทันที ไม่ได้.!จิต ต้องเกิดตามลำดับ จิต ที่เกิดดับ ที่จะรู้อารมณ์ คือ "วิถีจิต" เพราะว่า ต้องเกิดดับสืบต่อกันจึงจะมีโลภะ โทสะ เกิดต่อจากการเห็น หรือ การได้ยิน (เช่น ทางตา) ต้องเริ่มจาก "การเห็น" เพราะเป็น วิถีจิต ที่อาศัยทางตา วิถีจิต อาศัยทางหู จึงเกิดการได้ยินเสียงวิถีจิต อาศัยทางลิ้น จึงเกิดการรู้รส เวลารับประทานอาหาร ฯ นี่เป็นเรื่องของ "วิบาก" แล้วก็ เป็น "กิเลส" (ทันที) แล้วก็เป็น "กรรม"

... ขออนุโมทนา ...


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 16 เม.ย. 2552
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 16 เม.ย. 2552

"รูป" ... ที่เกิดแล้วดับนี้ เป็นเพราะ "กรรม" ทำให้เกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับอีก เพราะว่าเรา ไม่ใช่โต๊ะ ไม่ใช่เก้าอี้ จึงต้องมีการรับ "ผลของกรรม"เช่นขณะที่ ตา เห็น ขณะนั้น เป็น "ผลของกรรม" ถ้าเราบอกว่า เป็น "กรรมของเรา" ก็คือ ขณะที่เรา "เห็น" ไม่ต้องไปถึงขณะที่หกล้ม หรือตอนที่ป่วยไข้ ฯลฯ เพราะฉะนั้น ทั้งวัน คือ กิเลส กรรม วิบาก

กิเลส กรรม วิบากเมื่อวิบากเกิด กิเลสก็เกิดต่อทันทีเมื่อกิเลสมี ที่จะหมดกรรม ก็เป็นไปไม่ได้

ขณะนี้ กำลังเห็น เราไม่ต้องไปที่ไหนเลยเราก็สามารถรู้ด้วยตัวเองว่า เป็น "ผลของกรรม" เพราะ มีตา จึงได้เห็น มีหู จึงได้ยิน เป็นต้น

นี่เป็นเรื่องของ "วิบาก" แล้วก็ เป็น "กิเลส" (ทันที) แล้วก็เป็น "กรรม"

ขออนุโมทนาครับผม

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ajarnkruo
วันที่ 16 เม.ย. 2552

เปิดฉากด้วยการรับผลของกรรม แล้วก็ต้องปิดฉากด้วยการรับผลของกรรมถ้ายังไม่ใช่ปรินิพพานของพระอรหันต์ ก็จะต้องเปิดฉากด้วยการรับผลของกรรมอื่นๆ ในชาติต่อไปอีก

... ขออนุโมทนาครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
สุภาพร
วันที่ 17 เม.ย. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

และ

ขอน้อมบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

ด้วยความเคารพยิ่ง

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pornpaon
วันที่ 17 เม.ย. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
rajapol
วันที่ 18 เม.ย. 2552

ขออนุโมทนาครับผม

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
suwit02
วันที่ 18 เม.ย. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
opanayigo
วันที่ 18 เม.ย. 2552

อภิธรรม ... ตลอดชีพ.!

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
saifon.p
วันที่ 19 เม.ย. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ