ความต้องการผล จะทำให้หาวิธีผสม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  16 เม.ย. 2552
หมายเลข  11971
อ่าน  2,695

ถ. เพื่อจะให้การปฏิบัติแน่วแน่ ไม่กระสับกระส่ายอย่างท่านอาจารย์ว่านะครับ ถ้าเราจะใช้วิธีอานาปานสติปัฏฐานจะได้ไหม กาย เวทนา จิต ธรรมแต่เราใช้ควบกับอานาปานสติ กระผมก็เลยตั้งชื่อพิเศษของกระผมว่า อานาปานสติปัฏฐาน การปฏิบัติเช่นนี้น่ะครับ

สุ. โดยมากความต้องการผล จะทำให้หาวิธีผสม เพราะบางทีพอไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร ก็ลองใช้อย่างโน้นกับอย่างนี้รวมกัน เผื่อว่าจะมีสัมปชัญญะบริบูรณ์ขึ้น และสติจะได้ไม่หลงลืมและจดจ้องอยู่ที่หนึ่งที่ใดได้นาน

แต่นี่เป็นลักษณะของความต้องการหรือเปล่า ท่านที่ต้องการให้จิตจดจ่อที่อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งนานๆ แต่ทางตาก็ระลึกไม่ได้ ระลึกไม่ถูก ทางหูทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ปรกติธรรมดาก็ระลึกไม่ถูก เมื่อต้องการให้จิตจดจ่ออยู่ที่หนึ่งที่ใด ก็เลยพยายามผสมรวมกันหลายๆ ทาง ซึ่งก็เป็นเพราะความต้องการ....จึงไม่ใช่การอบรมเจริญปัญญา

ผู้มีปรกติเจริญสติปัฏฐานนั้น อบรมเจริญปัญญาเพื่อรู้แล้วละ แต่เมื่อยังไม่รู้ก็ไม่ละ การพยามยามจะทำให้จิตจดจ่อนั้น ละความต้องการหรือเปล่า.....และก็ไม่ใช่การอบรมเจริญปัญญาเพื่อรู้แล้วละด้วย อย่าบิดเบือนทำอย่างอื่น หรือผสมการปฏิบัติอื่นๆ เข้ามาอีก เพราะจะไม่ทำให้รู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมขณะนี้ ที่กำลังปรากฏตามปรกติ ตามความเป็นจริง ได้ยินเป็นปรกติ คิดนึก เป็นสุขเป็นทุกข์ตามปรกตินั้น ล้วนเป็นธรรมทั้งหมด ตราบใดที่สติไม่เกิดขึ้นระลึกรู้ก็ไม่ใช่เป็นการอบรมเจริญสติปัฏฐานเพราะถึงพยายามทำอย่างอื่น ผสมวิธีต่างๆ มากสักเท่าไร ปัญญาก็ไม่ได้รู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามปรกติตามความเป็นจริง

ฉะนั้น จะมีประโยชน์อะไรที่จะไปผสมวิธีต่างๆ ขึ้น ในเมื่อไม่ใช่ปัญญาที่ศึกษาพิจารณารู้ลักษณะที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม ตามปรกติ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายทางใจ

ดาวน์โหลดหนังสือ --> ปรมัตถธรรมสังเขป


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
pamali
วันที่ 16 พ.ย. 2553

กราบท่านอจ. และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
วิริยะ
วันที่ 23 เม.ย. 2561

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 21 มี.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Sea
วันที่ 26 ก.พ. 2565

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
มังกรทอง
วันที่ 26 ก.พ. 2565

ขณะใดที่เห็นแล้วสนใจ เพลินในนิมิต คือ รูปร่างสัณฐานและอนุพยัญชนะ คือ ส่วนละเอียดของสิ่งที่ปรากฏ ให้ทราบว่าขณะนั้น เพราะ สี ปรากฏจึงทำให้คิดนึกเป็นรูปร่างสัณฐานและส่วนละเอียดของสิ่งต่างๆ ขึ้น เมื่อใดที่สติเกิดระลึกรู้ และปัญญาเริ่มศึกษาพิจารณา ก็จะเริ่มรู้ว่านิมิตและอนุพยัญชนะทั้งหลายซึ่งเป็นสีต่างๆ ก็เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้น นี้คือปัญญาที่เริ่มเข้าถึงลักษณะของสภาพธรรมที่ไม่ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล

น้อมกราบอนุโมทนาสาธุ สาธุ สาธุ ขอรับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chatchai.k
วันที่ 26 ก.พ. 2565

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ