มือที่มองไม่เห็น

 
kanchana.c
วันที่  19 เม.ย. 2552
หมายเลข  11999
อ่าน  4,075

วันนี้ 19 เม.ย. 52 ไปฟังธรรมที่มูลนิธิฯ โชคดีได้ร่วมรับประทานอาหารกลางวันกับท่านอาจารย์ ระหว่างการรับประทาน มีการสนทนากันถึงเรื่องที่ยังอยู่ในความสนใจของทุกคน คือ เหตุการณ์สงกรานต์เดือด ต่างคนก็ออกความคิดเห็นว่า น่าจะทำอย่างนี้ในตอนนั้น หรือไม่น่าจะทำอย่างนี้เลย หรือน่าจะมีใครสักคนผู้กล้าหาญช่วยจัดการทำบางสิ่งบางอย่างที่จะยับยั้งความแตกแยกขัดแย้งที่มีอยู่ในขณะนี้ ต่างก็แสดงออกด้วยโทสะไม่อยากให้สังคมมีความขัดแย้ง ด้วยโลภะ อยากให้ความสงบสุขกลับคืนมาเร็วๆ และด้วยโมหะ ความไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ตามความเป็นจริง ท่านอาจารย์พูดว่า ไม่ต้องทำอะไร เพราะมีมือที่มองไม่เห็นคอยจัดการอยู่แล้ว มือที่มองไม่เห็น คือ กรรมที่จะติดตามทุกคนไปทุกขณะ ไม่ว่าจะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่ว ถ้าพวกเรามั่นคงในเรื่องกรรมจริงๆ ก็จะไม่เดือดร้อนใจมากมายอย่างนี้ เพราะมือที่มองไม่เห็นนั้นจะติดตามไปจริงๆ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 19 เม.ย. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒-หน้าที่ 350

อรรถกถาสูตรที่ ๖

บทว่า ปฏิจฺฉนฺนกมฺมนฺตสฺส ได้แก่ ผู้มีการกระทำอันเป็นบาป​ เพราะคนทั้งหลายย่อมทำบาปโดยอาการปกปิด แม้หากทำโดยอาการไม่ปกปิด บาปกรรมก็ได้ชื่อว่า กรรมอันปกปิดอยู่นั่นเอง​ มีแต่สภาพธรรมและสภาพธรรมทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่มีใครไปจัดการทุกอย่างเกิดขึ้นเพราะมีเหตุปัจจัยปรุงแต่งไป มือที่มองไม่เห็น อันมีสภาพปกปิดคือกรรมที่ทำไว้จะคอยติดตามไป เป็นปัจจัยปรุงแต่งให้เป็นไปตามเหตุที่ทำไว้ ไม่มีใครรู้ว่าจะมาเมื่อไหร่ อย่างไรเพราะเป็นอนัตตา ปกปิดไม่ให้รู้ว่าจะให้ผลในขณะไหน แต่กรรมย่อมติดตามไปเหมือนล้อเกวียนย่อมหมุนไปตามรอยเท้าโค ดังนั้นเมื่อเข้าใจความจริงในเรื่องมือที่มองไม่เห็นคือกรรมที่ทำไว้ ก็จะไม่โทษใครหรือมีใครจะมาจัดการในสิ่งใดเพราะเข้าใจความจริงที่เกิดขึ้นว่าทุกอย่างเป็นธรรมและเป็นอนัตตา ประโยชน์ของการศึกษาธรรมคือการเข้าใจความจริง ขัดเกลากิเลสของตนเองเพราะทุกท่านก็มีมือที่มองไม่เห็นติดตามไปตลอดเช่นกัน ขออนุโมทนาบุญครับ

[เล่มที่ 41] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 34

"ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ ถ้าบุคคลมีใจร้าย พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี​ ทุกข์ย่อมไปตามเขา เพราะเหตุนั้น​ ดุจล้อหมุนไปตามรอยเท้าโค ผู้นำแอกไปอยู่ฉะนั้น​"

มือที่มองไม่เห็นย่อมติดตามไป ดุจล้อเกวียนย่อมหมุนไปตามรอยเท้าโคฉะนั้น อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
เมตตา
วันที่ 20 เม.ย. 2552

มือที่มองไม่เห็นคือ กรรม เหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นกับบ้านเมืองเรานั้น มีการคิดต่างๆ กันไปว่าใครเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง ใครเป็นผู้สั่งการ ใคร ... ทันทีที่ คิด อกุศลก็เกิด ผู้ที่มีความเข้าใจในพระธรรม มั่นคงในกรรมและผลของกรรม แล้วย่อมไม่ต้องคาดเดาใดๆ ทั้งสิ้น เพราะเข้าใจว่ามือที่มองไม่เห็นนั้นก็คือ กรรม ผลย่อมสมควรแก่เหตุ ไม่มีใครหลีกหนีกรรมที่ได้กระทำไว้อย่างแน่นอน

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 20 เม.ย. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 20 เม.ย. 2552

มือที่มองไม่เห็นของคนอื่น ก็เป็นของคนอื่น มือที่มองไม่เห็นของเราก็เป็นของเรา เห็นคนอื่นทำกรรมใด ย่อมรู้ว่ามีมือที่มองไม่เห็นของเขาเองตามไปจัดสรรผลของเขาเอง ที่สำคัญคือใส่ใจในการกระทำของเราเองจะดีกว่า ด้วยรู้ว่ามีมือที่มองไม่เห็นของเราติดตามคอยจัดสรรผลของเราอยู่เช่นกัน

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
choonj
วันที่ 20 เม.ย. 2552

เราผู้ศึกษาธรรม ก็จะสนใจอยู่ที่ว่ามือทีมองไม่เห็นนั้นคือ กรรม แล้วก็พอใจอยู่ที่นั้น แล้วก็ปล่อยให้เป็นไปตามกรรม เพราะเชื่อมั่นในกรรม หลีกเลียงไม่ได้ แต่ผู้คนที่ไม่ได้ศึกษาธรรม อยู่ในโลกของบัญญัติตัวตน มือที่มองไม่เห็น ถ้าเป็นผู้หวังดีต่อประเทศชาติ วิบากของคนในประเทศก็จะดี แต่ถ้าเป็นผู้หวังร้าย วิบากของคนในประเทศก็จะเหมื่อนประเทศกัมพูชาในอดีต มี KILLING FIELDS อาทิตย์ที่แล้วเราก็ฉิวเฉียดการที่จะมี KILLING FIELDS ในกรุงเทพฯ ต้องขอบคุณนโยบายรัฐและเสื้อแดงที่ยอมแพ้ ถ้าเป็นไปในตรงกันข้าม บรรยากาศหรือวิบากที่มีในอาทิตย์นี้คงไม่เป็นอย่างนี้ ก็จะกลายเป็นกาลวิบัติ กาลวิบัติมีจริงแล้วก็จะต้องมีแน่ในอนาคตเราผู้ศึกษาธรรม ก็ควรสั่งสมกุศลเพื่อไม่ให้ตกอยู่ในกาลวิบัติ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
khampan.a
วันที่ 20 เม.ย. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้ ” (จาก...[เล่มที่ 23] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม๓ ภาค ๒ - หน้าที่ ๒๕๑ จูฬกัมมวิภังคสูตร)

ในสังคมไทยปัจจุบัน คำว่า มือที่มองไม่เห็น มีหลายคนหยิบยกขึ้นมาพูดกันเป็นประเด็นให้ประชาชนได้พิจารณา บางคนอาจจะยังไม่มีคำตอบที่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร หรือ หมายถึงอะไร เมื่อได้ยินคำนี้ เป็นที่แน่นอนว่าความคิดของแต่ละบุคคลย่อมแตกต่างกันออกไป มีความคิดเห็นไปต่างๆ นานาตามการสะสม ซึ่งห้ามไม่ได้ในการคิด เพราะเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น แต่ถ้าเป็นผู้ที่ได้ศึกษาพระธรรมทางพระพุทธศาสนา ย่อมจะเป็นผู้มีความเข้าใจว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับบุคคลแต่ละคน หรือแม้กระทั่งเกิดกับตัวเราเอง ไม่ว่าดีหรือร้าย น่าปรารถนาหรือไม่น่าปรารถนาก็ตาม ล้วนแล้วแต่เป็นเพราะกรรมที่เคยได้กระทำมาแล้วทั้งสิ้น ไม่มีใครทำให้เลย ดังนั้น ถ้าไม่มีเหตุคือกรรมที่ได้กระทำมาแล้ว ผลที่จะเกิดย่อมมีไม่ได้ แต่เพราะมีเหตุคือกรรมที่ได้กระทำแล้ว เมื่อได้โอกาสที่กรรมจะให้ผล ผลจึงเกิดขึ้น เมื่อมีความเข้าใจอย่างนี้ ก็จะทำให้หวั่นไหวต่อเหตุการณ์ต่างๆ น้อยลง รวมไปถึงจะไม่โทษคนอื่นด้วย ดังนั้น คำตอบที่ชัดเจนในเรื่องของมือที่มองไม่เห็นจึงหมายถึง กรรม ซึ่งเป็นธรรมชาติที่ปกปิด โดยที่ไม่สามารถจะรู้ได้ว่ากรรมใดจะให้ผลเมื่อไร ควรที่จะได้พิจารณาว่า ทุกอย่างไม่แน่นอน ไม่รู้ว่าข้างหน้าอะไรจะเกิดขึ้นบ้าง ดังนั้นเมื่อจะสะสมกรรมที่จะทำให้เกิดผลในภายหน้า ก็พึงกระทำกรรมอันงาม สิ่งที่ไม่ดีคืออกุศลทั้งหลายซึ่งไม่เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนและแก่บุคคลอื่น ไม่ควรที่จะสะสมให้มีมากขึ้น เพราะเหตุว่าสิ่งที่จะเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย ทั้งในโลกนี้และในโลกหน้านั้นก็คือ กุศล ความดีทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือปัญญาซึ่งเป็นความเข้าใจถูกเห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง ครับ ..

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
suwit02
วันที่ 21 เม.ย. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
สามมหาอำนาจ
วันที่ 21 เม.ย. 2552

ขอแสดงความเห็นในฐานะผู้ยังอยู่ภายใต้การบงการของมือที่มองไม่เห็น ซึ่งเข้าใจว่าแท้จริงแล้วมือที่มองไม่เห็นก็คือกิเลส (โลภ โกรธ หลง) ที่อยู่ภายในจิตใจของเรานี้เอง โดยคอยปรุงแต่งให้มีแต่ "ฉัน" และ "ของฉัน" ไม่ว่าจะในรูปของการกระทำทั้งทางกาย วาจา ใจ อันปรากฏในทางกุศลหรืออกุศลก็ตาม ก็ล้วนแต่มีต้นเหตุแห่ง "มือที่มองไม่เห็น" อย่างไรก็ดีมือที่มองไม่เห็นอาจเปลี่ยนเป็นมือที่มองเห็นหรือไม่มีมือไม่มีการเห็นได้ก็ต่อเมื่อเรา (คนในสังคม) ทราบและตระหนักรู้อย่างแท้จริงว่า "ฉันคืออะไร" (ฉันนั้นไม่มี แต่ฉันนั้นเป็นเพียงธาตุขันธ์ที่มาประชุมรวมกัน แล้วแสดงให้ปรากฏตามเหตุปัจจัยอันมิใช่เป็นการยึดติดถือมั่น) และ "ฉันเกิดมาทำไม" (ฉันก็เกิดมาเพื่อพ้นทุกข์ โดยอาศัยศีล สมาธิ ปัญญา เป็นตัวชี้วัด และมี "สติ" ปัฏฐานสี่เป็นเครื่องมือ) เพียงเท่านี้เราก็ไม่ต้องมากังวลหรือสับสนกันว่ามือที่มองไม่เห็นคืออะไร จะมีนัยว่าคือกรรมหรืออะไรต่อมิอะไรก็ช่างเถอะ ขอให้มั่นคงในความเห็นชอบ (แบบไตรลักษณ์) และเพียรปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็พอ ส่วนผลจะเป็นอย่างไรไม่ใช่สิ่งที่เราต้องคำนึงหรือคาดหวัง เพราะเรามีหน้าที่ทำเหตุให้ดีเท่านั้น

...ขออนุโมทนา ครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
opanayigo
วันที่ 22 เม.ย. 2552

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
pannipa.v
วันที่ 22 เม.ย. 2552

ผู้มีปกติทำบาป ย่อมเดือดร้อนในโลกนี้ ละไปแล้วย่อมเดือดร้อน เขาย่อมเดือดร้อนในโลกทั้งสอง เขาย่อมเดือดร้อนว่า กรรมชั่วเราทำแล้ว ไปสู่ทุคติย่อมเดือดร้อนยิ่งขึ้น....

(คาถาธรรมบท)

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
wannee.s
วันที่ 23 เม.ย. 2552

มือที่มองไม่เห็น ทำดีหรือทำชั่วก็เป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น พ่อ แม่ พี่น้อง ญาติ เพื่อน หรือใครก็ตามจะรับแทนกันไม่ได้ เพราะฉะนั้นกรรมจึงยุติธรรมและเที่ยงตรงเสมอค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
pornpaon
วันที่ 24 เม.ย. 2552

ด้วยกรรม

จริงๆ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตและกุศลวิริยะทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
nida
วันที่ 26 เม.ย. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
คุณ
วันที่ 29 เม.ย. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
พุทธรักษา
วันที่ 1 พ.ค. 2552

กรรม ยุติธรรม เสมอ

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
จำแนกไว้ดีจ๊ะ
วันที่ 26 พ.ค. 2552
ครับ ผมมาอ่านแล้วครับ ขอขอบคุณครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
ทรงศักดิ์
วันที่ 24 มิ.ย. 2552

บุคคลที่ถูกกระทำ ใส่ร้าย ให้ถูกเกลียดชัง ก็เรียก บุคคลที่กระทำร้ายต่อตน ว่า มือที่มองไม่เห็น หากได้ศึกษาธรรม ก็จะเข้าใจได้ว่า มือที่มองไม่เห็นนั้น ก็คือ อกุศลกรรมที่ตนเองได้เคยทำไว้แล้วในอดีต กำลังให้ผลอยู่นั่นเอง ความทุกข์ใจและคิดแค้นเคืองก็จะบรรเทาไปได้บ้าง และ หากเข้าใจถึงว่า แม้ที่สำคัญว่า เป็นเราถูกกระทำ เป็นเขาที่กระทำ แท้จริงแล้ว ก็เป็นเพียงนามรูปหรือสภาพธรรมที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่มีอื่นนอกจากนี้ จิตของเขาก็จะเป็นกุศลไม่คิดแค้นและให้อภัยต่อมือที่มองไม่เห็นได้

ส่วนบุคคลที่กระทำร้าย โกหกใส่ร้ายต่อผู้อื่นให้ถูกเกลียดชัง ที่เรียกว่า มือที่มองไม่เห็น นั้น หากได้ศึกษาธรรมหรือระลึกถึงธรรมที่เคยศึกษามาแล้ว ก็คงรู้ว่า ตนเองกำลัง สะสมอกุศลกรรมอยู่ ซึ่งจะให้ผลเป็นทุกข์เดือดร้อนต่อไปในอนาคต เป็นการไม่สมควรที่จะกระทำกรรมนั้นต่อไป ขณะนั้นมีจิตที่เป็นกุศลเกิดขึ้น และละการทำชั่วนั้นได้

หากบุคคลใดที่ได้ศึกษาธรรมมีโอกาสได้สนทนากับกลุ่มบุคคลทั้งที่ถูกมือที่มองไม่เห็นเบียดเบียนอยู่และที่ถูกเรียกว่ามือที่มองไม่เห็นนั้น ก็ควรแนะนำธรรมตามสมควร เพื่อให้เขาได้มีปัจจัยสำหรับให้กุศลจิตเกิดขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อเขาทั้งหลายและคนอื่นๆ อีกมากมายด้วย แต่สภาพธรรมก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่อาจบังคับบัญชาได้นะครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
pamali
วันที่ 15 ก.พ. 2554

ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
nity
วันที่ 24 มี.ค. 2554

ขอแสดงความคิดเห็นด้วยคนค่ะ ผู้ศึกษาธรรมะอยู่ก็น่าจะมี 2 ประเภทนะคะ ประเภทที่ 1. มองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าทุกอย่างเกิดขึ้นเพราะมีเหตุปัจจัย แล้วก็วางเฉย (มีอุเบกขาเป็นอารมณ์) ส่วนประเภทที่ 2. คงจะเห็นสมควรว่าตนเองน่าจะแนะนำธรรมะตามสมควรกับบุคคลทั้งที่ถูกมือที่มองไม่เห็นเบียดเบียนอยู่ และบุคคลที่ทำตนเป็นผู้เบียดเบียน (มีจิตคิดเมตตา และเมื่อมีโอกาส..ความกรุณาอยากช่วยเหลือก็ตามมา)

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
peem
วันที่ 27 มี.ค. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
ประสาน
วันที่ 10 พ.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
สิริพรรณ
วันที่ 24 ต.ค. 2563

อกุศลกรรม มีทุกสมัย เป็นธรรมฝ่ายไม่ดี มีโทษ เมตตาธรรมคุ้มครองโลก ก็เป็นธรรม แต่เป็นธรรมฝ่ายดี ศึกษาพระธรรม จึงเข้าใจความจริง กุศลธรรมก็เจริญ เพราะความเข้าใจทำกิจ

กราบขอบพระคุณในธรรมทานค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 23  
 
chatchai.k
วันที่ 1 มี.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ