รู้สภาพธรรมที่ปรากฎ

 
เจิด
วันที่  9 พ.ค. 2549
หมายเลข  1202
อ่าน  1,040
การรู้สภาพธรรมที่ปรากฎ จะสังเกตอย่างไร หรือพิจารณาอย่างไร จึงจะไม่ผิดทาง

  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 10 พ.ค. 2549

การรู้สภาพธรรมที่ปรากฎ คือ การอบรมสติปัฏฐาน ขณะที่รู้ลักษณะของสภาพธรรมลักษณะนั้นต้องตรงกับปริยัติที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ เช่น ลักษณะของธาตุดินมีลักษณะแข็ง - อ่อน ไฟมีลักษณะเย็น - ร้อน จิตมีสภาพรู้แจ้งอารมณ์ เจตสิกแต่ละประเภทมีลักษณะแตกต่างกัน เช่น เวทนามีลักษณะเสวย คือ รู้สึก สัญญามีลักษณะจำอารมณ์ ปัญญามีลักษณะรู้ทั่ว ฯ เป็นต้น สรุปคือ ถ้ารู้ลักษณะตรงตามปริยัติที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้จึงจะไม่ผิดทาง

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
prapas.p
วันที่ 11 พ.ค. 2549

ธรรมดาปุถุชนก็ยังมีกิเลส โลภะ จะตรงกันข้ามกับความรู้เพื่อละคลายความ ติดข้องในสภาพธรรมะ และธรรมทั้งหลายก็เป็นอนัตตา ต้องอาศัยเหตุมากปัจจัยมาก ในการฟังพระธรรมและพิจารณาธรรมนั้นที่กำลังปรากฏให้ศึกษาได้ในขณะนั้น คำว่า ศึกษา ไม่ได้หมายความว่าเอา ตัวตน คือ เรา ไปบังคับให้รู้ แต่คำว่าศึกษาหมายความ ว่า สติและปัญญากำลังอบรม โดยรู้ทีละเล็กละน้อยเท่านั้น ก็ต้องตรงต่อตัวเองโดยรู้ว่า เพียงเพื่อละความไม่รู้ ไม่ใช่ต้องอยากรู้ให้ได้ ในขณะที่ความจริงแล้ว ปัญญายังไม่มี หรือมีก็เล็กน้อยมาก พิสูจน์ได้จากขณะที่กำลังรู้สึกตัวเท่านั้น ว่ามีธรรมมะกำลังปรากฎ ให้รู้ได้ตามที่เริ่มฟังพระธรรมไปทีละอย่าง โดยทำอะไรมากกว่านี้ไม่ได้เลย แต่หากจะ ทำให้มากกว่าที่รู้ได้เข้าใจได้ ก็คือตัวตนอยากรู้เกินทำเกินเพราะความต้องการ (โลภะ) เกิดแล้ว ไม่ระวังและไม่ยอมรู้จักโดยข้ามโลภะไป ยกความพยายามของโลภะนั้นให้เป็น ความดีความชอบของตัวเราว่ามีความเพียรแล้ว โดยไม่รู้ว่าเป็นความเพียรเลวที่กำลัง เข้าใจผิดว่า มันคือความรู้แล้ว พระผู้มีพระภาคจึงทรงแสดงคุณของความเป็นผู้มีสัจจะ บารมี (เป็นผู้ตรงต่อความรู้ของตัวเอง)

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
namarupa
วันที่ 12 พ.ค. 2549

หากเราเพิ่งเริ่มต้นศึกษาใหม่ๆ ควรที่จะฟังหรืออ่านให้เข้าใจก่อนในเรื่องความ ต่างของจิต เจตสิก และรูป เมื่อค่อยๆ เข้าใจแล้ว เมื่อมีลักษณะนั้นๆ กำลัง ปรากฏ หมั่นสังเกตในลักษณะของเขา ก็จะค่อยๆ เข้าใจขึ้น และเมื่อเหตุปัจจัย พร้อม สติก็จะทำหน้าที่ของเขาเองโดยที่เราไม่ต้องไปทำอะไรเลย ซึ่งจะค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป ตามลำดับของการศึกษา ตั้งแต่ขั้นปริยัติ ขั้นปฏิบัติ ไปจนถึง ขั้นประจักษ์ ซึ่งยังไม่ต้องเป็นกังวลกับขั้นประจักษ์เพราะเรายังอยู่ไกลมาก เอา แค่พื้นฐานก่อน ซึ่งก็แสนยากอยู่แล้ว ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากว่ามีใครสักคน ทำให้คุณเจิดโกรธ ซึ่ง (ภาษาธรรมเรียกว่าโทสะ) ขณะที่ลักษณะของโทสะหรือ ความโกรธกำลังเกิดขึ้น เป็นความหยาบกระด้างของจิต ความขัดเคือง ความไม่ ชอบใจ เป็นอาการที่ไม่สบาย ไม่ชอบ อาการนี้หรือลักษณะนี้เมื่อเกิดขึ้น ควรที่ จะพิจารณาและสังเกตในลักษณะของเขา ว่าเป็นอย่างไร? ซึ่งเกิดขึ้นรวดเร็ว มากและหลายขณะ หมั่นสังเกตในลักษณะของสภาพธรรมแต่ละอย่าง ซึ่งแตก ต่างกันมากไม่ว่าจะเป็นจิต เจตสิก หรือรูป บ่อยๆ เนืองๆ ปัญญาหรือความ เข้าใจ ซึ่งเป็นเจตสิกอีกตัวหนึ่ง ซึ่งสำคัญมาก ก็จะทำหน้าที่ของเขาเอง

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ก.ไก่
วันที่ 23 มี.ค. 2565

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ