ความแตกต่างของวิปลาส
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
สนทนาธรรมที่เขาเต่า ๑ - ๔ สิงหาคม ๒๕๓๗
ท่านผู้ฟัง : พอเห็น "เครือกล้วย" เท่านั้น ก็เหลืองสวย
ท่านอาจารย์ : แต่ละคน ก็แต่ละโลกจริงๆ แต่ละจิต แต่ละการสะสม ตามวิบาก มีชีวิตเป็นไปตามกรรม ตามเหตุ ตามปัจจัย.
ท่านผู้ฟัง : แต่ละวัน แต่ละชาติ ยังมีแต่ละ "ขณะ" อีก
ท่านอาจารย์ : นั่นก็จริง แล้วก็จะจากโลกนี้ไป ขณะไหน ได้หมดเลย เพียง "แต่ละขณะ" เท่านั้น
ท่านผู้ฟัง : พอได้ยินแล้ว ยังนึกไป ว่า น่ารัก เสียอีก
ท่านอาจารย์ : วิบาก อยู่ล้อมเราไปหมดไม่ใช่เพียงแต่เสียง ทางหู แต่ สี ทางตา ก็มี แต่ "สติ" ก็ไม่ระลึก เมื่อสติไม่ระลึก ก็ไปที่ "เรื่องราว" คือ "บัญญัติ" แต่ "สติ" สามารถที่จะกลับมาระลึก และ รู้ลักษณะของสภาพธรรม ตามความเป็นจริงที่ตรงนามธรรม หรือ รูปธรรมไหน ขณะไหน ก็ได้ทั้งนั้นเพราะว่า สภาพธรรมมีอยู่แล้ว
ท่านผู้ฟัง : ถ้าหาก "จิต" ยังเห็น เป็น "เครือกล้วย" อยู่ก็เป็น "สัญญาวิปลาส"
ท่านอาจารย์ : สัญญา เกิดกับจิตทุกขณะ
ท่านผู้ฟัง : เห็น "เครือกล้วย" เหลือง ก็เป็น "ทิฏฐิวิปลาส" อีกแล้ว
ท่านอาจารย์ : ขณะนั้น เป็น "สัญญาวิปลาส" เป็น "จิตวิปลาส" ไม่ใช่ "ทิฏฐิวิปลาส" เพราะว่า ยังไม่ได้มีความเห็นผิด เรื่องเกิด เรื่องตายเรื่องโลก ฯลฯ เห็นเป็น "เรื่อง" คือ "บัญญัติ" เพียงแค่นั้นเป็น "สัญญาวิปลาส" เป็น "จิตวิปลาส" แต่ถ้าเป็น "ทิฏฐิวิปลาส" ต้องมีความเห็นผิด ในเรื่องข้อปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง
ขออนุโมทนา
มองรูปกล้วยไข่ข้างบนแล้ว ... ก็ยังคงวิปลาสเหมือนเดิมเลยครับ
ขออนุโมทนาครับ
เห็นแล้ว "กล้วยสวยที่ ๑" สัญญา ก็ วิปลาส จิต ก็ วิปลาส เข้าใจคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง (ทุกที) ค่ะ
ขออนุโมทนาคุณพุทธรักษา
ขออนุโมทนาในกุศลจิตและกุศลวิริยะของทุกท่านค่ะ