คาถาของพระสีวลีเถระ [สีวลีเถรคาถา]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 301
๑๐. สีวลีเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระสีวลีเถระ [๑๙๗] ได้ยินว่า พระสีวลีเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า เราเข้าไปสู่กุฎีเพื่อประโยชน์อันใด เมื่อเราแสวง หาวิชชา และวิมุตติได้ถอนขึ้นซึ่งมานานุสัย ความ- ดำริของเราเหล่านั้นสำเร็จแล้ว. จบวรรควรรณนาที่ ๖ อรรถกถาสีวลีเถรคาถา คาถาของท่านพระสีวลีเถระ. เริ่มต้นว่า เต เม อิชฺฌึสุ สงฺกปฺปา.เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ? ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ แม้พระเถระนี้ ก็ไปสู่พระวิหาร โดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง ยืนฟังธรรมอยู่ท้ายบริษัท เห็นพระศาสดาทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่ง ไว้ในตำแหน่งแห่งภิกษุผู้เลิศกว่าภิกษุผู้มีลาภทั้งหลาย คิดว่า ในอนาคตกาล แม้เราก็ควรเป็นผู้เช่นนี้ ดังนี้แล้ว นิมนต์พระทศพลแล้วถวายมหาทานแด่พระบรมศาสดา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ตลอด ๗ วัน แล้วตั้งความปรารถนาว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยการกระทำอธิการนี้ ข้าพระองค์ไม่ปรารถนาสมบัติอย่างอื่น แต่ในอนาคตกาล ขอให้ข้าพระองค์พึงเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีลาภ ดุจภิกษุที่พระองค์ทรงแต่งตั้งไว้ในเอตทัคคะ. พระศาสดา ทรงเห็นความปรารถนาไม่มีอันตราย จึงทรงพยากรณ์ว่าความปรารถนาของท่านนี้จักสำเร็จในสำนักของพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่าโคตมะ ดังนี้แล้ว เสด็จหลีกไป แม้กุลบุตรนั้น ก็กระทำกุศลจนตลอดชีวิต ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ถือปฏิสนธิในหมู่บ้านแห่งหนึ่งไม่ไกลพระนครพันธุมดี ในกาลของพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี.ในสมัยนั้น ชาวเมืองพันธุมดีนคร แข็งขันกับพระราชา ถวายทานแด่พระ-ทศพล. วันหนึ่ง ชาวเมืองเหล่านั้นทั้งหมด ร่วมใจกันถวายทาน พูดกันว่าอะไรหนอแล ไม่มี ในทานพิธีของพวกเรา แล้วไม่เห็นน้ำอ้อยงบและนมส้ม.. คนเหล่านั้นจึงพูดกันว่า พวกเราจักหามาจากที่ใดที่หนึ่ง แล้ววางบุรุษไว้ที่หนทางอันผู้มาจากชนบทจะต้องผ่าน ครั้งนั้น กุลบุตรนั้น ถือเอาน้ำอ้อยงบและหม้อนมส้ม มาจากบ้าน คิดว่า เราจักไปเอาของบางอย่าง จึงเดินเข้าเมืองแล้วคิดว่า เราล้างหน้าล้างมือล้างเท้าแล้วจึงจักเข้าไป มองหาที่เป็นที่ผาสุกเห็นรังผึ้ง ที่ปราศจากตัวอ่อน ขนาดเท่างอนไถ คิดว่า ผึ้งรังนี้เกิดแก่เราด้วยบุญ ดังนี้แล้ว จึงถือเอาแล้วเข้าไปยังเมือง. บุรุษที่ชาวเมืองตั้งไว้เห็นเขาแล้ว จึงถามว่า พ่อมหาจำเริญ ท่านนำของนี้ไปให้ใคร? เขาตอบว่านาย เราไม่ได้นำของนี้มาให้ใคร แต่นำมาเพื่อจะขาย. บุรุษนั้นจึงพูดว่าพ่อมหาจำรูญ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงรับกหาปณะนี้ไป แล้วขายน้ำผึ้งและน้ำอ้อยงบให้เรา เขาคิดว่า ของนี้มีราคาไม่มาก แต่บุรุษนี้ให้ราคามาก โดยตีราคาหนเดียวเท่านั้น ควรเราจะลองดู. ลำดับนั้น เขาจึงพูดกับบุรุษนั้นว่า เราไม่ขายด้วยราคากหาปณะเดียว. บุรุษนั้นกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น จงรับไป ๒ กหาปณะแล้วขายเถิด. แม้สองกหาปณะก็ไม่ขาย. โดยอุบายนี้ บุรุษนั้น ขึ้นราคาไปจนถึงหนึ่งพันกหาปณะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑- หน้าที่ 303 เขาคิดว่า ของนี้ไม่ควรจะมีราคามาก. ข้อนี้จงยกไว้ก่อน เราจักถามถึงกิจการที่เขาต้องทำด้วยของนี้. ลำดับนั้น เขาจึงถามชายผู้นั้นว่า ของนี้มี
ราคาไม่มากแต่ท่านให้ราคามาก ท่านจะซื้อของนี้ไปทำอะไร? ชายผู้นั้นตอบ
ว่า พ่อมหาจำเริญ ชาวพระนครในเมืองนี้ พนันกับพระราชา ถวายทานแด่
พระทศพลทรงพระนามว่า วิปัสสี ไม่เห็นของสองอย่างนี้ ในทานพิธีจึงแสวงหา ถ้าไม่ได้ของสองสิ่งนี้ไป ชาวเมืองจะแพ้ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้า จึงซื้อให้ราคาถึงพันกหาปณะ. เขาถามว่า ก็ทานนี้ควรแก่ชาวเมืองเท่านั้นไม่สมควรแก่คนอื่นหรือ? บุรุษนั้นตอบว่า ทานนี้ใครๆ จะถวายก็ได้ไม่มีข้อห้าม. เขาถามว่า ในการถวายทานของชาวเมือง วันหนึ่งๆ มีคนให้ทรัพย์ตั้งพันกหาปณะ บ้างหรือไม่? ไม่มีเลยสหาย. ก็ท่านรู้ว่า ของสองอย่างนี้ มีราคาถึงพันกหาปณะมิใช่หรือ ? ใช่แล้ว ข้าพเจ้ารู้. ถ้าเช่นนั้น ท่านจงไป จงบอกแก่ชาวเมืองทั้งหลายว่า บุรุษคนหนึ่งไม่ยอมขายของสองอย่างนี้ โดยราคาประสงค์จะถวายด้วยมือของตนเท่านั้น พวกท่านก็จะหมดวิตกกังวล เพราะเหตุแห่งของสองอย่างนี้ ส่วนท่านจงเป็นประจักษ์พยาน ข้อที่เราเป็นหัวหน้าในทานพิธีนี้. เขาถือ ปัญจกฏุฐกะ (เครื่องเผ็ดทั้ง ๕) ด้วยเงินมาสกที่พกติดมาเพื่อเป็นเสบียงเดินทาง แล้วบดจนละเอียด ใส่น้ำส้มคั้นรวงผึ้งลงไปในน้ำส้มนั้น ผสมกับปัญจกฏุกะที่บดละเอียด ใส่ไว้ในบัวใบหนึ่ง บรรจงจัดใบบัวนั้น ถือไปแล้วนั่งในที่ไม่ไกลพระทศพล เมื่อมหาชนนำสักการะมา ก็คอยดูวาระที่ถึงตน ไม่ไกลกัน ได้โอกาส ก็เข้าไปใกล้พระศาสดา กราบทูลว่า นี้ เป็นทุคตบรรณาการบังเกิดแล้ว ขอพระองค์ทรงอาศัยความอนุเคราะห์ จงรับทุคตบรรณาการนี้ของข้าพระองค์ด้วยเถิด. พระศาสดา ทรงอาศัยความอนุเคราะห์เขา ทรงรับบรรณาการนั้น ด้วยบาตรศิลา ที่ท้าวจตุมหาราชถวายไว้แล้ว ทรงอธิษฐานไม่ให้ไทยธรรมที่ถวายแก่ภิกษุ ๖,๘๐๐,๐๐๐ รูป หมดสิ้นไป. กุลบุตรนั้น ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้การทำภัตกิจเสร็จแล้วยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า สักการะที่ ชาวเมืองพันธุมดี นำมาถวายพระองค์ ข้าพระองค์ ประสบแล้วในวันนี้ ด้วยผลแห่งกรรมนี้ ขอข้าพระองค์ พึงเป็นผู้ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยความเป็นผู้มี ลาภ ในภพที่เกิดแล้วๆ ดังนี้. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนกุลบุตร ความปรารถนาของท่านจงสำเร็จอย่างนั้น ดังนี้แล้ว ทรงกระทำภัตตานุโมทนาแก่เขาและชาวเมืองแล้วเสด็จหลีกไป. แม้กุลบุตรนั้น กระทำกุศลจนตลอดชีวิตท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ถือปฏิสนธิในครรภ์ของราชธิดา นามว่า สุปปวาสา ในพุทธุปบาทกาลนี้. นับแต่วันที่เขาถือปฏิสนธิ มีคนถือเอาเครื่องบรรณาการมาให้นางสุปปวาสา วันละร้อยเล่มเกวียน ทั้งในเวลาเย็นและในเวลาเช้า. ครั้งนั้น เพื่อจะทดลองบุญนั้น คนทั้งหลาย จึงให้นางเอามือจับกระเช้าพืช. พืชแต่ละเมล็ด ผลิตผลออกมาเป็นพืชดังร้อยกำ พันกำ พืชที่หว่านลงไปในที่นาแต่ละกรีส ก็เกิดผลประมาณ ๕๐ เล่มเกวียนบ้าง ๖๐ เล่มเกวียนบ้าง. แม้ในเวลาขนข้าวใส่ยุ้ง คนทั้งหลาย ก็ให้นางเอามือจับประตูยุ้ง. ด้วยบุญของราชธิดา เมื่อมีคนมารับของไป ที่ซึ่งคนถือเอาของไปแล้วๆ กลับเต็มเหมือนเดิม. เมื่อคนทั้งหลายพูดว่า บุญของราชธิดา แล้วให้ของแก่ใครๆ จากภาชนภัตรที่เต็มบริบูรณ์ ภัตรย่อมไม่สิ้นไป จนกว่าจะยกของพ้นจากที่ตั้งเพราะทารกยังอยู่ในท้องนั่นแหละ เวลาล่วงไปถึง ๗ ปี. ก็เมื่อครรภ์แก่รอบแล้ว นางเสวยทุกข์หนักตลอด ๗ วัน. นางเรียกสามีมาพูดว่า ดิฉันยังมีชีวิตจักถวายทานก่อนแต่จะตาย แล้วส่งสามีไปยังสำนักพระศาสดา ว่า ท่านจงไป จงกราบทูลความเป็นไปนี้ แด่พระศาสดา จงทูลเชิญพระศาสดา ถ้าพระศาสดาตรัสคำใด จงกำหนดคำนั้นให้ดี แล้วรีบมาบอกแก่ดิฉัน. สามีไปกราบทูลข่าวของนาง แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑- หน้าที่ 305 พระศาสดาตรัสว่า นางสุปปวาสา ธิดาของเจ้าโกลิยะ จงมีความสุขหาโรคมิได้ จงประสูติโอรส ผู้ไม่มีโรค. พระราชาสดับดังนั้นแล้ว ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จมุ่งหน้าไปยังพระราชวัง ของพระองค์. เด็ก
คลอดจากครรภ์ของนางสุปปวาสา ง่ายเหมือนเทน้ำออกจากธรมกรก (ที่กรอง-
น้ำ) ก่อนหน้าพระราชาเสด็จมาถึงหน่อยเดียวเท่านั้น ผู้คนที่นั่งแวดล้อมกำลังมีน้ำตานองหน้า ก็เริ่มหัวเราะได้ มหาชนพากันยินดีร่าเริง ได้พากันไปส่งข่าวพระราชา. พระราชา ทอดพระเนตรเห็นการมาของคนเหล่านั้น ทรงพระดำริว่าชะรอยถ้อยคำที่พระทศพลตรัสไว้ จักเป็นผลสำเร็จ. พระองค์รีบเสด็จมา แจ้งข่าวของพระศาสดา ต่อราชธิดา. ราชธิดากราบทูลว่า ชีวิตภัต ที่พระองค์จัดนิมนต์ไว้นั่นแหละจักเป็นมงคลภัต ขอพระองค์จงไปนิมนต์พระทศพล (ให้เสวย) ตลอด ๗ วัน. พระราชาทรงกระทำอย่างนั้น. คนทั้งหลายพากันบำเพ็ญมหาทาน แก่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขตลอด ๗ วันทารกผู้ยังจิตที่เร่าร้อนของหมู่ญาติทั้งปวงให้ดับลงได้ ประสูติแล้ว เพราะฉะนั้น คนทั้งหลายจึงขนานทารกว่า สีวลีทารก ดังนี้แล. เพราะอยู่ในท้องมารดามานานถึง ๗ ปี ทารกนั้น จึงแข็งแรง (อดทนต่องานทุกชนิด) .พระธรรมเสนาบดี สารีบุตร ได้ทำการสนทนาปราศัยกับเขา ในวันที่ ๗แม้พระบรมศาสดา ก็ได้ทรงภาษิตพระคาถาไว้ในธรรมบทว่า เรากล่าวผู้ล่วงทางลื่น ทางไปได้ยาก สงสาร และโมหะนี้เสียได้ เป็นผู้ข้ามแล้ว ถึงฝั่ง เพ่ง (ฌาน) ไม่หวั่นไหว ไม่มีความเคลือบแคลงสงสัย ดับแล้ว ด้วยไม่ยึดถือ ว่าเป็นพราหมณ์ ดังนี้. ลำดับนั้น พระเถระกล่าว (ชวน) เขาอย่างนี้ว่า ก็การที่เธอเสวยกองทุกข์เห็นปานนี้ แล้วบวช ไม่สมควรหรือ? ทารกตอบว่า (ถ้า) ได้รับอนุญาต ก็บวชท่านเจ้าข้า. พระนางสุปปวาสา เห็นทารกพูดกับพระเถระแล้วคิดในใจว่า บุตรของเรา พูดกับท่านพระธรรมเสนาบดี ว่าอย่างไรหนอแล จึงเข้าไปหาพระเถระแล้วเรียนถามว่า ท่านเจ้าข้า บุตรของดิฉันพูดอะไรกับท่าน. พระเถระตอบว่า บุตรของท่านกล่าวถึงทุกข์ที่อยู่ในครรภ์ อันตน เสวยแล้ว พูดว่า ถ้าท่านอนุญาตก็จักบวช. นางตอบว่า ท่านเจ้าข้า ดีแล้ว
ขอท่านจงให้เขาบวชเถิด. พระเถระนำสีวลีกุมารไปวิหารเมื่อบอกตจปัญจก-กรรมฐานแล้ว ให้บวช กล่าวสอนว่า ดูก่อนสีวลี การให้โอวาทอย่างอื่นไม่มีแก่เธอ เธอจงพิจารณา ถึงทุกข์ที่เธอเสวยมาตลอด ๗ ปี เท่านั้น สีวลีสามเณร กล่าวว่า ท่านขอรับ ภาระของท่าน คือการให้ข้าพเจ้าบวชส่วนกิจกรรมอันใด ที่ข้าพเจ้าสามารถที่จะทำได้ ข้าพเจ้าจักรู้กิจกรรมนั้นเอง.ก็สีวลีสามเณรตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ในขณะที่ขมวดผมปมแรก ถูกตัดออกนั่นเทียว ตั้งอยู่ในสกทาคามิผล ในขณะที่เกลียวผมปมที่ ๒ ถูกตัดออกตั้งอยู่ในอนาคามิผล ในขณะที่เกลียวผมปมที่ ๓ ถูกนำออก ส่วนการปลงผมสำเร็จ และการกระทำให้แจ้งพระอรหัต ได้มีไม่ก่อนไม่หลังกัน. จำเดิมแต่วันที่สีวลีสามเณรบรรลุพระอรหัต ปัจจัย ๔ ย่อมเกิดแก่ภิกษุสงฆ์ เพียงพอแก่ความต้องการ. ในข้อนี้ มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างนี้ ในเวลาต่อมา พระบรมศาสดาได้เสด็จไปยังพระนครสาวัตถี. พระสีวลีเถระถวายอภิวาทพระบรมศาสดาแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักทดลองบุญของ
ข้าพระองค์ ขอพระองค์จงมอบภิกษุ ๕๐๐ รูปแก่ข้าพระองค์ พระศาสดาตรัสสั่งว่า จงรับไปเถิด สีวลี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑- หน้าที่ 307 ท่านพาภิกษุ ๕๐๐ รูป เดินทางบ่ายหน้าไปสู่หิมวันตประเทศ เดินทางผ่านดง เทวดาที่สิงอยู่ที่ต้นไทร ที่ท่านเห็นเป็นครั้งแรก ได้ถวายทานตลอด ๗ วัน. เทวดาทั้งหลายได้ถวายทานทุกๆ ๗ วัน ในสถานที่ทั่วๆ ไป ที่ท่านเห็นต่างกรรม ต่างวาระ กันดังนี้ คือ ท่านเห็นต้นไทรเป็นครั้งแรก เห็นภูเขาชื่อว่า ปัณฑวะเป็นครั้งที่ ๒ เห็นแม่น้ำอจิรวดี เป็นครั้งที่ ๓ เห็นแม่น้ำวรสาครเป็นครั้งที่ ๔ เห็นภูเขาหิมวันต์เป็น ครั้งที่ ๕ ถึงป่าฉัททันต์ เป็นครั้งที่ ๖ ถึงภูเขาคันธ- มาทน์เป็นครั้งที่ ๗ และพบพระเรวตะ เป็นครั้งที่ ๘. ส่วนเทวดาผู้พระราชาทรงพระนามว่า นาคทัตตะ สถิตอยู่ ณ ภูเขาคันธมาทน์ ได้ถวายทานในวันทั้ง ๗ (คือ) ถวายขีรบิณฑบาต ในวันหนึ่งถวายสัปปิบิณฑบาตในวันหนึ่ง (สลับกันไป) . ภิกษุสงฆ์ถามว่า แม่โคที่จะรีดนม ของเทวดาผู้พระราชานี้ก็ไม่ปรากฏ การกวนนมส้มก็ไม่ปรากฏ ดูก่อนเทวดาผู้พระราชา ของนี้เกิดขึ้นแก่ท่านได้อย่างไร? ท้าวเทวราชตอบว่าข้าแต่ท่านผู้เจริญ นี้เป็นผลแห่งการถวายสลากภัตรน้ำนมแด่พระทศพล ทรงพระนามว่า กัสสปะ. ในกาลต่อมา พระศาสดาทรงกระทำการต้อนรับ ของพระขทิรวนิยเรวตเถระให้เป็นอัตถุปบัติ (เหตุเกิดแห่งเรื่อง) ทรงแต่งตั้งพระสีวลีเถระไว้ในตำแหน่งแห่งภิกษุผู้เลิศ ในบรรดาภิกษุผู้เลิศด้วยลาภ และเลิศด้วยยศทั้งหลาย ในศาสนาของพระองค์. ส่วนอาจารย์บางพวก กล่าวถึงการบรรลุพระอรหัตของพระเถระนี้ผู้บรรลุถึงความเป็นผู้เลิศด้วยลาภ เลิศด้วยศอย่างนี้ไว้ดังนี้ว่า เมื่อพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ให้โอวาทโดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง เมื่อสีวลีกุมารกล่าวว่า กระผมจักรู้กิจกรรมที่กระผมสามารถจักกระทำได้ (ด้วยตนเอง) ดังนี้แล้ว บรรพชาเรียนวิปัสสนากรรมฐาน เห็นกุฏีหลังหนึ่งว่าง (สงบสงัด) จึงเข้าไปสู่กุฏินั้นในวันนั้นแหละ ระลึกถึงทุกข์ที่ตนเสวยแล้ว ในท้องมารดาตลอด ๗ ปี แล้วพิจารณาทุกข์นั้น ในอดีตและอนาคต โดยทำนองนั้นแหละอยู่ ภพทั้ง ๓ ก็ปรากฏว่า เป็นเสมือนไฟติดทั่วแล้ว. สีวลีสามเณรหยั่งลงสู่วิปัสสนาวิถี เพราะญาณถึงความแก่รอบ ทำอาสวะแม้ทั้งปวงให้สิ้นไป ตาม ลำดับมรรค บรรลุพระอรหัตแล้ว ในขณะนั้นเอง. การบรรลุพระอรหัตของพระเถระนั้นแล ท่านประกาศ (ระบุไว้) โดยสภาพแม้ทั้งสอง ส่วนพระเถระก็เป็นผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา ได้อภิญญา ๖. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า ในกาลนั้น เราเป็นท้าวเทวราช มีนามว่า วรุณะ พรั่งพร้อมด้วยยาน พลทหารและพาหนะ บำรุงพระ- สัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระโลกนาถ ทรงพระนามว่า อรรถทัสสี ผู้สูงสุดกว่าสัตว์ เสด็จนิพพานแล้ว เราได้ นำเอาดนตรีทั้งปวงไปประโคมไม้โพธิ์อันอุดม เรา ประกอบด้วยการประโคม การฟ้อนรำ และกังสดาล ทุกอย่าง บำรุงไม้โพธิ์พฤกษ์อันอุดม ดังบำรุงพระ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑- หน้าที่ 309 สัมมาสัมพุทธเจ้า เฉพาะพระพักตร์ ครั้นบำรุง โพธิพฤกษ์ อันงอกขึ้นที่ดิน ดื่มรสด้วยรากนั้นแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ แล้วทำกาลกิริยา ณ ที่นั่นเอง เราปรารภ ในกรรมของตน เลื่อมใสในโพธพฤกษ์อันอุดม ได้ อุบัติยังชั้นนิมมานรดี ด้วยจิตอันเลื่อมใสนั้น ดนตรี หกหมื่นแวดล้อมเราทุกเมื่อ เป็นรูปในภพน้อยภพใหญ่ ทั้งในมนุษย์และเทวดา ไฟ ๓ กองของเราดับแล้ว ภพทั้งปวงเราถอนขึ้นได้แล้ว เราทรงกายสุดท้ายใน ศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในกัปที่ ๕๐๐ แต่ ภัทรกัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอมกษัตริย์ ๓๔ พระองค์ มีพระนามว่า สุพาหุ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของ พระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้. ก็พระสีวลีเถระ ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อเปล่งอุทาน ด้วยกำลังแห่งปีติ ได้กล่าวคาถาว่า เราเข้าไปสู่กุฏิ เพื่อประโยชน์อันใด เมื่อเรา แสวงหาวิชชาและวิมุตติ ได้ถอนขึ้นซึ่งมานุสัย ความ ดำริของเราเหล่านั้น สำเร็จแล้ว ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เต เม อิชฺฌึสุ สงฺกปฺปา ยทตฺโถ ปาวิสึกุฏึ วิชฺชาวิมุตฺตึ ปจฺเจสฺสํ ความว่า ความดำริในการออกจากกามเป็นต้นที่กระทำการถอนขึ้น ซึ่งความดำริในกามเป็นต้น ในกาลก่อนเหล่าใด อันเราปรารถนายิ่งนักว่า เมื่อไรหนอแล เราจักเข้าไปสงบ ตทายตนะ (พระนิพพาน) ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายเข้าถึงแล้วในปัจจุบัน คือความดำริที่มุ่งวิมุตติ ที่หมายรู้กันว่าเป็นความประสงค์เพื่อความหลุดพ้น ได้แก่มโนรถ เราไม่ประมาทเนื่องๆ เข้าไปสู่กุฎี คือ สุญญาคาร เพื่อต้องการสิ่งใด คือ เพื่อประโยชน์อันใดคือ เพื่อยังประโยชน์อันใดให้สำเร็จ ได้แก่เพื่อเห็นแจ้ง มุ่งแสวงหาวิชชา ๓ และผลวิมุตติ ความดำริเหล่านั้นสำเร็จแล้วแก่เรา คือความดำริเหล่านั้นสำเร็จแล้วคือสมบูรณ์สงค์เราแล้ว ทุกประการในบัดนี้ อธิบายว่า เป็นผู้มีความดำริที่เป็น กุศลสำเร็จแล้ว คือมีมโนรถบริบูรณ์แล้ว เพื่อจะแสดงถึงความสำเร็จ แห่งความดำริเหล่านั้น ท่านจึงกล่าวบทว่า มานานุสยมฺชฺชหํ (เราได้ถอนขึ้นซึ่งมานานุสัย) ดังนี้. ประกอบความว่า เพราะเหตุที่เราถอนขึ้น คือละ ได้แก่ ตัดขาดซึ่งมานานุสัย ฉะนั้น ความดำริทั้งหลายเหล่านั้น ของเราจึงสำเร็จ.อธิบายว่า เมื่อละมานานุสัยได้แล้ว ขึ้นชื่อว่า อนุสัยที่ยังละไม่ได้ไม่มี และพระอรหัต ย่อมชื่อว่าเป็นอันได้บรรลุแล้วอีกด้วย เพราะฉะนั้น การละมานานุสัย ท่านจึงกล่าวกระทำให้เป็นเหตุ แห่งความสำเร็จของความดำริตามที่กล่าวแล้ว. จบอรรถกถาสีวลีเถรคาถา