สัจจบารมีเป็นอย่างไร
[เล่มที่ 74] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 379
การบริจาคมหาทานเมื่อก่อนบวช และการสละราชสมบัติเป็นต้นของพระมหาสัตว์นั้นเป็นทานบารมี. การสำรวมกายวาจาเป็นศีลบารมี.การบรรพชาและการบรรลุฌานเป็นเนกขัมมบารมี. ปัญญาเริ่มต้นด้วยทำมนสิการโดยความเป็นของไม่เที่ยง จนบรรลุอภิญญาเป็นที่สุดและปัญญา.กำหนดธรรมเป็นอุปการะและไม่เป็นอุปการะแห่งทานเป็นต้น เป็นปัญญาบารมี. ความเพียรยังประโยชน์นั้นให้สำเร็จในที่ทั้งปวง เป็นวีริยบารมี.ญาณขันติและอธิวาสนขันติ เป็นขันติบารมี. การไม่พูดผิดจากคำปฏิญญาชื่อว่า สัจจบารมี. การตั้งใจสมาทานอันไม่หวั่นไหวในที่ทั้งปวง ชื่อว่าอธิษฐานบารมี. เพราะจิตคิดแต่ประโยชน์ในสรรพสัตว์ทั้งหลายด้วยอำนาจแห่งเมตตาพรหมวิหาร ชื่อว่า เมตตาบารมี. ด้วยการวางเฉยในความ ฯลฯ
[เล่มที่ 74] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓- หน้าที่ 464
๗. กปิลราชจริยา
ฯลฯ
จระเข้ นั้นกล่าวกะเราว่า มาเถิด แม้เราก็กล่าวกะ จระเข้นั้นว่า จะมา เราโดดลงเหยียบศีรษะ จระเข้นั้น แล้วโดดไปยืนอยู่ฝังโน้น เรามิได้ ทำตามคำของจระเข้ที่กล่าวหลอกลวงนั้นหา มิได้ ผู้เสมอด้วยคำสัจของเราไม่มี นี้เป็นสัจจบารมีของเรา ฉะนี้แล.
จบ กปิลราชจริยาที่ ๗