เห็นสี คือ อย่างไร...?

 
พุทธรักษา
วันที่  1 พ.ค. 2552
หมายเลข  12174
อ่าน  1,735

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สนทนาธรรมที่เขาเต่า ๑ - ๔ สิงหาคม ๒๕๓๗

ท่านผู้ฟัง ในความเข้าใจ ของผมสิ่งที่ปรากฏทางตา นั้นเมื่อเห็นแล้ว ก็เป็น รูปร่าง สัณฐานเมื่อเห็นสี เราก็รู้ว่า เป็นสีดำ (เป็นต้น)

ท่านอาจารย์ ปกติแล้ว เราไม่ได้ "นึก" ว่าเป็นสีดำขณะที่กำลังเห็น "สี" เห็นแล้วก็เห็นไป

ท่านผู้ฟัง เห็นทีไร ... ก็เป็นสีดำทุกที

ท่านอาจารย์ เห็น สีดำ ไม่ผิดค่ะ เพียงแต่ท่านผู้ฟัง ไม่ทราบว่ากำลัง "นึก" ว่า เป็น สีดำ หมายความว่า ขณะที่เห็น "สี" ขณะนั้น เราไม่ได้ "นึก" ว่าเป็นสีอะไร ขณะที่เห็น สี ... เราไม่ได้ "นึก" ว่า เป็นสีดำ ฯลฯ เพราะฉะนั้น ขณะที่เห็นสี ไม่ใช่ขณะที่นึกถึงสี

ต้องเข้าใจ ว่า ... เห็น คือ อย่างไร เห็น คือ เห็นทุกอย่าง (ทุกอย่าง ที่เป็น "สี" ที่ปรากฏเฉพาะทางตา เท่านั้น) แต่ ... ไม่ใช่ "การนึกถึง" รูปร่าง สัณฐาน ขณะเห็นจริงๆ เราไม่ได้ "นึกเป็นคำ" เช่น นั่นสีเขียว นั่นสีขาว ฯลฯ แต่ หลังจากเห็นแล้ว เราจึง "นึกคิด" ถึงรูปร่าง สัณฐานมีการ "จำ" รูปร่าง สัณฐานมีการ "จำ" เรื่องราวจากสิ่งที่ปรากฏทางตาหลังจากการเห็นดับไปแล้ว อย่างเช่น เวลาที่เราฝันเราไม่ได้เห็น "สี" จริงๆ แต่เป็นความจำ เป็นเรื่องราว.

"สิ่งที่ปรากฏทางตา" จะไม่ใช่ "สี" ไม่ได้.! เพียงแต่ว่า เมื่อเราเห็นแล้ว "สัญญา" ก็จำ รูปร่าง สัณฐาน จำเป็นเรื่องราว จากสิ่งที่เห็นคือ จำเรื่องราว จาก "สี" ที่ปรากฏทางตา นั่นเอง

เวลาที่เราพูดถึงสิ่งใดๆ ก็ตามเช่น สัตว์ บุคคล สิ่งของฯ เราก็จำได้ โดยไม่ต้องเห็น (สี) เพราะว่า เราจำได้ เราเคยชินว่า สิ่งนี้ ... มี "สี" อย่างนี้ทั้งๆ ที่ ขณะนั้นก็ไม่ใช่ขณะที่เห็น "สี" จริงๆ

ในชีวิตปกติประจำวันเราไม่ได้มานั่งนึก ว่า สีอะไร แต่เรากำลังจำ "เรื่องราว" เพราะฉะนั้น ให้เข้าใจว่า ขณะที่เราไม่ได้ไปเพ่งเล็งที่ "สี" อย่างนี้ พอเห็นแล้ว ... เราก็ "นึก" เป็นเรื่องราวไปหมดเลย เราต้องเข้าใจว่า ... สีแดง สีเหลือง สีเขียว ฯลฯ คือ สิ่งที่ปรากฏทางตา เท่านั้น.. "ไม่ใช่การจำชื่อ" ว่า นี่สีแดง นี่สีเหลือง ฯลฯ แม้เราไม่ต้องบอกว่าเป็นสีแดง เราก็เห็นสีแดง

ถ้าถามว่า "เห็นอะไร" ในขณะนี้ก็ต้องเข้าใจ ว่า ... เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา แม้ไม่บอกว่าเห็นสีอะไร ขณะนั้น คือเห็น "สี" แล้วเพราะว่า ขณะนั้น เพ่งเล็งไปที่ "สี" ที่ปรากฏทางตา

ถ้าเราเห็นกระเป๋า ... แล้วถามว่า "เห็นอะไร.?" เราก็คงบอกว่า เห็น "กระเป๋า" เราคงไม่บอกว่า เห็น "สีของกระเป๋า" หมายความว่า ขณะนั้น เห็นสีแล้ว แต่ (สัญญา) จำได้ว่าเป็นสิ่งต่างๆ (เป็นบัญญัติ)

อย่างเช่น ถามถึงมะพร้าว ก็ตอบว่า เห็นมะพร้าว ทั้งๆ ที่ "สีเขียว" ของมะพร้าว ก็มีอยู่แล้วเพราะฉะนั้น ถ้าเราจำรูปร่าง สัณฐาน ของมะพร้าว ก็คือ เราจำ "เรื่องของมะพร้าว"ซึ่งจริงๆ แล้ว มะพร้าว ไม่ได้มีสีเขียว สีเดียวสีขาวก็มี สีน้ำตาลก็มี สีอ่อน สีเข้มต่างๆ ฯลฯ แต่เราก็ตอบว่า เราเห็นมะพร้าว หมายความว่าชีวิตประจำวันของเราสิ่งที่ปรากฏทางตา มี แต่เราไม่สนใจ

(เพราะขณะนั้น สติปัฏฐานไม่เกิด ไม่มีปรมัตถ์ คือ "สี" เป็นอารมณ์) เราสนใน "เรื่องราว" ของสิ่งที่ปรากฏทางตาเรา ยึดถือ "เรื่องราว" จากสิ่งที่ปรากฏทางตา และเราเข้าใจผิดว่า เรื่องราวนั้น เป็นของจริงทำให้เราเข้าใจผิดว่า สิ่งที่ปรากฏทางตา (สี) เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เป็นสิ่งของต่างๆ เพราะฉะนั้น นี่ก็คือ ขณะที่เรามี "สมมติบัญญัติ" เป็นอารมณ์มีความทรงจำ คือ "สัญญา" หมายถึง "สัญญา" ที่เป็น "อัตตสัญญา" ที่เกิดขึ้น หลังจากที่เราเห็น สิ่งที่ปรากฏทางตาและ มีการ "นึกถึง" รูปร่าง สัณฐาน แล้วก็มี "บัญญัติ" (เป็นอารมณ์) หลังจากที่เราเห็น สิ่งที่ปรากฏทางตา ซึ่ง ตามความจริงแล้วสิ่งที่ปรากฏทางตา คือ "สี" เท่านี้น

... ขออนุโมทนา ...


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
hadezz
วันที่ 1 พ.ค. 2552

ขออนุโททนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
เมตตา
วันที่ 1 พ.ค. 2552

เห็นสี คือ อย่างไร ...?

ขณะที่เรามี "สมมติบัญญัติ" เป็นอารมณ์มีความทรงจำ คือ "สัญญา" หมายถึง "สัญญา" ที่เป็น "อัตตสัญญา" ที่เกิดขึ้น หลังจากที่เราเห็น สิ่งที่ปรากฏทางตาและ มีการ "นึกถึง" รูปร่าง สัณฐาน แล้วก็มี "บัญญัติ" (เป็นอารมณ์) หลังจากที่เราเห็น สิ่งที่ปรากฏทางตา ซึ่ง ตามความจริงแล้วสิ่งที่ปรากฏทางตา คือ "สี" เท่านี้น

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
suwit02
วันที่ 1 พ.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
natnicha
วันที่ 1 พ.ค. 2552
อนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pornpaon
วันที่ 1 พ.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Komsan
วันที่ 1 พ.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
paderm
วันที่ 1 พ.ค. 2552
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Nataya
วันที่ 2 ก.พ. 2564

สาธุ สาธุ สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Kalaya
วันที่ 27 มี.ค. 2564

กราบสาธุ คำสอน ที่ท่านอาจารย์กล่าวให้ได้อ่านค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ