สัทธรรมมีความหมายหลายนัย

 
JANYAPINPARD
วันที่  1 พ.ค. 2552
หมายเลข  12175
อ่าน  11,182

คำว่า "สัทธรรม" หมายถึงธรรมของผู้สงบคือสัตบุรุษ ในพระไตรปิฎกแสดงไว้หลายนัยคือ บางแห่งแสดงสัทธรรม ๓ บางแห่งแสดง ๔ บางแห่ง ๗ บางแห่ง ๘ บางแห่ง ๑๐ เป็นต้น

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ หน้าที่ 129

บทว่า สทฺธมฺมฏฐิติยา ความว่า สัทธรรมมี ๓ อย่าง คือ ปริยัตติสัทธรรม ปฏิปัตติสัทธรรม อธิคมสัทธรรม. บรรดาสัทธรรม ๓ อย่างนั้น พุทธวจนะแม้ทั้งสิ้น ชื่อว่า ปริยัตติสัทธรรม สัทธรรมนี้คือธุดงค์คุณ ๑๓ จาริตศีล วาริตศีล สมาธิ วิปัสสนา ชื่อว่า ปฏิปัตติสัทธรรม โลกุตรธรรม ๙ ชื่อว่า อธิคมสัทธรรม

สัทธรรมนั้นแม้ทั้งหมด เพราะเหตุที่เมื่อมีบัญญัติสิกขาบท ภิกษุทั้งหลายย่อมเรียนสิกขาบทวิภังค์แห่งสิกขาบทนั้น และพระพุทธวจนะอื่น เพื่อส่องความสิกขาบทและวิภังค์นั้น และเมื่อปฏิบัติสิกขาบทตามที่ทรงบัญญัติ บำเพ็ญข้อปฏิบัติย่อมบรรลุโลกุตรธรรมพี่พึงบรรลุด้วยข้อปฏิบัติ ฉะนั้น พระสัทธรรมจึง


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 1 พ.ค. 2552

[เล่มที่ 16] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒- หน้าที่ 229

[๓๓๐] สัทธรรม ๗ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

๑. เป็นผู้มีศรัทธา

๒. เป็นผู้มีหิริ

๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ

๔. เป็นผู้มีพหูสูต

๕. เป็นผู้ปรารภความเพียร

๖. เป็นผู้มีสติมั่นคง

๗. เป็นผู้มีปัญญา.

๔. ทุติยโกธสูตร

ว่าด้วยอสัทธรรม ๔

[๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัทธรรม ๔ ประเภทนี้ อสัทธรรม ๔ ประเภท คืออะไร คือ

ความเป็นผู้หนักในความโกรธ ไม่หนักในพระสัทธรรม ๑

ความเป็นผู้หนักในความลบหลู่ท่าน ไม่หนักในพระสัทธรรม ๑

ความเป็นผู้หนักในลาภ ไม่หนักในพระสัทธรรม ๑

ความเป็นผู้หนักในสักการะไม่หนักในพระสัทธรรม ๑

นี้แล อสัทธรรม ๔ ประเภท

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระสัทธรรม ๔ ประเภทนี้ พระสัทธรรม ๔ ประเภท คืออะไร คือ

ความเป็นผู้หนักในพระสัทธรรม ไม่หนักในความโกรธ ๑

ความเป็นผู้หนักในพระสัทธรรม ไม่หนักในความลบหลู่ท่าน ๑

ความเป็นผู้หนักในพระสัทธรรม ไม่หนักในลาภ ๑

ความเป็นผู้หนักในพระสัทธรรม ไม่หนักในสักการะ ๑

นี้แล

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 1 พ.ค. 2552

[เล่มที่ 43] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔- หน้าที่ 358

"ภิกษุมีธรรมเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในธรรม ใคร่ครวญอยู่ซึ่งธรรม ระลึกถึงธรรมอยู่ ย่อมไม่เสื่อมจากพระสัทธรรม"

บทว่า สทฺธมฺมา ความว่า ภิกษุเห็นปานนั้น ย่อมไม่เสื่อมจาก โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประเภท และจาก โลกุตรธรรม ๙

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
suwit02
วันที่ 1 พ.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เข้าใจ
วันที่ 8 ส.ค. 2555

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
peem
วันที่ 21 มี.ค. 2558

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
orawan.c
วันที่ 7 พ.ย. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
kullawat
วันที่ 29 ม.ค. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
kullawat
วันที่ 29 ม.ค. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
chatchai.k
วันที่ 31 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Nont
วันที่ 1 มิ.ย. 2564

ขอบคุณครับ  ได้ความรู้อย่างมาก. เข้าใจธรรมของพระพุทธเจ้ามากขึ้น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ