วิมานในพระไตรปิฎก

 
JANYAPINPARD
วันที่  1 พ.ค. 2552
หมายเลข  12183
อ่าน  1,662

โปรดอ่านข้อความโดยตรงจาก

อรรถกถาธรรมบท

[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 420

นันทิยะดำรงตำแหน่งทานบดี จำเดิมแต่มารดาบิดาทำกาละ แม้นายนันทิยะก็เป็นมหาทานบดีเตรียมตั้งทานสำหรับภิกษุสงฆ์. และเริ่มตั้งค่าอาหารแม้สำหรับคนกำพร้าและคนเดินทางเป็นต้น ไว้ที่ประตูเรือน ในกาลต่อมา เขาฟังพระธรรม-เทศนาของพระศาสดา กำหนดอานิสงส์ในการถวายอาวาสได้แล้ว ให้ทำศาลา ๔ มุข ประดับด้วยห้อง ๔ ห้อง ในมหาวิหารในป่าอิสิปตนะแล้วให้ลาคเตียงและตั่งเป็นต้น เมื่อจะมอบถวายอาวาสนั้น ได้ถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข แล้วถวายน้ำทักขิโณทก แด่พระตถาคต. ปราสาททิพย์สำเร็จโดยรัตนะ ๗ ประการ สมบูรณ์ด้วยหมู่นารี มีประมาณ ๑๒ โยชน์ในทิศทั้งปวง เบื้องบนสูงประมาณ ๑๐๐ โยชน์ผุดขึ้นในเทวโลกชั้นดาวดึงส์ พร้อมด้วยการตั้งน้ำทักขิโณทก ในพระหัตถ์ของพระศาสดาทีเดียว พระมหาโมคคัลลานะไปเยี่ยมสวรรค์ ภายหลังวันหนึ่ง พระมหาโมคคัลลานเถระไปสู่ที่จาริกในเทวโลกยืนอยู่แล้วในที่ไม่ไกลจากปราสาทนั้น ถามเทวบุตรทั้งหลายซึ่งมาสู่สำนักของตนว่า "ปราสาททิพย์ เต็มด้วยหมู่นางอัปสรนั่น เกิดแล้วเพื่อใคร" ลำดับนั้น พวกเทวบุตรนั้นเมื่อจะบอกเจ้าของวิมานแก่พระเถระนั้นจึงกล่าวว่า "ท่านผู้เจริญ วิมานั่นเกิดแล้วเพื่อประโยชน์แก่บุตรคฤหบดีชื่อนันทิยะ ผู้สร้างวิหารถวายพระศาสดา ในป่าอิสิปตนะ" ฝ่ายหมู่นางอัปสร เห็นพระเถระนั้นแล้ว ลงจากปราสาทกล่าวว่า "ท่านผู้เจริญ พวกดิฉันเกิดในที่นี้ ด้วยหวังว่า ' จักเป็นนางบำเรอของนายนันทิยะ ' แต่เมื่อไม่พบเห็นนายนันทิยะนั้น เป็นผู้ระอาเหลือเกิน; ด้วยว่าการละมนุษยสมบัติ แล้วถือเอาทิพยสมบัติ ก็เช่นกับการทำลายถาดดินแล้วถือเอาถาดทองคำฉะนั้น พระผู้เป็นเจ้าพึงบอกเขา เพื่อประโยชน์แก่การมา ณ ที่นี้" ทิพยสมบัติเกิดรอผู้ทำบุญ พระเถระกลับมาจากเทวโลกนั้นแล้ว เขาไปเฝ้าพระศาสดาทูลถามว่า "พระเจ้าข้า ทิพยสมบัติย่อมเกิดแก่บุคคลผู้ทำความดีที่ยังอยู่มนุษย์โลกนี่เอง หรือหนอแล" พระศาสดา โมคคัลลานะ ทิพยสมบัติที่เกิดแล้วแก่นายนันทิยะในเทวโลก อันเธอเห็นแล้วเองมิใช่หรือ ไฉนจึงถามเราเล่า โมคคัลลานะ ทิพยสมบัติเกิดได้อย่างนั้นหรือ พระเจ้าข้า

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะพระเถระนั้นว่า โมคคัลลานะ เธอพูดอะไรนั่น เหมือนอย่างว่า ใครๆ ยืนอยู่ที่ประตูเรือน เห็นบุตรพี่น้อง ผู้ไปอยู่ต่างถิ่นมานาน (กลับ) มาแต่ถิ่นที่จากไปอยู่ พึงมาสู่เรือนโดยเร็ว บอกว่า ' คนชื่อโน้น มาแล้ว.' เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกญาติของเขาก็ยินดีร่าเริงแล้ว ออกมาโดยขมีขมัน พึงยินดียิ่งกะผู้นั้นว่า ' พ่อ มาแล้ว พ่อ มาแล้ว ่ ฉันใด; เหล่าเทวดา (ต่าง) ถือเอาเครื่องบรรณาการอันเป็นทิพย์ ๑๐ อย่างต้อนรับด้วยคิดว่า ' เราก่อน เราก่อน ' แล้วย่อมยินดียิ่งกะสตรีหรือบุรุษ ผู้ทำความดีไว้ในโลกนี้ ซึ่งละโลกนี้แล้วไปสู่โลกหน้าฉันนั้นเหมือนกัน ดังนี้แล้ว ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :- ๙. จิรปฺปวาส ปุริสํ ทูรโต โสตฺถิมาคตํ ญาตี มิตฺตา สุหชฺชา จ อภินนฺทนฺติ อาคตํ ตเถว กตปุญฺญมฺปิ อสฺมา โลกา ปรํ คตํ ปุญฺญานิ ปฏิคณฺหนฺติ ปิยํ ญาตีว อาคตํ ญาติ มิตร และคนมีใจดีทั้งหลาย เห็นบุรุษผู้ ไปอยู่ต่างถิ่นมานาน มาแล้วแต่ที่ไกลโดยสวัสดี ย่อมยินดียิ่งว่า 'มาแล้ว ' ฉันใด. บุญทั้งหลายก็ย่อม ต้อนรับแม้บุคคลผู้กระทำบุญไว้ ซึ่งไปจากโลกนี้สู่ โลกหน้า ดุจพวกญาติเห็นญาติที่รักมาแล้ว ต้อนรับ อยู่ ฉันนั้นแล

ฯลฯ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
suwit02
วันที่ 1 พ.ค. 2552

"ญาติ มิตร และคนมีใจดีทั้งหลาย เห็นบุรุษผู้ ไปอยู่ต่างถิ่นมานาน มาแล้วแต่ที่ไกลโดยสวัสดี ย่อมยินดียิ่งว่า 'มาแล้ว ' ฉันใด. บุญทั้งหลายก็ย่อม ต้อนรับแม้บุคคลผู้กระทำบุญไว้ ซึ่งไปจากโลกนี้สู่ โลกหน้า ดุจพวกญาติเห็นญาติที่รักมาแล้ว ต้อนรับ อยู่ ฉันนั้นแล.

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 14 เม.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ