หยุด...ทำร้ายใจตัวเอง

 
pannipa.v
วันที่  3 พ.ค. 2552
หมายเลข  12192
อ่าน  1,617

หลังจากมีกลุ่มคนรักสี.... ต่างก็ผลัดกันออกมาเรียกร้อง เร่งเร้า รุนแรง จน ประเทศถึงแก่วิกฤต บัดนี้มีอีกกลุ่มหนึ่ง ออกมาเรียกร้องให้แสดงความรักชาติ (ค่อนข้างเห็นดีด้วยนะ พอรับได้) ด้วยการติดธงชาติ เป็นสัญญลักษณ์ ว่า

"หยุด...ทำร้ายประเทศไทย"

ขอเรียกร้องบ้างดีกว่า ว่า หยุด...ทำร้ายใจตัวเอง จะยากเกินไปไหมนะ??


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 4 พ.ค. 2552

ขณะที่ หยุด...ทำร้ายใจตัวเอง ขณะนั้นก็ "หยุด...ทำร้ายประเทศไทย"

เพราะประเทศเริ่มต้นที่ตัวเรา ถ้าไม่มีตัวเราทุกคนก็ไม่มีประเทศ (โดยสมมติ)

ขณะที่ทำความดีด้วยกาย วาจา ใจ ชื่อว่ารักตน ชื่อว่ารักประเทศชาติ รักโลก..

ขออนุโมทนา คุณ pannipa.v ที่จุดประกายความคิดดีๆ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
suwit02
วันที่ 4 พ.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
พุทธรักษา
วันที่ 4 พ.ค. 2552

ขออนุโมทนา...เช่นกันค่ะ.

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
pornpaon
วันที่ 4 พ.ค. 2552

ขณะที่ หยุด... ทำร้ายใจตัวเอง

ขณะนั้นก็ "หยุด... ทำร้ายประเทศไทย"

ขออนุโมทนาคุณ pannipa.v

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ปทปรม
วันที่ 4 พ.ค. 2552

ชาติใดไร้รักสมัครสมาน จะทำการสิ่งใดก็ไร้ผล

แม้ชาติย่อยยับอับจน บุคคลจะสุขอยู่อย่างไร

อ้าว !!! สงสัยเข้าผิดเว็บ ความจริง ไม่มีเรา ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน มีแต่ จิต เจตสิก รูป เท่านั้น และทุกอย่างเป็นธรรมะ แต่เมื่อสติไม่เกิด ก็มีแต่สมมติบัญญัติทั้งนั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 4 พ.ค. 2552

จิตที่ตั้งไว้ผิด

จิตซึ่งตั้งไว้ผิดแล้ว พึงทำเขา (บุคคล) นั้น ให้เลวทรามยิ่งกว่าความพินาศฉิบหาย ที่โจรเห็นโจรหรือคนจองเวรทำ (แก่กัน) นั้น (เสียอีก) .

[เล่มที่ 40] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้า 443

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
เมตตา
วันที่ 5 พ.ค. 2552

ขอยกข้อความบางตอนจากการกล่าวของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ในวาระที่ได้รับรางวัลสตรีดีเด่นในพระพุทธศาสนา ณ. สำนักงานองค์การสหประชาชาติ

ประเทศไทย วันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ดังนี้....

ความเข้าใจพระธรรม การอนุเคราะห์ผู้อื่นให้เข้าใจ และเห็นประโยชน์ของพระธรรมนั้น เป็นสาระสำคัญที่สุดในชีวิต การสงเคราะห์ช่วยเหลือสังคมนั้น ไม่มีวันจบสิ้น และ

ไม่สามารถให้เกิดความสงบสุขได้ เมื่อไม่เข้าใจพระธรรม ความทุกข์ก็จะบรรเทา และ

หมดสิ้นไปไม่ได้ เพราะไม่รู้เหตุที่แท้จริงของปัญหาต่างๆ เหตุที่แท้จริงของปัญ-

หา และความทุกข์ทั้งหลายนั้นคือ โลภะ โทสะ โมหะ

พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้และทรงแสดงทุกขอริยสัจจะ ทุกขอริยสัจจะนั้นเป็นทุกข์ของสัตว์โลกทั้งปวง ไม่ใช่ว่าทุกข์ของชายก็อย่างหนึ่ง และทุกข์ของหญิงก็อีกอย่างหนึ่ง เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ของสัตว์โลกนั้นก็คือ โลภะ ความอยาก ความติดข้อง-

ต้องการโลกที่ปรากฎทางตา.....และทางใจ พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้ และทรง

แสดงว่าตัณหาคือโลภะ ความติดข้องนั้นเป็นเหตุของทุกข์

พระองค์ทรงตรัสรู้เหตุของปัญหาทั้งหลายในโลก จึงทรงแสดงหนทางที่จะพ้นจากปัญหาทั้งปวงได้คือ ปัญญา ความเข้าใจความจริงของโลกซึ่งจะทำให้โลกที่เราอาศัยอยู่นี้เป็นโลกที่สงบยิ่งขึ้น

ขอให้ทุกท่านสนใจศึกษาพระธรรมโดยละเอียด และถูกต้องยิ่งขึ้น เพื่อโลก

จะได้สงบ ด้วยการประพฤติปฎิบัติตามพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดง

ไว้แล้ว

ขอกราบอนุโมทนาท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
saifon.p
วันที่ 5 พ.ค. 2552

ความไม่เข้าใจพระธรรมที่ละเอียด ไม่รู้ตามความเป็นจริงจึงถูกกิเลสทำร้ายทั้งตนเองและผู้อี่น หยุด ... ทำร้ายใจตัวเองได้ค่ะ ... เมื่อได้ศึกษาและค่อยๆ เข้าใจพระธรรม ...

ความคิดเห็นที่ 7

ข้อความบางตอนของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

พระองค์ทรงตรัสรู้เหตุของปัญหาทั้งหลายในโลก จึงทรงแสดงหนทางที่จะพ้นจากปัญหาทั้งปวงได้คือ ปัญญา ความเข้าใจความจริงของโลกซึ่งจะทำให้โลกที่เราอาศัยอยู่นี้เป็นโลกที่สงบยิ่งขึ้น

ขอให้ทุกท่านสนใจศึกษาพระธรรมโดยละเอียด และถูกต้องยิ่งขึ้น เพื่อโลก จะได้สงบ ด้วยการประพฤติปฎิบัติตามพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดง ไว้แล้ว

กราบอนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
khampan.a
วันที่ 5 พ.ค. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การมีโอกาสได้ฟัง ได้ศึกษาพระธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลในการดำเนินชีวิตของแต่ละบุคคล ถ้าเป็นผู้ที่เข้าใจตามความเป็นจริงถึงสภาพธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ว่า อกุศลเป็นโทษ ให้ผลเป็นทุกข์ และเป็นสิ่งที่ควรละ ไม่ควรทำเลย (ความชั่ว ไม่ทำเสียเลยดีกว่า) ส่วนกุศล ความดีทั้งหลายทั้งปวงนั้นเป็นสิ่งที่ควรทำ ควรเจริญ แม้จะไม่มีใครเห็นก็ตาม เมื่อเข้าใจในเหตุและผลของกุศลและอกุศลแล้ว ย่อมจะเป็นผู้มีความละอาย มีความเกรงกลัวต่ออกุศลไม่ประมาทในอกุศลแม้จะเล็กน้อย ทำให้เป็นผู้ถอยกลับจากอกุศล และเพิ่มพูนกุศลในชีวิตประจำวัน ขัดเกลากิเลสของตนเองยิ่งๆ ขึ้นไป กล่าวได้ว่าขณะนั้น หยุดทำร้ายใจตัวเอง ด้วยการเห็นโทษเห็นภัยของศัตรูที่แท้จริง คือ กิเลส ซึ่งเป็นศัตรูภายในที่เกิดขึ้นภายในตนนั่นเอง พระธรรมเท่านั้น ที่จะเกื้อกูลได้ ครับ

... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
wannee.s
วันที่ 5 พ.ค. 2552

ไม่มีอะไรที่จะหยุดอกุศลได้ นอกจากเจริญกุศลและอบรมเจริญสติปัฏฐานค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ