เพราะความไม่เข้าใจ...จึงโกรธแม้แต่พระผู้มีพระภาคฯ !

 
พุทธรักษา
วันที่  4 พ.ค. 2552
หมายเลข  12194
อ่าน  975

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความบางตอนจากเทปวิทยุ แผ่นที่ ๒๗ ครั้งที่ ๑๕๗๒" ความละเอียดของหิริ โอตตัปปะ อธิบายเรื่อง บุญญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ" บรรยายโดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ณ ตึกสภาการศึกษา มหามกุฏราชวิทยาลัย วันอาทิตย์ที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๙

ขณะที่จิตใจกระสับกระส่ายด้วยกามฉันทะ ด้วยพยาปาทะ ด้วยถีนมิทธะ หรือ ด้วยอุททธัจจะกุกกุจจะคือ ความฟุ้งซ่าน ความรำคาญใจ ในอกุศลที่ได้กระทำแล้วและ ในกุศลที่ยังไม่ได้กระทำ นี่ก็แสดงให้เห็น "ลักษณะของความช่างคิด" ใช่ไหมคะ

"อกุศล" ที่ได้กระทำแล้ว ดับแล้ว แต่ ก็ยังเกิดความกระวนกระวาย ความกระสับกระส่ายความรำคาญใจ ในอกุศลที่ได้กระทำแล้ว ด้วยความเป็น "เรา" ด้วยความเป็น "ตัวตน" เพราะ "ไม่รู้ชัด" ใน "ลักษณะ" ของนามธรรม และ รูปธรรม ที่เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย แล้วก็ดับไป..ซึ่งถ้ามี หิริ โอตตัปปะ ก็จะเห็นได้ว่า (อกุศลธรรมเหล่านั้น) เป็นสิ่งไม่สมควร ไม่มีประโยชน์อะไร ต่อการที่จะมีความฟุ้งซ่าน กับอกุศลที่ได้กระทำสำเร็จแล้วซึ่ง ดับไปแล้ว หมดแล้ว

เพราะฉะนั้น ขณะนี้ ต่างหาก ถ้า "สติ" ระลึกรู้ "ลักษณะ"ของ นามธรรม และ รูปธรรม เพราะมี หิริ โอตตัปปะ เกิดขึ้นจึงสามารถที่จะ "ละ" อหิริกะ อโนตตัปปะ ได้ หรือ แม้แต่ "วิจิกิจฉา"คือ ความสงสัย ความไม่แน่ใจ ในข้อประพฤติปฏิบัติในธรรมะ นี่นะคะก็เป็นเครื่องขัดขวาง เป็นเครื่องกั้นการเจริญกุศล มีท่านผู้ฟังท่านหนึ่งท่านบอกว่า ท่านฟังรายการแนวทางเจริญวิปัสสนาแล้วก็ อ่านหนังสือหลายเล่ม.มีหนังสือ หลายเล่ม บอกว่า "ไม่จำเป็นต้องศึกษา" เพราะว่า เมื่อฟังพระธรรม ก็เป็น "ความอยาก" คือ โลภะ นี่คือ การไม่พิจารณาให้รู้ถึง "ความต่างกัน" ระหว่าง "ฉันทะเจตสิก" และ "โลภเจตสิก" เพราะว่า "ฉันทะเจตสิก" เกิดกับ "กุศล" ได้

เพราะว่า "ความพอใจ" ที่จะศึกษา และ เข้าใจในธรรมะไม่ใช่โลภะ ไม่ใช่ความติดข้อง แต่ เป็นการแสวงหา "หนทาง" ที่จะดับความติดข้อง ดับความยึดมั่นในความเห็นผิดในรูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะและ ธรรมมารมณ์ ทั้งหลาย ท่านผู้นี้ ไม่ฟังพระธรรม และด้วยความสงสัย คือ วิจิกิจฉา ซึ่ง ก็คือ นิวรณ์ทำให้ท่านผู้นี้ ปฏิบัติตามแบบอื่นจนกระทั่ง คิดที่จะฆ่าตัวตายและ โกรธ แม้แต่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

เป็นความกดดันที่พยายามจะข่มที่พยายามจะวาง พยายามที่จะปล่อยทุกสิ่งทุกอย่าง โดยที่ "ปัญญา" ไม่เกิดซึ่งเป็นไปไม่ได้ เมื่อพยายาม ที่จะบีบบังคับ จนกระทั่ง ความฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นซึ่ง ก่อนหน้านั้น ไม่เคยเป็น เป็นเพราะ "ความไม่เข้าใจ" ในข้อประพฤติปฏิบัติที่ถูกต้องแล้วก็หันไปประพฤติปฏิบัติ ในข้อประพฤติปฏิบัติที่ผิด เพราะฉะนั้นถ้ามีความสงสัย ไม่แน่ใจ หิริ โอตตัปปะ ก็ควรจะเกิด แล้วก็ "พิจารณาในเหตุผล" ว่าสิ่งใด เป็นสิ่งที่ถูกต้อง ที่ "ปัญญา" จะต้องรู้คือ รู้ว่า อะไร เป็น อริยสัจจธรรม

... ขออนุโมทนา ...

ขอเชิญอ่านรายละเอียด

อุทธัจจกุกกุจจ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
pornpaon
วันที่ 4 พ.ค. 2552

เพราะว่า "ฉันทะเจตสิก" เกิดกับ "กุศล" ได้ เพราะว่า "ความพอใจ" ที่จะศึกษา และ เข้าใจในธรรมะไม่ใช่โลภะ ไม่ใช่ความติดข้อง แต่ เป็นการแสวงหา "หนทาง" ที่จะดับความติดข้อง ดับความยึดมั่นในความเห็นผิดในรูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะและ ธรรมมารมณ์ ทั้งหลาย

เพราะฉะนั้นถ้ามีความสงสัย ไม่แน่ใจ หิริ โอตตัปปะ ก็ควรจะเกิด แล้วก็ "พิจารณาในเหตุผล" ว่าสิ่งใด เป็นสิ่งที่ถูกต้อง ที่ "ปัญญา" จะต้องรู้คือ รู้ว่า อะไร เป็น อริยสัจจธรรม

กราบขออนุโมทนาท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

ขออนุโมทนาคุณพุทธรักษา

ขออนุโมทนาในกุศลจิตและกุศลวิริยะของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 4 พ.ค. 2552
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เมตตา
วันที่ 5 พ.ค. 2552

"โลภะ" ไม่สามารถรู้ว่า อะไรเป็นอริยสัจจธรรมได้ มีเพียง "ปัญญา" เท่านั้นที่จะรู้อริยสัจจธรรมได้ และปัญญาจะเกิดได้เพราะการมีฉันทะในการฟังพระธรรมเป็นปัจจัย แล้วก็ "พิจารณาในเหตุผล" ว่า สิ่งใดเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่ "ปัญญา" จะต้องรู้คือ รู้ว่า อะไรเป็นอริยสัจจธรรม

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
saifon.p
วันที่ 5 พ.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
suwit02
วันที่ 5 พ.ค. 2552

"ความพอใจ" ที่จะศึกษา และ เข้าใจในธรรมะ ไม่ใช่โลภะ ไม่ใช่ความติดข้อง

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
aiatien
วันที่ 8 พ.ค. 2552
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ