ขอถามเรื่องตัดขันธ์ 5 แล้วไปนิพพานได้

 
medulla
วันที่  14 พ.ค. 2549
หมายเลข  1220
อ่าน  5,505

อ่านจากตำราของพระรูปหนึ่งที่มีชื่อเสียง ท่านได้สอนว่า ตัดกาย ตัดขันธ์ 5 ก็ไปนิพพานได้ (ท่านเข้าใจว่านิพพานเป็นแดน) ขออนุญาตถาม ให้ช่วยอธิบายว่า ตัดขันธ์ 5 อย่างเดียวก็สามารถไปนิพพานได้ อย่างที่พระรูปนี้ได้สอนไว้ มีคำสอนนี้ตามพระไตรปิฎกหรือไม่ มีหลักให้พิจารณา อย่างไร ขอความกรุณาช่วยไขปัญหา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 14 พ.ค. 2549

ในพระไตรปิฎก บางครั้งพระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมใช้คำว่า ละขันธ์ ๕ แต่อรรถกถาท่านขยายความว่าหมายถึงการละความพอใจในขันธ์ ๕ (ฉันทราคะ) ฉะนั้นการใช้คำอธิบายใดๆ ควรมีคำอธิบายที่ให้เข้าใจได้ เช่น ตัดขันธ์ ๕ ขันธ์คืออะไรขณะนี้ขันธ์อยู่ที่ไหน จะตัดด้วยวิธีอย่างไร รูปขันธ์เป็นสภาพไม่รู้ไม่ใช่กิเลสทำไมต้องตัด

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
  ความคิดเห็นที่ 3  
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 พ.ค. 2549

ขันธ์ ๕ คือ นามธรรมและรูปธรรม ทั้งภายในและภายนอกนั้นเป็นทุกข์ คงจะมีผู้ สงสัยว่า ทำไมขันธ์ ๕ จึงเป็นทุกข์ เรายึดถือจิตใจว่าเป็นตัวตน แต่ที่เรายึดถือว่า เป็นจิตใจของเรานั้น ก็เป็นแต่เพียงนามธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทันทีเท่านั้นเอง เรายึดถือร่างกายว่าเป็นตัวตน แต่ที่เรายึดถือว่าเป็นร่างกายของเรานั้นก็เป็นแต่เพียง รูปธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เมื่อไม่รู้ความจริงก็คิดว่า สภาพธรรมเหล่านั้นยั่งยืน และยึดถือว่าเป็นตัวตน เช่น เราควรจะคิดว่าความเศร้าโศกนั้นไม่หมดไป แต่ว่าในวัน หนึ่งๆ นั้น ก็ไม่ได้มีแต่ความเศร้าโศก มีสภาพธรรมอื่นๆ อีกหลายอย่างด้วย เช่น มี การเห็น การได้ยิน การคิดนึก เป็นต้น ที่เราคิดว่าเศร้าโศกนานนั้น แท้จริงก็เป็น สภาพธรรมต่างๆ ชนิด ที่เกิดดับสืบต่อกันอยู่เรื่อยๆ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 พ.ค. 2549

ขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์

ปรมัตถธรรม ๔ โดยขันธ์ คือ

จิต เป็นวิญญาณขันธ์

เจตสิก เป็นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์

รูป เป็นรูปขันธ์

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 พ.ค. 2549

นิพพาน ไม่ใช่ขันธ์ นิพพานเป็นขันธวิมุตติ คือ พ้นจากขันธ์

คำว่า ขันธ์ หมายถึงสภาพธรรมที่จำแนกเป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายใน ภายนอก หยาบ ละเอียด ทราม ประณีต ไกล ใกล้ ฉะนั้น ขันธ์จึงได้แก่ สังขตธรรม ซึ่ง เป็นธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งเกิดดับ จึงเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นต้น ส่วนอสังขตธรรม คือ นิพพานนั้นเป็นธรรมที่ไม่เกิด ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง จะกล่าว ว่าเป็นธรรมเกิดขึ้นแล้วก็ไม่ได้ ว่าเป็นธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่ได้ ว่าเป็นธรรมที่เกิดขึ้น ก็ไม่ได้ จะกล่าวว่าเป็นอดีตก็ไม่ได้ ว่าเป็นอนาคตก็ไม่ได้ ว่าเป็นปัจจุบันก็ไม่ได้ เพราะ ฉะนั้น วิสังขารธรรม คือ นิพพาน จึงไม่ใช่ขันธ์ เป็นขันธวิมุตติ คือ พ้นจากขันธ์

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ