จิตมีหลายชือเพราะ... [ธรรมสังคณี]

 
เมตตา
วันที่  5 พ.ค. 2552
หมายเลข  12215
อ่าน  2,829

[เล่มที่ 75] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ หน้า 375

ในนิทเทสแหงจิต ที่ชื่อวา จิต เพราะความที่จิตเปนธรรมชาติวิจิตร ชื่อวา มโน เพราะ กําหนดรูอารมณ มโนนั่นแหละชื่อวา มานัส จริงอยู ในคาถาวา อนฺตลิกฺขจโร ปาโส ยฺวาย จรติ มานโส เตน ต พาธยิสฺสามิ น เม สมณ มโนรมา (บวงใดมีใจไปไดในอากาศ กําลัง เที่ยวไป ขาพระองคจักคลองพระองคไวดวยบวงนั้น สมณะทานไมพนเรา) นี้ ตรัสเรียกธรรมคือราคะที่สัมปยุตดวยใจวา มานัส พระอรหัต ก็ตรัสวา มานัส ดังในพระคาถานี้วา

กถฺหิ ภควา ตุยฺห สาวโก สาสเน รโต อปตฺตมานโส เสโข กาล กยิรา ชเนสุตา. ขาแตพระผูมีพระภาคเจาผูปรากฏ ในหมูชน สาวกของพระองคยินดีในพระ ศาสนา ยังไมบรรลุพระอรหัตเปนพระเสข บุคคล เพราะเหตุไรเลา จึงทํากาละเสีย.

แตในนิทเทสนี้ มโนนั่นเองชื่อวา มานัส เพราะทานทําบทใหเจริญ ดวยพยัญชนะ. คําวา หทัย อธิบายวา อก ทานเรียกวา หทัย ในคํานี้วา เราจักขวางจิตของทานไป หรือจักผาหทัยของทานเสีย จิตเรียกวา หทัย ในประโยคนี้วา หทยา หทย มฺเ อฺาย ตจฺฉติ (บุตรชางทํารถ ยอมถากไมเหมือนจะรูใจดวยใจ) หทัยวัตถุเรียกวา หทัย ในคํานี้วา วกฺก หทย (มาม หัวใจ) แตในนิทเทสนี้ จิตเทานั้นเรียกวา หทัย เพราะอรรถวา อยูภายใน จิตนั้นแหละชื่อวา ปณฑระ เพราะอรรถวา บริสุทธิ์. คําวา ปณฑระ นี้ หมายเอาภวังคจิต เหมือนอยางที่ตรัสไววา
ดูกอนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ประภัสสร แตจิตนั้นแลเศราหมองแลวดวยอุปกิเลสที่จรมา ดังนี้ อนึ่ง แมกุศลก็ตรัสเรียกวา ปณฑระเหมือนกัน เพราะออกจากจิตนั้น เหมือน แมน้ําคงคาไหลมาจากแมน้ําคงคา และแมน้ําโคธาวรีไหลมาจากแมน้ําโคธวรี ฉะนั้น.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
เมตตา
วันที่ 5 พ.ค. 2552

ส่วนศัพท์มโน ในที่นี้ว่า มโน มนายตนํ ดังนี้ เพื่อแสดงมโนนั่นเองว่าเป็นอายตนะ ด้วยคำว่า มโน มนายตนํ นั้น จึงแสดงบทว่ามโนนั้น มโนนี้ชื่อว่า มนายตนะ เพราะเป็นอายตนะแห่งใจนั่นแหละ เหมือนคำว่า เทวายตนํ นี้หามิได้ โดยที่แท้อายตนะ คือ มโนนั่นแหละ ชื่อว่ามนายตนะ ในคำว่า มนายตนะ นั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ชื่อว่า อายตนะเพราะอรรถว่าเป็นที่อาศัยอยู่ เพราะอรรถว่าเป็นบ่อเกิด เพราะอรรถว่าเป็นที่ประชุม เพราะอรรถว่าเป็นถิ่นเกิด เพราะอรรถว่าเป็นการณะ.

จริงอย่างนั้น สถานที่อยู่ในโลก เรียกว่า อายตนะ ดุจในประโยค มีอาทิว่า ที่อยู่ของพระอิศวร (อิสฺสรายตนํ) ที่อยู่ของวาสุเทพ (วาสุเทวายตนํ) บ่อเกิดเรียกว่า อายตนะ ดุจในประโยคมีอาทิว่า บ่อเกิดแห่งทอง (สุวณฺณายตนํ) บ่อเกิดแห่งรัตนะ (รตนายตนํ) แต่ในศาสนา สถานที่ประชุมเรียกว่า อายตนะ ดุจในประโยคมีอาทิว่า เมื่อสถานที่ประชุมอันเป็นที่รื่นเริงมีอยู่ นกทั้งหลายย่อมพากันเสพที่นั้น ถิ่นเกิดเรียกว่า อายตนะ ดุจในประโยคมีอาทิว่า ทักขิณาบถ เป็นถิ่นเกิดของโคทั้งหลาย. การณะเรียกว่า อายตนะ ดุจในประโยคมีอาทิวา เธอยอมถึงความสามารถในธรรมที่ควรทํา ใหแจง...ในที่นี้นั้นๆ นั่นแหละได ในเมื่อมีสติ ก็ในที่นี้ ยอมควรแมทั้ง ๓ อรรถะ คือ ชื่อวา อายตนะ เพราะอรรถวาเปนถิ่นเกิด เพราะอรรถวาเปน สถานที่ประชุม และเพราะอรรถวาเปนการณะ (เหตุ)

จริงอยู ธรรมมีผัสสะเปนตน ยอมเกิดพรอมกันในมนะนี้ เพราะ เหตุนั้น มนะนี้จึงชื่อวา ความเกิดแหงอายตนะ แมเพราะอรรถวาเปนถิ่นเกิด รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะในภายนอก ยอมประชุมลงในมนะนี้ เพราะเหตุนั้น มนะนี้จึงชื่อวา อายตนะ แมอรรถวาเปนสถานที่ประชุม ก็มนะนี้พึงทราบวา เปนอายตนะ เพราะอรรถวาเปนปจจัยของผัสสะเปนตน มีสหชาตปจจัยเปนตน บาง ดวยอรรถวาเปนเหตุ เพราะเปนการณะบาง มนินทรียมีอรรถตามที่ กลาวมาแลวนั่นแหละ.

ธรรมชาติที่ชื่อวา วิญญาณ เพราะยอมรูแจง ขันธคือวิญญาณนั่นแหละ เรียกวา วิญญาณขันธ พึงทราบเนื้อความแหงวิญญาณขันธนั้น ดวยอํานาจ ความเป็นกองเป็นต้น

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 22 เม.ย. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
สิริพรรณ
วันที่ 24 ธ.ค. 2563

กราบนอบน้อมพระรัตนตรัยด้วยเศียรเกล้า

กราบขอบพระคุณยินดีในกุศลพี่เมตตาด้วยค่ะ

ชาติใดที่เกิดแล้วได้ศึกษาพระธรรม ที่พระสัมมาสัมพุมธเจ้าทรงแสดงความเป็นจริงของสภาพธรรมโดยละเอียด ลึกซึ้ง ศึกษาความเป็นจริงของจิต เพื่อสะสมความรู้ความจริงว่า จิตเป็นธรรมอย่างไร จึงไม่ใช่เรา ชาตินั้น ประเสริฐยิ่งนัก ไม่เสียโอกาสที่ได้เกิด

ขออนุโมทนาทุกท่านที่ได้ศึกษาพระธรรมค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
swanjariya
วันที่ 29 พ.ย. 2564

ยินดีในกุศลทุกประการค่ะน้องเมตตา

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ