พาลลักขณะ พาลภูมิ [อรรถกถาพาลบัณฑิตสูตร]
[เล่มที่ 23] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 168
อรรถกถาพาลบัณฑิตสูตร
พาลบัณฑิตสูตร มีบทเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:- บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า พาลลกฺขณานิ ความว่า ที่ชื่อว่าพาลลักขณะ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องกำหนด คือเป็นเครื่องหมายให้รู้ว่าผู้นี้เป็นคนพาล. พาลลักษณะเหล่านั้นแหละ ท่านเรียกว่า พาลนิมิต เพราะเป็นเหตุแห่งการหมายรู้ว่า ผู้นั้นเป็นคนพาล. เรียกว่า พาลาปทาน เพราะคนพาลประพฤติไม่ขาด.
บทว่า ทุจฺจินฺติตฺจินฺตี ความว่า ธรรมดาคนพาลแม้เมื่อคิดย่อมคิดแต่เรื่องชั่วๆ ด้วยอำนาจอภิชฌา พยาบาทและความเห็นผิดฝ่ายเดียว.
บทว่า ทุพฺภาสิตภาสี ความว่า แม้เมื่อพูด ก็พูดแต่คำชั่วๆ ต่างโดยวจีทุจริตมีมุสาวาทเป็นต้น.
บทว่า ทุกฺกฏกมฺมการี ความว่าแม้เมื่อทำก็ทำจำเพาะแต่กรรมชั่วๆ ด้วยสามารถแห่งกายทุจริต มีปาณาติบาต เป็นต้น.
ฯลฯ
พาลภูมิ ความว่า คนพาลบำเพ็ญทุจริต ๓ อย่าง บริบูรณ์แล้ว ย่อมบังเกิดในนรก แต่ด้วยเศษแห่งกรรมที่เหลือในนรกนั้น แม้เขาจะได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ ก็ต้องเกิดในตระกูลต่ำทั้ง ๕ และถ้ายังทำทุจริต ๓ อีก ก็ต้องบังเกิดในนรก ทั้งหมดนี้เป็นพื้นของคนพาลอย่างสมบูรณ์. ฯลฯ
อนึ่งลักษณะของคนพาลมีแสดงไว้มากในหลายๆ สูตร