ฉลาดในธาตุ อายตนะ มนสิการ ... [ธรรมสังคณี]
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 504
[๘๕๖] ธาตุกุสลตา เป็นไฉน? ธาตุ ๑๘ คือ จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ โสตธาตุ สัททธาตุโสตวิญญาณธาตุ ฆานธาตุ คันธธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาธาตุ รสธาตุชิวหาวิญญาณธาตุ กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนธาตุธัมมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ, ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันเป็นเหตุฉลาดในธาตุแห่งธาตุทั้งหลายนั้นๆ อันใด นี้เรียกว่า ธาตุกุสลตา
[๘๕๗] อายตนกุสลตา เป็นไฉน? อายตนะ ๑๒ คือ จักขายตนะ รูปายตนะ โสตายตนะ สัททายตนะฆานายตนะ คันธายตนะ ชิวหายตนะ รสายตนะ กายายตนะ โผฏฐัพพายตนะมนายตนะ ธรรมายตนะ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันเป็นเหตุฉลาดในอายตนะแห่งอายตนะทั้งหลายนั้นๆ อันใด นี้เรียกว่า อายตนกุสลาตา
ข้อความอธิบายจากอรรถกถา
ในนิทเทสธาตุกุสลตาทุกะ
ปัญญาที่รู้การกำหนดการเรียน การมนสิการ การฟัง การทรงจำ ซึ่งธาตุ ๑๘ ชื่อว่า ธาตุกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ) ปัญญาที่รู้การเรียน การมนสิการซึ่งธาตุเหล่านั้นนั่นแหละชื่อว่า มนสิการกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในมนสิการ) ในนิทเทสอายตนกุสลตาทุกะ ปัญญาที่รู้กำหนดการเรียน การมนสิการ การฟัง การทรงจำซึ่งอายตนะ ๑๒ ชื่อว่า อายตนกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในอายตนะ) อีกอย่างหนึ่ง บรรดากุสลตาเหล่านี้แม้ทั้ง ๓ (ธาตุกุสลตามนสิการกุสลตา อายตนกุสลตา) ความรู้ทั้งปวง คือ การเรียน มนสิการ การฟังการเข้าใจ การแทงตลอด การพิจารณาเห็น ย่อมสมควร ในบรรดาการรู้ทั้ง ๖ เหล่านั้น การฟัง การเรียน การพิจารณาเห็นเป็นโลกีย์ การแทงตลอดเป็นโลกุตระ การเข้าใจและมนสิการเป็นมิสสกะคือเป็นโลกีย์ก็มี เป็นโลกุตระก็มี
บทว่า อวิชฺชาปจฺจยา สํขารา เป็นต้นจักแจ่มแจ้งในปฏิจจสมุปปาทวิภังค์ ปัญญาที่รู้ว่า ธรรมนี้เป็นปัจจัยแก่ธรรมนี้ ดังนี้ ชื่อว่า ปฏิจจสมุปปาทกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท)