ปัญจโวการภพ [ยมก]
พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 282
สองบทว่า ปญฺจโวการํ อุปปชฺชนฺตานํ = กำลังเกิดในปัญจ-โวการภูมิ ได้แก่ เข้าถึงอยู่ซึ่งปัญจโวการภพด้วยอำนาจแห่งการปฏิ-สนธิที่เจือด้วยรูปและอรูป หลายบทว่า เตสํ รูปกฺขนฺโธ จ อุปฺปชฺชติเวทนากฺขนฺโธ จ อุปปชฺชติ = เวทนาขันธ์ย่อมเกิดแก่บุคคลเหล่านั้น ได้แก่ ขันธ์แม้สอง กล่าวคือ รูปและเวทนา ย่อมเกิดขึ้นนั่น เที่ยวแก่สัตว์ทั้งหลายผู้เข้าถึงซึ่งปัญจโวการภพเหล่านั้นโดยแน่นอน แต่ ว่าในปวัตติกาล ขันธ์ ๒ เหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นบ้าง ย่อมดับบ้างแก่สัตว์ผู้เกิดขึ้นแล้ว เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสว่า ปุญฺจ-โวการานํ =เกิดอยู่ในปัญจโวการภูมิ แต่ตรัสว่า ปญฺจโวการํ อุปฺ-ปชฺชนฺตานํ = กำลังเกิดในปัญจโวการภูมิ นี้เป็นการวิสัชนาด้วยการแสดงโดยสรุป ในปัจฉิมโกฏฐาส แห่งปริปุณณปัญหา ในฐานะว่าปญฺจโวการํ อุปฺปชฺชนฺตานํ พึงทราบการวิสัชนาทั้งหมดโดยอุบายนี้ก็นี้เป็นนิยมลักษณะในการเกิด และการดับนี้ ก็ในขันธยมกนี้แม้ทั้งสิ้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอุปปาทวาระไว้ ด้วยอำนาจแห่งการเกิดขึ้นในปฏิสนธิกาลนั้นเที่ยวว่า การไม่ลูบคลำ ( คือไม่ทรงแสดง) ซึ่งการเกิดและการดับในปวัตติกาลว่า ก็ในขันธยมกนี้ แม้ทั้งสิ้น เมื่อสัตว์ทั้งหลายเกิดขึ้นแล้วในปัญจโวการภพนั้นๆ เมื่อการเกิดขึ้นและการดับอันไม่มีที่สุดแห่งขันธ์ ๕ แม้มีอยู่ในปวัตติกาลจนกระทั่งตาย การทำการแยกธรรมทั้งหลายที่เป็นไปโดยเร็ว เพื่อแสดงการเกิดและการดับไม่ใช่ทำได้โดยง่าย ดังนี้แล้วจึงทรงแสดงการเกิดขึ้นแห่งขันธ์ทั้งหลายในปฏิสนธิของสัตว์ผู้เกิดแล้วด้วยกรรมต่างๆ อันยังวิปากวัฏฏ์ใหม่ๆ ให้สำเร็จ เป็นการทำได้ง่าย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสนิโรธวาระด้วยอำนาจการดับในมรณะกาลว่า " ก็การแสดงการดับ ในกาลเป็นที่สิ้นสุดลงแห่งวิปากวัฏฏ์ที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นการทำได้ง่าย" ก็ความไม่ลูบคลำ
ฯลฯ