กว่าจะรู้ชัด...ต้องรู้ทั่ว

 
พุทธรักษา
วันที่  7 พ.ค. 2552
หมายเลข  12259
อ่าน  1,476

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สนทนาธรรมที่เขาเต่า ๑ - ๔ สิงหาคม ๒๕๓๗

ท่านผู้ฟัง ผมขอเรียนถามอาจารย์อีกเรื่องหนึ่งตอนที่ "คิดว่าเห็นสี" มีไหม

ท่านอาจารย์ ขณะที่ท่านผู้ฟังตื่นนอนท่านผู้ฟัง เริ่มคิด เรื่องสีต่างๆ ไปเรื่อยๆ หรือเปล่า

ท่านผู้ฟัง เปล่า ครับ

ท่านอาจารย์ ก็เป็น "เรื่องราว" ทั้งนั้น ถ้าที่มีคนถาม ว่า สีอะไร เราก็คิดเรื่องสีถ้าเขาไม่ถาม เราก็ไม่คิดถึงเรื่องสีเลยแต่เราคิดถึง "เรื่องราว" ความจำเรื่องของสี ต้องมี ไม่ใช่ไม่มี แต่ หมายความว่า ปกติแล้ว เรา "คิด" เป็น "เรื่องราว "หลังจาก เห็น สิ่งที่ปรากฏทางตา เพราะขณะนั้น เราไม่ได้สนใจตรง "สี" แต่ เราไปสนใจใน "เรื่องราว" คิดนึก ก็คือ คิดนึกแต่ไม่ใช่ว่า พอท่านผู้ฟังตื่นนอนขึ้นมาก็มีแต่การเห็นสีต่างๆ ทางตา ตลอดทั้งวัน การที่เราจะเข้าใจ "ลักษณะ" ของ "รูปารมณ์"มากขึ้นคือ ขณะนี้เอง ขณะที่ ละคลาย ความเป็นบุคคล ต่างๆ เพราะฉะนั้นก็ต้องมีการเจริญสติปัฏฐาน เพื่อที่ "สติปัฏฐาน" จะเกิด "คั่น" สภาพธรรมที่กำลังเกิดดับ สืบต่อกันอย่างรวดเร็วนี้โดยที่มีสภาพธรรมปรากฏ ทีละอย่างๆ ทีละทางๆ สำหรับทางตาการที่เราจะเข้าใจขึ้น ก็คือ ไม่ใช่ขั้นคิดนึก ไม่ใช่ขั้นรู้เรื่องราว ของสิ่งที่ปรากฏทางตา

แต่ต้องเข้าใจขึ้น ว่า แม้ขณะที่กำลังเห็น เดี๋ยวนี้ ความรู้ของเราเพิ่มขึ้นบ้างไหม ว่า ที่กำลังเห็นนี้ ขณะนี้คือ "เห็น" สิ่งที่ปรากฏทางตา เท่านั้น (ไม่ใช่ "สิ่งที่ปรากฏทางอื่น") ถ้าจะรู้อย่างนี้ ก็หมายความว่าเราจะต้องรู้ว่า สิ่งที่ปรากฏทางตา คือ การเห็นสีซึ่ง ต่างกับ สิ่งที่ปรากฏทางหู คือ การได้ยินเสียง การรู้สภาพธรรม ที่ปรากฏทั้ง ๖ ทวารนั้น เกิดสลับกันเพราะว่า "จิต" จะรู้อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ไปเรื่อยๆ สลับกันไป และ "จิต" ไม่เคยหยุด ที่จะรู้อารมณ์ อย่างเช่น ระหว่างที่เรากำลังพูด เราก็ไม่ได้ยินเสียงแต่เมื่อเสียงปรากฏ เกิดแทรกขึ้นมา เราก็ได้ยินเสียง (เป็นต้น) และ ความรู้ ที่เพิ่มขึ้น คือ เมื่อเรารู้ความต่างกัน ของสิ่งที่ปรากฏแต่ละทาง แต่ละอย่าง รู้ ว่า มี "ลักษณะ" ที่ต่างๆ กันอย่างไร เป็นนามธรรม เป็น รูปธรรม อย่างไร

จะต้องค่อยๆ "อบรม" เจริญสติปัฏฐาน จนค่อยๆ ชินขึ้น ค่อยๆ ชำนาญขึ้น สติระลึกได้ บ่อยขึ้นๆ จนกระทั่ง "ปัญญา" สามารถที่จะ "รู้ชัด" ในสภาพธรรม และ ปัญญา" สามารถที่จะ "ละคลายการยึดถือ" ในสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏที่เคยยึดถือว่าเป็น เรื่องราว เป็นคน เป็นสัตว์ ฯลฯ (ซึ่ง แท้จริง คือ นามธรรม และ รูปธรรม) ที่สำคัญ "การเจริญสติปัฏฐาน" ต้องเป็นขณะที่ สภาพธรรม กำลังปรากฏ (คือ ขณะปัจจุบัน) ขณะที่กำลังเห็น ก็ เห็น "สิ่งที่ปรากฏทางตา" ซึ่งถ้าจะเป็น "การเห็นจริงๆ " ได้นั้น ก็ต่อเมื่อ "ปัญญา" รู้ทั่ว ทางอื่นทั้ง ๖ ทาง ที่เกิดสลับกันด้วย

เมื่อนั้น ที่ "ปัญญาจะรู้ชัด" ว่า ขณะนั้น กำลังรู้ "สิ่งที่ปรากฏทางตา" ซึ่ง ไม่ใช่ขณะที่รู้เสียง เป็นต้น (รู้ชัด เพราะ รู้ทั่ว คือ รู้ความต่างกันของสภาพธรรมแต่ละอย่างได้แก่ สี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ ธัมมารมณ์ซึ่งสภาพธรรมเหล่านี้ ปรากฏเฉพาะแต่ละทางๆ ๖ ทวาร ทางใดทางหนึ่ง แต่ละประเภท คือ สีปรากฏทางตา เสียงปรากฏทางหู กลิ่นปรากฏทางจมูก รสชาติต่างๆ ปรากฏทางลิ้น การรบสัมผัสปรากฏทางกาย และความคิดต่างปรากฏทางใจ) เพราะฉะนั้น "การเจริญสติปัฏฐาน" ต้องรู้ทั่ว ทั้ง ๖ ทวาร คือ รู้สีทางตา รู้เสียงทางหู รู้กลิ่นทางจมูก รู้รสทางลิ้นรู้โผฏฐัพพะทางกาย และ รู้ธัมมารมณ์ทางใจ จะต้อง รู้ ประกอบกันไปด้วย (คือ รู้ทั่ว ทั้ง ๖ ทวาร) ไม่อย่างนั้น จะกล่าวว่า "รู้ชัด" ไม่ได้ เพราะว่า รู้แต่เฉพาะทางใดทางหนึ่งนั้นไม่ใช่ "การรู้ชัด"

ท่านผู้ฟัง แต่ถ้าเป็น "นามรูปปริจเฉทญาณ" คือ รู้ทางเดียว

ท่านอาจารย์ "นามรูปปริจเฉทญาณ" รู้ได้ ทางมโนทวาร ทางเดียว เท่านั้น แต่ "นามรูปปริจเฉทญาณ" รู้ชัดใน สภาพธรรมที่ปรากฏ ทาง ๖ ทวาร (สภาพธรรมที่ปรากฏ) ทางไหน ได้หมด แต่ท่านผู้ฟัง ยังไม่ต้องไปห่วงเรื่อง "นามรูปปริจเฉทญาณ" เช่น เมื่อกี้นี้ เสียงไม่ปรากฏ แต่ตอนนี้ เสียงปรากฏถ้า "นามรูปปริจเฉทญาณ" เกิดขึ้น ก็ต้องรู้สภาพธรรมที่เป็นเสียง (รู้ทางมโนทวาร) ตามปกติ ตามความเป็นจริงของเสียงที่ปรากฏทางหู ในขณะนั้น หมายความว่า "นามรูปปริจเฉทญาณ" คือ การรู้ชัด ในสภาพธรรมทีละทาง โดยรู้ทางมโนทวาร

เมื่อสภาพธรรมใด กำลังปรากฏทางใดก็รู้ชัดสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏนั้นๆ ทางมโนทวาร คือ รู้ชัดในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏการสืบต่อ และ สลับกันทางทวารต่างๆ ทั้ง ๖ ทวารโดย รู้สภาพธรรมนั้น ทางมโนทวาร เท่านั้น ไม่มี "ความเป็นตัวตน" ในขณะที่ รู้ชัด อย่างนั้น และขณะที่รู้ชัดอย่างนั้นจะไม่ผิดปกติเลย

... ขออนุโมทนา ...


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
พุทธรักษา
วันที่ 7 พ.ค. 2552

ถ้าศึกษาเรื่องราวของธรรม โดยไม่รู้ว่าธรรมอยู่ที่ไหน ก็จะไม่เจอธรรมะเลย เพราะว่าเป็นการรู้เรื่องราวเท่านั้น.เช่น ถ้าเปิดพระไตรปิฎก ไม่ว่าจะเป็นพระสุตตันตปิฎก หรือพระอภิธรรมปิฎก หรือแม้พระวินัยปิฎก เป็นเรื่องราวทั้งหมด แต่ไม่รู้ว่าสภาพธรรม อยู่ตรงไหน

แต่ถ้าเข้าใจว่าสภาพธรรมมีอยู่ เกิดปรากฏทุกขณะ ในชีวิต ไม่ขาดธรรมะเลย ขณะที่เกิด ก็เป็นธรรมะ ที่เกิด ขณะเห็น ก็เป็นธรรมะ ที่เห็น ขณะคิด ก็เป็นธรรมะ ที่คิด ก็จะเข้าใจได้ว่า การศึกษาธรรมะนั้น ไม่ใช่เพียงศึกษาเรื่องราวที่มีปรากฏในหนังสือ ในตำรา แต่เป็นการศึกษาเพื่อเข้าใจใน "ลักษณะของสภาพธรรม" เดี๋ยวนี้ ซึ่งเป็นธรรม แต่ "อวิชชา" ไม่สามารถที่จะรู้ได้ "อวิชชา" ไม่สามารถจะเข้าใจได้เลย. เพราะว่า "อวิชชา" เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นอกุศล เมื่อเกิดขึ้นก็ทำให้ไม่เห็นความจริง ของสิ่งที่ปรากฏ ที่ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เพราะฉะนั้น เวลาที่ศึกษาธรรมะ ต้องเข้าใจด้วยว่า ศึกษาเพื่ออะไร เพื่อเข้าใจธรรมะตัวจริงๆ ซึ่งเป็นชีวิตตั้งแต่เกิดจนตายทุกขณะๆ สามารถที่จะเข้าใจได้

โดย "ธรรมทัศนะ"


... ขออนุโมทนา ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
suwit02
วันที่ 7 พ.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
pornpaon
วันที่ 7 พ.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เมตตา
วันที่ 7 พ.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Komsan
วันที่ 8 พ.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ประสาน
วันที่ 10 พ.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
papon
วันที่ 29 ก.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Sea
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ