อานาปานสติ [อานาปานสติสูตร]

 
JANYAPINPARD
วันที่  7 พ.ค. 2552
หมายเลข  12270
อ่าน  1,837

[เล่มที่ 22] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 367

ข้อความบางตอนจากอานาปานสติสูตร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ ที่ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติที่เจริญแล้วทำให้มากแล้ว จะให้โพชฌงค์ ๗ บริบูรณ์ได้. โพชฌงค์ ๗ ที่เจริญแล้วทำให้มากแล้ว จะให้วิชชาและวิมุตติ บริบูรณ์ได้. คำอธิบายจากอรรถกถา

ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ ท่านกล่าวถึงอะไร? กล่าวถึงวิปัสสนา พร้อมด้วยลักษณะต่างๆ ที่เป็นชั่วขณะจิตเดียวว่า ชื่อว่าสัมโพชฌงค์ บทเป็นต้นว่า วิเวกนิสฺสิตํ มีเนื้อความดังกล่าวแล้วนั่นแล. ก็ในที่นี้ สติกําหนดลมหายใจเข้าออกเป็นโลกิยะ. อานาปานสติ อันเป็นโลกิยะ ย่อมทำสติปัฏฐานอันเป็นโลกิยะให้บริบูรณ์ โลกิยสติ- ปัฏฐานทำโลกุตรโพชฌงค์ให้บริบูรณ์ โลกุตรโพชฌงค์ทำ วิชชาวิมุตติ ผล และนิพพานให้บริบูรณ์. ดังนั้น จึงเป็นอันท่านกล่าวถึงโลกิยะในอาคตสถานของโลกิยะ กล่าวถึงโลกุตระในอาคตสถานของโลกตระแล. ส่วนพระเถระกล่าวว่า ในสูตรอื่นเป็นอย่างนั้น แต่ในสูตรนี้ โลกุตระจะมาข้างหน้า (ต่อไป) โลกิยอานาปานะทำโลกิยสติปัฏฐานให้บริบูรณ์ โลกิยสติปัฏฐานทำโลกิยโพชฌงค์ให้บริบูรณ์ โลกิยโพชฌงค์ทำวิชชา วิมุตติ ผล และนิพพานอันเป็นโลกุตระให้บริบูรณ์. เพราะในพระสูตรนี้วิชชา ผล และนิพพาน ท่านประสงค์เอาด้วยบทว่า วิชชาและวิมุตติแล.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 8 เม.ย. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ