ข้องใจ
บ้านเรามีแต่ผู้หญิงเป็นส่วนใหญ่ แต่มีพระสงฆ์มาพักอยู่ด้วยทีละหลายๆ วัน เราเลยอยากรู้ว่า มีพระธรรมวินัยข้อไหนที่อธิบายเราได้ว่า ท่านทำถูกต้องแล้ว ที่มาพักอยู่บ้านที่มีแต่สีกาอยู่ มาพักทีละหลายๆ วัน เพียงเพราะบ้านเราเห็นใจท่านในคราวที่เดินทางจากวัดต่างจังหวัดมาวัดที่สมุทรสาคร เลยนิมนต์พักที่บ้านอยู่คราวหนึ่ง หลังจากนั้นท่านก็ขอมาพักที่บ้านทุกครั้งที่มากรุงเทพฯ มาพักทีละหลายๆ วัน นอนบนที่นอนที่ผู้หญิงใช้นอนอยู่โดยไม่ได้เปลี่ยนผ้าปูที่นอนหรือปลอกหมอน ท่านทำเป็นเหมือนบ้านท่านเลย ใช้ห้องน้ำร่วมกัน เราดูแล้วไม่เป็นอันควรเลย ช่วยชี้ทางสว่างให้เรากับคนที่บ้านที
พระภิกษุเป็นสมณเพศ ที่อยู่ที่พักอาศัยควรเป็นที่วัด ไม่ควรอยู่บ้านของฆราวาสในพระวินัยมีพระบัญญัติเรื่องที่นอนของพระภิกษุว่า ห้ามนอนที่มุงที่บังเดียวกันกับผู้หญิง (มาตุคาม) คือแม้ว่านอนคนละห้องแต่ร่วมชายคาเดียวกันก็เป็นอาบัติและห้ามภิกษุนอนร่วมกับอนุปสัมบัน (คฤหัสถ์) ชายคาเดียวกัน เกิน ๓ คืน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้าที่ 182
มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๖
พระบัญญัติ
๕๕.๖. อนึ่ง ภิกษุใดสำเร็จการนอนร่วมกับ มาตุคาม เป็นที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่หญิงมนุษย์ ไม่ใช่หญิงยักษ์ ไม่ใช่หญิงเปรต ไม่ใช่สัตว์ดิรัจ-ฉานตัวเมีย โดยที่สุดแม้เด็กหญิงที่เกิดในวันนั้น ไม่ต้องกล่าวถึงสตรีผู้ใหญ่. บทว่า ร่วม คือ ด้วยกัน. ที่ชื่อว่า การนอน ได้แก่ ภูมิสถานเป็นที่นอน อันเขามุงทั้งหมดบังทั้งหมด มุงโดยมาก บังโดยมาก. คำว่า สำเร็จการนอน ความว่า เมื่อพระอาทิตย์อัสดงคตแล้วมาตุคามนอนแล้ว ภิกษุนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.มาตุคามนอนแล้ว ภิกษุนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.ภิกษุนอนแล้ว มาตุคามนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้าที่ 164
มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๕ พระบัญญัติ
๕๔. ๕. ข. อนึ่ง ภิกษุใดสำเร็จการนอนร่วมกับอนุปสัมบันยิ่งกว่า ๒-๓ คืน เป็นปาจิตตีย์.ที่ชื่อว่า อนุปสัมบัน คือ ยกเว้น ภิกษุ นอกนั้นชื่อว่าอนุปสัมบัน. บทว่า ยิ่งกว่า ๒ ๓ คืน คือเกินกว่า ๒ - ๓ คืน 4 บทว่า ร่วม คือด้วยกัน. ที่ชื่อว่า การนอน ได้แก่ภูมิสถานเป็นที่นอนอันเขามุงทั้งหมด บังทั้งหมด มุงโดยมาก บังโดยมาก